ผู้ประกันตน ม.33 ม.39 ม.40 ติดโควิด ยื่นรับเงินชดเชยขาดรายได้ ประกันสังคม เช็กวิธีเลย!
ข่าววันนี้ ผู้ประกันตน มาตรา 33 มาตรา 39 และมาตรา 40 ติดโควิด ยื่นรับเงินขาดรายได้ ประกันสังคมได้หรือไม่? วันนี้ TreuID รวบรวมข้อมูลจากสำนักงานประกันสังคมมาให้ศึกษา จะได้ทำตามขั้นตอนได้ถูกต้อง
ผู้ประกันตน ม.33 ม.39 ม.40 ติดโควิด ยื่นรับเงินขาดรายได้
ผู้ประกันตน มาตรา 33 ถาม
เป็นผู้ประกันตน มาตรา 33 ติดโควิด พักรักษา 10 วัน และต้องเอาเอกสารอะไรบ้าง?
สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน ตอบ :
สำหรับเงินทดแทนการขาดรายได้ ผู้ประกันตนมาตรา 33 จะมีสิทธิเมื่อนำส่งเงินสมทบภายใน 15 เดือนย้อนหลังมีการนำส่งเงินสมทบรวมกันไม่น้อยกว่า 3 เดือนจะติดต่อกันหรือไม่ก็ตาม ก่อนวันที่เข้ารับการรักษาพยาบาล แพทย์มีคำสั่งให้หยุดพักรักษาตัว และต้องมีหนังสือรับรองจากนายจ้าง กรณีได้รับค่าจ้าง ในวันลาป่วยครบ 30 วันทำงานใน 1 ปีปฏิทินตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานแล้ว
ขั้นตอนและเอกสารในการรับเงินทดแทนการขาดรายได้ (คนไทย)
- แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกองทุนประกันสังคม (สปส.2-01)
- บัตรประจำตัวจริงพร้อมสำเนา
- ใบรับรองแพทย์ตัวจริง ที่ระบุวันหยุดงาน
- หนังสือรับรองนายจ้าง เพื่อยืนยันว่าได้รับค่าจ้างในวันลาป่วยครบ 30 วัน ใน 1 ปีปฏิทิน
- สถิติวันลาป่วย (ถ้ามี)
- กรณีเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล ให้แนบสำเนาเอกสารใบเปลี่ยนชื่อ-นามสกุลด้วย
- สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร ประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชีใช้ได้ 10 ธนาคาร โดยไม่มีค่าธรรมเนียม คือ
- ธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน) KTB
- ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) BAY
- ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) BBL
- ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) SCB
- ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) KBANK
- ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) TTB
- ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย IBANK (เริ่มใช้ 1 มกราคม 2550)
- ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน) CIMB เดิมคือ ไทยธนาคาร
- ธนาคารออมสิน
- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
ผู้ประกันตน มาตรา 39 ถาม :
สวัสดีค่ะ ขอสอบถามหน่อยนะคะการยื่นขอเงินชดเชยการติดโควิคมาตรา 39 ต้องใช้เอกสารอะไรบ้างหรอค่ะ และต้องยื่นที่ประกันสังคมเลยใช่ไหมคะ
สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน ตอบ :
ผู้ประกันตนมาตรา 39 จะมีสิทธิเมื่อนำส่งเงินสมทบภายใน 15 เดือนย้อนหลังมีการนำส่งเงินสมทบรวมกันไม่น้อยกว่า 3 เดือนจะติดต่อกันหรือไม่ก็ตาม ก่อนวันที่เข้ารับการรักษาพยาบาล โดยแพทย์มีคำสั่งให้หยุดพักรักษาตัว และต้องมีรายได้จากการประกอบอาชีพ
เอกสารในการรับเงินทดแทนการขาดรายได้ กรณีเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39
- แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส.2-01)
- บัตรประจำตัวประชาชน
- สำเนาบัตรประกันสังคม (เฉพาะต่างชาติ/ต่างด้าว)
- สำเนาหนังสือเดินทาง(Passport) หรือสำเนาหนังสือเดินทางชั่วคราว หรือเอกสารรับรองบุคคลที่ทางราชการออกให้ (เฉพาะต่างชาติ/ต่างด้าว)
- หลักฐานการประกอบอาชีพ เช่น ใบเสร็จรับเงินค่าเช่าแผงขายของ,ใบสั่งสินค้า, ใบรับสินค้าเพื่อแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
- ใบรับรองแพทย์ตัวจริง ที่ระบุวันหยุดงาน
- กรณีเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุลให้แนบสำเนาเอกสารใบเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุลด้วย
- สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร ประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชี ใช้ได้ 10 ธนาคาร โดยไม่มีค่าธรรมเนียม คือ
- ธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน) KTB
- ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) BAY
- ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) BBL
- ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) SCB
- ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) KBANK
- ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) TTB
- ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย IBANK (เริ่มใช้ 1 มกราคม 2550)
- ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน) CIMB เดิมคือ ไทยธนาคาร
- ธนาคารออมสิน
- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
