รีเซต

หลายเรื่องที่เข้าใจผิดในมาตรการ 'ช้อปดีมีคืน'

หลายเรื่องที่เข้าใจผิดในมาตรการ 'ช้อปดีมีคืน'
TrueID
21 ตุลาคม 2563 ( 09:55 )
11.1K
หลายเรื่องที่เข้าใจผิดในมาตรการ 'ช้อปดีมีคืน'

หลายเรื่องที่คนมักเข้าใจผิดกับโครงการ 'ช้อปดีมีคืน' ดังนั้น การเตรียมตัวให้พร้อม ศึกษาข้อมูล วางแผนการช้อป เพื่อให้คุ้มค่าที่สุด จึงเป็นสิ่งที่ต้องทำ อีกไม่นานแล้วที่โครงการนี้จะเปิดให้นักช้อป ได้ช้อปปิ้งตามมาตรการฯ ความเข้าใจจึงเป็นสิ่งจำเป็น สำหรับคนที่ตั้งใจจะเลือกใช้มาตรการนี้ เพื่อนำไปลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ประจำปี 2563 trueID news จะพาทุกท่านไปเข้าใจกับสิ่งที่หลายคนเข้าใจผิดกัน

 

ค่าลดหย่อนช้อปปิ้ง คือ เงินภาษีได้คืนจากรัฐบาลเท่าที่ซื้อ 

หลายคนเข้าใจผิดว่า ค่าลดหย่อนช้อปปิ้ง 30,000 บาท คือ เงินคืนภาษีจากรัฐ 30,000 บาท เลย ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง เพราะจะได้เงินคืนภาษีเพิ่มมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับจำนวน เงินได้ และ อัตราภาษี ของแต่ละคน

มีคู่สมรสที่ต่างฝ่ายต่างมีรายได้ ใช้สิทธิทั้งคู่ได้ไหม

ถ้าคุณมีคู่สมรส ที่ต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ คุณทั้งคู่ ก็สามารถใช้สิทธิลดหย่อนช้อปดีมีคืนได้ สูงสุดคนละ 30,000 บาท รวม 2 คนได้สิทธิ 60,000 บาท ไม่ว่าจะแยกยื่นภาษี หรือยื่นภาษีร่วมกันก็ตาม

ค่าลดหย่อน ช้อปดีมีคืน 30,000 บาท คือ เงินคืนภาษีจาก ภาษีมูลค่าเพิ่ม7%

หลายคนเข้าใจผิดว่า ค่าลดหย่อน ช้อปดีมีคืน 30,000 บาท คือ เงินคืนภาษีจาก ภาษีมูลค่าเพิ่ม7% (VAT 7% Refund) ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องเช่นกัน เพราะค่าลดหย่อนช้อปดีมีคืน 30,000 บาท นี้เป็นสิทธิที่นำไปใช้เป็นค่าลดหย่อนสำหรับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ถ้ามีรายได้สุทธิปีละไม่เกิน 150,000 บาท ได้สิทธิหรือไม่

ถ้ามีรายได้เฉลี่ยเดือนละไม่เกิน 25,833.33 บาท (หรือเงินได้สุทธิทั้งปีไม่เกิน 150,000 บาท) คุณไม่ต้องเสียเวลาต่อคิว เพื่อขอใบเสร็จรับเงิน หรือใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป เพราะคุณอยู่ในเกณฑ์ได้รับยกเว้นภาษีอยู่แล้ว ต่อให้ใช้สิทธิลดหย่อนช้อปปิ้ง ก็ไม่ช่วยให้ประหยัดภาษีเพิ่มขึ้น

ค่าลดหย่อน ขอรับคืนเป็นเงินสดที่ร้านค้าได้เลย

หลายคนเข้าใจผิดว่า ค่าลดหย่อนช้อปดีมีคืน สามารถขอรับเป็นเงินสดคืนได้ที่ร้านค้าเลย ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง เพราะการขอใช้สิทธิลดหย่อนช้อปปิ้ง จะต้องทำโดยการ ยื่นภาษีประจำปี 2563 ให้ กรมสรรพากรในช่วงต้นปี 2564 ได้เพียงวิธีเดียวเท่านั้น

ซื้อสินค้าทั้งที่เข้าเกณฑ์และไม่เข้าเกณฑ์ในใบเสร็จเดียวกัน

ถ้าในใบเสร็จรับเงิน หรือใบกำกับภาษีเดียวกัน มีรายการทั้งสินค้าที่เข้าเกณฑ์ และไม่เข้าเกณฑ์ลดหย่อน จะได้สิทธิ์ลดหย่อนภาษี เฉพาะค่าสินค้าเข้าเกณฑ์ลดหย่อนเท่านั้น

 

 

ภาพโดย Ioannis Karathanasis จาก Pixabay 

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง