รีเซต

22 กันยายน วันของแรด มารู้ประวัติ วันอนุรักษ์แรดโลก กันเถอะ!

22 กันยายน วันของแรด มารู้ประวัติ วันอนุรักษ์แรดโลก กันเถอะ!
TeaC
22 กันยายน 2566 ( 10:00 )
404
22 กันยายน วันของแรด มารู้ประวัติ วันอนุรักษ์แรดโลก กันเถอะ!

22 กันยายน 2566 วันอนุรักษ์แรดโลก ขอให้ "แรด" 1 วัน ขอให้ทุกคนร่วมเข้าใจกับประวัติของสัตว์ที่ใกล้จะสูญพันธุ์ เพื่อเห็นความสำคัญในการช่วยกันอนุรักษ์ให้สัตว์ที่มีหนอน่ารักอย่าง "แรด" อยู่คู่กับธรรมชาติเพื่อรักษาสมดุลของสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้นด้วย เอาล่ะมารู้จักแรดกันเลย

 

วันแรดโลก ขอให้ "แรด" หนึ่งวัน

 

มาทำความรู้จักแรด 1 วันกันนะ สำหรับความหมายของ "แรด" ในเว็บไซต์วิกิพีเดีย ได้อธิบายเกี่ยวกับความสำคัญของแรดไว้ว่า เป็นสัตว์อยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อันดับสัตว์กีบคี่ ในวงศ์ Rhinocerotidae แรดถือว่าเป็นสัตว์ขนาดใหญ่ อาจเรียกได้ว่าเป็นสัตว์บกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดรองจากช้างก็ว่าได้ เพราะแรดอาจมีขนาดยาวได้ถึง 3.6-5 เมตร ความสูงของไหล่ 1.6-2 เมตร น้ำหนัก 2.3-3.6 ตัน

 

 

ลักษณะของสัตว์มีนอ

 

แรดมีรูปร่างโดยทั่วไปคือ ตาเล็ก ปากงุ้มเป็นรูปสามเหลี่ยมหรือสี่เหลี่ยม มีหนังที่หนามาก ในบางชนิดอาจเห็นเป็นชั้นคล้ายเกราะ และมีลักษณะเด่นที่สุด คือ เขาบริเวณสันจมูกที่งอกแหลมยื่นยาวอกมา เรียกกันว่า "นอ" ซึ่งใช้เป็นอาวุธในการพุ่งชนป้องกันตัว แต่จริง ๆ แล้ว นอของแรดนับว่าเป็นเขา (horn) อย่างหนึ่ง แต่เป็นเขาที่ไม่มีกระดูกเป็นแกนกลาง นอแรดทำมาจากเคราติน (keratin) ซึ่งเป็นโปรตีนที่เป็นส่วนประกอบหลักของขน ผม และเล็บ โดยนอแรดไม่ได้เกิดจากขนที่รวมตัวกันอย่างหนาแน่นตามที่เข้าใจผิดกัน นอแรดอาจยาวได้ถึง 1.5 เมตร แรดโดยทั่วไปจะมีนอ 2 นอ แต่บางชนิดจะมีเพียงนอเดียว

 

และที่น่าสนใจ แรดเป็นสัตว์ที่ไม่มีต่อมเหงื่อ ดังนั้นภาพที่เราคุ้นเคยน้องจะชอบนอนแช่โคลนหรือแช่ปลักเหมือนหมูหรือสัตว์ชนิดอื่น ๆ เพื่อดับความร้อนและไล่แมลงที่มารบกวน ส่วนอาหารการกินนั้น แรดจะหากินในเวลากลางคืน กลางวันนอนพักผ่อนซึ่งอาจนอนหลับในท่ายืนก็ได้ด้วยนะ

 

แรดเป็นสัตว์ที่มีสายตาแย่มาก แต่มีประสาทรับกลิ่นและประสาทหูดีเยี่ยม จึงเป็นสัตว์ที่มีนิสัยฉุนเฉียวง่าย โกรธง่าย ประกอบกับขนาดลำตัวที่ใหญ่จึงมักไม่ค่อยมีศัตรูตามธรรมชาติ

 

แรดในโลก?