ทั้งนี้ ให้ยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทน ภายในระยะเวลา 2 ปี นับแต่วันที่มีสิทธิ ที่สำนักงานประกันสังคมพื้นที่ ที่สะดวก (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ภายในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข)
ผู้ประกันตน มาตรา 40 ถาม :
ม.40 ติดโควิดประกันสังคมจ่ายยังไงคะ
สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน ตอบ :
ทางเลือกที่ 1 นำส่งเงินสมทบ 70 บาท/เดือน
- เงินทดแทนกรณีประสบอันตราย หรือ เจ็บป่วยนอนพักรัษาตัวในโรงพยาบาลเป็นวันละ 300 บาท และกรณีไม่นอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลแต่มีใบรับรองแพทย์ให้หยุดพักรักษาตัวตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้วันละ 200 บาท ปีละไม่เกิน 30 วัน
- กรณีไปพบแพทย์ (ผู้ป่วยนอก) และแพทย์มีความเห็นให้หยุดพักรักษาตัวไม่เกิน 2 วัน ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ปีละไม่เกิน 3 ครั้ง ครั้งละ 50 บาท และมีใบรับรองแพทย์
ทางเลือกที่ 2 นำส่งเงินสมทบ 100 บาท/เดือน
- เงินทดแทนกรณีประสบอันตราย หรือ เจ็บป่วยนอนพักรัษาตัวในโรงพยาบาลเป็นวันละ 300 บาท และกรณีไม่นอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลแต่มีใบรับรองแพทย์ให้หยุดพักรักษาตัวตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้วันละ 200 บาท ปีละไม่เกิน 30 วัน
- กรณีไปพบแพทย์ (ผู้ป่วยนอก) และแพทย์มีความเห็นให้หยุดพักรักษาตัวไม่เกิน 2 วัน ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ปีละไม่เกิน 3 ครั้ง ครั้งละ 50 บาท และมีใบรับรองแพทย์
ทางเลือกที่ 3 นำส่งเงินสมทบ 300 บาท/เดือน
- เงินทดแทนการขาดรายได้กรณีประสบอันตราย หรือ เจ็บป่วย
1. เมื่อนอนโรงพยาบาลตั้งแต่ 1 วันขึ้นไป หรือ แพทย์ระบุให้หยุดงานตั้งแต่ 3 วันขึ้นไปในอัตราวันละ 300 บาท
2. ไม่ได้นอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล แต่แพทย์ให้หยุดพักรักษาตัวตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ในอัตราวันละ 200 บาท (เงื่อนไขการเกิดสิทธิยังคงเดิม) ทั้งนี้ ผู้ประกันตนที่ได้รับสิทธิเงินทดแทนการขาดรายได้ตามข้อ 1 และ ข้อ 2 เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 90 วันต่อปี ค่ะ
กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยจะได้รับสิทธิเมื่อนำส่งเงินสมทบครบ 3 เดือนติดต่อกัน หรือ ภายใน 4 เดือนย้อนหลัง มีการส่งเงินสมทบรวมกันไม่น้อยกว่า 3 เดือน ก่อนเดือนที่ประสบอันตราย หรือ เจ็บป่วย
1. แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนผู้ประกันตนมาตรา 40 (สปส. 2-01/ม.40)
2. บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริง พร้อมสำเนา
3. ใบรับรองแพทย์ตัวจริง หรือ สำเนาเวชระเบียน (ต้องให้เจ้าหน้าที่เวชระเบียนเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง พร้อมประทับตราสถานพยาบาล)
4. สำเนาสมุดบัญชีธนาคาร ประเภทออมทรัพย์
- ยื่นเรื่องได้ที่สำนักงานประกันสังคมพื้นที่ ที่สะดวก (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ภายในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข)
ผู้ประกันตน มาตรา 40 ถาม :
ในกรณีที่นอนรพ.ใช้สิทธิ์ได้เลยหรือต้องนำหลักฐานมาเบิกที่ประกันสังคมคะแล้วต้องใช้หลักฐานอะไรบ้าง ขอบคุณคะ
สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน ตอบ :
เบิกเงินทดแทนการขาดรายได้ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยมาตรา 40
การยื่นเรื่องเบิกเงินทดแทนการขาดรายได้ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย (กรณียื่นเรื่องด้วยตนเอง)
1. แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนผู้ประกันตนตามมาตรา 40 (สปส.2-01/ม.40) พร้อมลงนามในแบบฟอร์มด้วยตนเอง
2. บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริง
3. ใบรับรองแพทย์ตัวจริง หรือ สำเนาเวชระเบียน (ให้เจ้าหน้าที่เวชระเบียนเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง)
4. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์ใช้ได้ 4 ธนาคาร คือ
- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
- ธนาคารกรุงไทย
- ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
- ธนาคารออมสิน (ให้แนบสำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ที่มีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ยื่นคำขอ)
หมายเหตุ : กรณีที่ใช้สำเนาใบรับรองแพทย์แทนตัวจริง ต้องให้เจ้าหน้าที่เวชระเบียนเซ็นรับรองสำเนาถูกต้องพร้อมประทับตราสถานพยาบาล
--------------------
เกาะติดสถานการณ์โควิด-19 ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก
กดเลย >> community แห่งความบันเทิง
ทั้งข่าว หนัง ซีรีส์ ละคร ดนตรี และศิลปินไอดอล ที่คุณชื่นชอบ บนแอปทรูไอดี