รีเซต

นักวิทยาศาสตร์ตัดต่อยีนแม่ไก่ให้ออกไข่ที่หยุดการพัฒนาตัวอ่อนเพศผู้

นักวิทยาศาสตร์ตัดต่อยีนแม่ไก่ให้ออกไข่ที่หยุดการพัฒนาตัวอ่อนเพศผู้
TNN ช่อง16
21 ธันวาคม 2565 ( 10:59 )
108
นักวิทยาศาสตร์ตัดต่อยีนแม่ไก่ให้ออกไข่ที่หยุดการพัฒนาตัวอ่อนเพศผู้

ในอนาคตวิธีการเลี้ยงไก่ในฟาร์มเลี้ยงไก่ขนาดใหญ่อาจเปลี่ยนไป ล่าสุดทีมนักวิทยาศาสตร์นำโดย ยาเวล ซินนามอน (Yuval Cinnamon) จาก Volcani Institute ซึ่งเป็นศูนย์วิจัยการเกษตรในอิสราเอล ประสบความสำเร็จในการตัดต่อยืนไก่เพศเมียให้ออกไข่ที่หยุดการพัฒนาตัวอ่อนเพศผู้ ซึ่งวิธีการใหม่นี้จะช่วยลดปริมาณการฆ่าลูกไก่เพศผู้ในฟาร์มลง


การเลี้ยงไก่ในฟาร์มขนาดใหญ่มักนิยมเลี้ยงไก่เพศเมียเนื่องจากให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าทำให้ในแต่ละปีมีการฆ่าลูกไก่เพศผู้จำนวนหลายพันล้านตัวในแต่ละปี การลดจำนวนไข่ที่เจริญเติบโตเป็นลูกไก่เพศผู้จึงกลายเป็นโจทย์สำคัญของนักวิทยาศาสตร์ 


ทีมนักวิทยาศาสตร์ได้ทำการศึกษากระบวนการตัดต่อพันธุกรรมไก่เพศเมียที่มีโครโมโซม W หนึ่งตัวและ Z หนึ่งตัว (WZ) และไก่เพศผู้ที่มีโครโมโซม Z เพียงสองตัว (ZZ) นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการตัดต่อยีนโครโมโซม Z ของไก่เพศเมีย เมื่อไก่เพศเมียผสมพันธุ์กับไก่เพศผู้ที่มีโครโมโซม Z ไข่ที่ได้ออกมาจะถูกนำไปฉายแสงสีฟ้าเป็นเวลา 2-3 ชั่วโมง ทำให้ไข่ที่ออกมาตัวอ่อนของเพศผู้หยุดพัฒนา ในขณะเดียวกันไข่ที่มีตัวอ่อนเพศเมียจะได้รับโครโมโซม W จากแม่ไก่และโครโมโซม Z จากเพศผู้ จึงไม่ได้รับกระทบใด ๆ จากกระบวนการนี้


ทีมนักวิทยาศาสตร์ยืนยันความปลอดภัยในกระบวนการดังกล่าวและยืนยันว่าเกษตรกรจะได้รับลูกไก่แบบเดิมกับที่พวกเขาเคยได้รับ รวมไปถึงผู้บริโภคที่ได้รับความมั่นใจในความปลอดภัยของอาหารที่ผลิตจากไก่ที่ได้รับการตัดต่อยีนดังกล่าว


กระบวนการตัดต่อพันธุกรรมที่ถูกพัฒนาขึ้นได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มสวัสดิภาพสัตว์ในประเทศอังกฤษ Compassion in World Farming หรือ CIWF ซึ่งปกติแล้วจะจริงจังกับการปกป้องสัตว์เลี้ยงในรูปแบบต่าง ๆ แต่ในกรณีของกระบวนการตัดต่อพันธุกรรมแม่ไก่เพื่อลดจำนวนการพัฒนาของตัวอ่อนเพศผู้เป็นกรณีพิเศษที่ช่วยลดการฆ่าลูกไก่เพศผู้ลงได้จำนวนมากทางกลุ่มจึงให้การสนับสนุน


ที่มาของข้อมูล Futurism

ที่มาของรูปภาพ Pixabay

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง