รีเซต

Into the past : ตึกมหานคร เปิดใช้อย่างเป็นทางการ , ไมเคิล ฟาราเดย์ ค้นพบการเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้า (29ส.ค.)

Into the past :  ตึกมหานคร เปิดใช้อย่างเป็นทางการ ,  ไมเคิล ฟาราเดย์ ค้นพบการเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้า (29ส.ค.)
TrueID
29 สิงหาคม 2563 ( 00:10 )
924
1
Into the past :  ตึกมหานคร เปิดใช้อย่างเป็นทางการ ,  ไมเคิล ฟาราเดย์ ค้นพบการเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้า (29ส.ค.)

Into the past : วันนี้ trueID News จะพาย้อนไปในอดีตของวันนี้ กับเหตุการณ์ที่สำคัญ เรื่องราวสาระน่ารู้ ทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศ จะเป็นอย่างไรไปติดตามกัน

 

 

Into the past : ประเทศไทย

 

พ.ศ. 2559 (ค.ศ. 2016) - ตึกมหานคร เปิดใช้อย่างเป็นทางการ ทำให้เป็นตึกระฟ้าที่สูงที่สุดในประเทศไทยตั้งแต่นั้นมา

 

CC BY-SA 4.0

 

คิง เพาเวอร์ มหานคร  ชื่อเดิมอาคาร มหานคร เคยเป็นตึกระฟ้าที่สูงที่สุดในประเทศไทย จนถูกทำลายสถิติในวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2561โดยอาคารแมกโนเลียส์ วอเตอร์ฟร้อนท์ เรสซิเดนเซส ซึ่งตั้งอยู่ในโครงการไอคอนสยาม (ความสูง 318.95 เมตร) ปัจจุบันเป็นอาคารที่สูงที่สุดเป็นอันดับ 2 ของประเทศไทย ด้วยความสูง 314.2 เมตร จำนวน 78 ชั้น ประกอบไปด้วยส่วนโรงแรม ร้านค้าปลีก และส่วนห้องชุดพักอาศัยโดยกลุ่มริทซ์-คาร์ลตัน จำนวน 209 ห้อง โดยราคาของห้องชุดดังกล่าว ราคาเฉลี่ย 3.5 แสนบาท/ตร.ม. เริ่มต้นที่ 32 ล้านบาทไปจนถึง 305 ล้านบาท ซึ่งถือว่าเป็น 1 ในอาคารชุดพักอาศัยที่มีราคาสูงที่สุดแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร โดยในชั้น 74-78 จะเปิดเป็นจุดชมวิว Skytree ให้คนภายนอกเข้าชม เป็นจุดชมทิวทัศน์ของกรุงเทพมหานครได้ 360 องศา.

    

 

 

=====

 

 

Into the past : รอบโลก

 

พ.ศ. 2374 (ค.ศ. 1831) – ไมเคิล ฟาราเดย์ ค้นพบการเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้า นำไปสู่การตั้งกฎการเหนี่ยวนำของฟาราเดย์

 

 

สาธารณสมบัติ

 

   

 

ฟาราเดย์ ได้ทดลองใช้ลวดขดเป็นวงหลายรอบแบบที่เราเรียกว่าคอยด์ โดยต่อปลายทั้งสองของขดลวดเข้ากับ กัลวานอมิเตอร์ และทดลองสอดแท่งแม่เหล็กเข้าไปในระหว่างขดลวด พบว่า กัลวานอมิเตอร์กระดิกไปข้างหนึ่ง และพอแม่เหล็กหยุดนิ่ง เข็มก็เบนกลับที่เดิม พอเขาดึงแท่งแม่เหล็กออก เข็มก็เบนไปอีกทางหนึ่ง ตรงข้ามกับตอนแรก แล้วหยุดนิ่ง เขาพบว่า ไฟฟ้าเกิดจากการที่เส้นแรงแม่เหล็กตัดกับขดลวด เขาจึงเรียกกระแสไฟฟ้าที่เกิดขึ้นว่า กระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนำ (Induced current) ซึ่งเขาพบว่ากระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนำจะเกิดก็ต่อเมื่อมีการเคลื่อนที่ตัดกันของสนามแม่เหล็กกับขดลวดเท่านั้น ถ้าหยุดเคลื่อนที่กระแสไฟฟ้าก็หายไป เขาจึงมีแนวคิดที่จะให้กระแสไฟฟ้าไหลอยู่ตลอดเวลา จึงหมุนขดลวดตัดกับสนามแม่เหล็กตลอดเวลา เกิดสิ่งประดิษฐ์ที่เรียกว่าไดนาโมในเวลาต่อมา.

 

 

==========

 

 

 

 

 

 

 

Into the past : เรื่องราวในวันวาน 28 สิงหาคม

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

 

ข้อมูล :  history , wikipedia

ข่าวที่เกี่ยวข้อง