 

ในปัจจุบันมีแรดหลงเหลืออยู่เพียง 5 ชนิด เท่านั้น พบในทวีปแอฟริกา 2 ชนิด ในเอเชีย 3 ชนิด และทุกชนิดเป็นสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์แล้วทั้งสิ้น โดยทั่วโลกมีแรดทั้งหมดจาก 5 สายพันธุ์ หลงเหลืออยู่เพียงไม่เกิน 30,000 ตัว เท่านั้น เมื่อเทียบกับจำนวนประชากรทั่วโลกที่สูงถึง 7 พันล้านคน ศัตรูของแรดเพียงอย่างเดียว คือ มนุษย์ ที่ล่าแรดเพื่อเอานอเนื่องจากเชื่อว่ามีสรรพคุณทางยา โดยเฉพาะยาจีนเชื่อว่าเป็นยาเย็น ที่ยังไม่มีผลการวิจัยชี้ชัดว่าสามารถใช้ในการรักษาโรค หรือช่วยชูกำลังได้จริง 

 

 

แรดในประเทศไทย?

 

ในอดีตที่ผ่านมาประเทศไทยเคยมีแรดถึง 2 สายพันธุ์ คือ แรดชวา และแรดสุมาตรา (กระซู่) ที่ปัจจุบันได้สูญพันธุ์จากประเทศไทยไปแล้ว (สงสารน้อง)  และไม่พบการดูแลแรดทั้งสองสายพันธุ์นี้ในสวนสัตว์ เนื่องจากจำนวนประชากรที่พบในธรรมชาติมีน้อยมาก ไม่ถึง 100 ตัว เท่านั้น สำหรับเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี นายสายสิทธิ์ เจตสิกทัต ปฏิบัติหน้าที่แทน ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาพิงคนคร ได้เล่าว่า มีแรดอยู่ในความดูแลและการอนุรักษ์ คือ

 

แรดขาว (White rhinoceros)

 

ซึ่งเป็นแรดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีน้ำหนักตัวสูงถึง 3,500 กิโลกรัม จำนวน 2 ตัว ชื่อ พี่ฮอร์น (เพศผู้) อายุ 26 ปี และ น้องกอหญ้า (เพศเมีย) อายุ 19 ปี โดยได้รับการดูแลและอนุรักษ์ ในส่วนแสดงซาวันนาซาฟารี ซึ่งเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีได้ดูแลแรดขาวมาเป็นระยะเวลากว่า 15 ปี แรดทั้งสองตัวนี้มีความผูกพันและสนิทสนมกับผู้เลี้ยง และชอบให้อาบน้ำ ขัดตัว ซึ่งเป็นการสร้างความผ่อนคลายให้กับพี่ฮอร์นและน้องกอหญ้า สองสมาชิกแรดขาวได้เป็นอย่างดี อีกทั้ง “แรดขาว" ยังเป็นหนึ่งใน Big Five ของกิจกรรม Behind the Zoo ของเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีอีกด้วย

 

และนี่คือประวัติของแรดที่ TrueID อยากขอเชิญชวนทุกคนร่วมให้ความสำคัญในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม อนุรักษ์แรดให้คงอยู่ในประเทศไทยต่อไป และขอเชิญร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการอนุรักษ์ และสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการคงอยู่ของสายพันธุ์แรดทั้ง 5 ชนิดทั่วโลก ชวนกันคิดถึง “แรด" ใน “วันแรดโลก" 22 กันยายนนี้ หรือร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการอนุรักษ์ โดยใครสนใจก็สามารถเยี่ยมชม “แรด" ได้ที่ เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี

 

สอบถามข้อมูล หรือจองเข้าชมออนไลน์ล่วงหน้าผ่านช่องทางได้ที่

 

ขอให้แรดหนึ่งวันเพื่อวันอนุรักษ์แรดโลก นึกถึงแรดนึกถึงการอนุรักสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้นนะทุกคน

 

ข้อมูล : วิกิพีเดีย ประวัติแรด

 

ข่าวเกี่ยวข้อง :

 

22 ก.ย.พรุ่งนี้ “วันแรดโลก” สวนสัตว์เชียงใหม่ชวนปลุกจิตสำนึกร่วมอนุรักษ์

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง