รีเซต

ส่องรายได้ Youtuber ธุรกิจมาแรงแห่งปี และ 10 ธุรกิจเด่น 64 สู้โควิด

ส่องรายได้ Youtuber  ธุรกิจมาแรงแห่งปี  และ 10 ธุรกิจเด่น 64 สู้โควิด
TNN ช่อง16
23 ธันวาคม 2563 ( 09:53 )
405
ส่องรายได้ Youtuber  ธุรกิจมาแรงแห่งปี  และ 10 ธุรกิจเด่น 64 สู้โควิด

หลายคนคงสงสัยว่า ธุรกิจทำคอนเทนต์ ธุรกิจ Youtuber และการรีวิวสินค้า ซึ่งมาแรงที่สุดในปี 2563 จะเป็นธุรกิจที่ฉาบฉวยหรือไม่ ความมั่นคง และยั่งยืนมีมั้ย และคำตอบที่น่าเชื่อถือ มาจาก นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ยืนยันว่า นี่คืออาชีพที่จะยั่งยืน และมั่นคงไปอีก 10-20 ปีข้างหน้า เพราะต้องยอมรับว่า พฤติกรรมผู้บริโภคคอนเทนต์ หันไปหาวิดีโอ ออนดีมานต์มากขึ้น และคอนเทนต์ที่อยู่บนโลกออนไลน์ สามารถรับชมเมื่อไหร่ก็ได้ ทดแทนการรับชมทีวีแบบดั้งเดิม แต่การจะอยู่ไปต่อเนื่อง 10-20 ปี นั้นจะต้องมีการปรับตัว ให้ทันกระแสโลก ความต้องการของผู้บริโภคอยู่เสมอ 


นายธนวรรธน์ มองว่า ธุรกิจทำคอนเทนต์ ธุรกิจ Youtuber และการรีวิวสินค้า อยู่ใน อุตสาหกรรม Creative Economy ซึ่งในประเทศพัฒนาแล้วจะอยู่ที่ระดับ 10% ของ GDP ขณะที่ประเทศไทย ปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 8% ของ GDP หรือมากกว่า 1 ล้านล้านบาท โดยคาดว่าเซ็กเตอร์ คอนเทนต์ Influencer Youtuber และการรีวิวสินค้า คาดว่าจะมีมูลค่าทางเศรษฐกิจ 1 หมื่น ถึง 1 แสนล้านบาท และมีอัตราการเติบโตที่สูงเป็นตัวเลข 2 หลัก แน่นอน 

ติดตามรายการ เศรษฐกิจ Insight ตอน ส่องรายได้ Youtuber  ธุรกิจมาแรงแห่งปี  และ 10 ธุรกิจเด่น 64 สู้โควิด



สำหรับ รายได้ของเหล่า Influencer Youtuber และผู้รีวิวสินค้า ต้องยอมรับว่า ขึ้นอยู่กับความโด่งดังของ บุคคล,Page Facebook , Channel Youtube และอื่นๆ ซึ่งจะมีการจ้างไปออกอีเวนต์ โชว์ตัว ไลฟ์สดในแพลตฟอร์มของตนเอง สำหรับผู้ที่ประสบความสำเร็จในด้านนี้ เทียบชั้นดารา นักแสดง หรือ เซเลปในวงการบันเทิง ซึ่งรายได้จะมีเป็นครั้งคราว ขึ้นอยู่กับภาวะเศรษฐกิจ แน่นอนรายได้ลักษณะนี้ ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 เห็นได้จาก ดารา นักแสดงหลายคน ถูกยกเลิกงาน

นอกจากนี้ยังมีรายได้จากแพลตฟอร์มของตนเอง เช่น การได้รับเงินจาก Youtube ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 ช่องทาง คือ ยอดวิวยิ่งสูง ยิ่งได้รับเงินจาก Youtube มาก และมีโอกาสที่จะได้รับโฆษณาจาก Youtube ด้วย ซึ่งรายได้ตรงนี้ ขึ้นอยู่กับฐานผู้ชม ผู้ติดตาม subscribe รวมถึงความขยันในการทำคอมเทนต์ที่ตรงใจผู้รับชม รายได้ลักษณะนี้ ไม่กระทบกับการแพร่ระบาดโควิด-19 และยิ่งกักตัวอยู่บ้าน ล็อคดาวน์ ความต้องการเสพคอนเทนต์ยิ่งมีสูงขึ้น ทำให้รายได้สูงขึ้นไปด้วย 

โฆษณาแฝง หรือ โฆษณาโดยตรงที่ห้างร้าน ผู้ประกอบการ จ่ายให้กับ Influencer เพื่อที่จะนำเสนอผลิตภัณฑ์ หรือ บริการต่างๆ ให้กลุ่มเป้าหมาย หรือ ลูกค้าได้รับรู้ ซึ่งรายได้รูปแบบนี้ ขึ้นอยู่กับภาวะเศรษฐกิจ หากเศรษฐกิจดี มีการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ และบริการใหม่ๆ มาก ปริมาณการโฆษณาแฝงก็จะมากขึ้นตามไปด้วย 

และสุดท้ายการจ่ายเงินตรงให้กับเหล่า Influencer อย่างเช่น การโดเนต ซึ่งขึ้นอยู่กับความชอบของผู้ชมเป็นส่วนสำคัญ 


รายได้ของ เหล่า Influencer ชื่อดัง ในประเทศไทย มีจำนวนมาก บางรายสร้างรายได้หลักล้านต่อเดือน และวันนี้ รายการเศรษฐกิจ Insight รวบรวมจากการสอบถามพีอาร์เอเยนซี่ต่างๆ ที่ติดต่อกับ Influencer เหล่านี้ ซึ่งอยู่ในวงการผู้ผลิตคอนเทนต์

- Beartai ของ พี่หนุ่ย พงศ์สุข คอนเทนต์ด้านไอที และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ค่าผลิตต่อคลิปวิดีโอ 350,000 บาท

- Ceemeagain ของซี ฉัตรปวี นางฟ้าไอทีของไทย สร้างรายได้จากการทำคอนเทนต์ 3 แสนบาทต่อคลิป 

- BoomTharis ยอด Subscibe ใน Youtube 1.2 ล้าน เป็นการรีวิวที่อยู่อาศัยมูลค่าสูง รายได้การจ้างต่อคลิปอยู่ที่ 2 แสนบาท 

- I Roam Alone ช่องสำหรับการท่องเที่ยว ที่มีผู้ติดตามสูงถึง 1.8 ล้านคน  สร้างรายได้ 2 แสนบาท ต่อคลิป  

- พี่แม กาละแมร์ พัชรศรี เบญจมาศ คุ้มเคยกันดีสำหรับอดีตผู้ประกาศข่าวช่อง 3 ก็ผันตัวออกไปเป็น Influencer สร้างคอนเทนต์ ไลฟ์สไตล์ทั่วไป สร้างแรงบันดานใจ รายได้สำหรับการผลิตคอนเทนต์อยู่ที่ 1.5 แสนบาท ต่อคลิป 

- และ สายบิ้วตี้ บล็อคเกอร์ ไม่มีใครไม่รู้จัก Nune noppaluck สาวอารมณ์ขัน ที่มียอดติดตาม ในช่อง Youtube ชื่อ NOBLUK ถึง 1 ล้านคน สร้างรายได้จากการผลิตคอนเทนต์ 7 หมื่นบาท ต่อคลิป 

นี่เป็นส่วนหนึ่ง ที่รวบรวมมา เท่านั้น มีทั้งคนที่สร้างรายได้มากกว่านี้  และคนที่ยังไม่ประสบความสำเร็จ คือยังไม่ได้เงินในธุรกิจนี้เช่นกัน 

เรามาดูอันดับธุรกิจเด่น ปี 2564 ซึ่งจัดโดย ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย อย่างที่บอก ธุรกิจจัดทำคอนเทนต์ youtuber และการรีวิวสินค้า มาแรงที่สุด เพราะปี 2563 ยังไม่อยู่ใน 10 อันดับแรกของธุนกิจเด่น แต่ปีนี้พุ่งมาอยู่อันดับ 2 ได้ ส่วนธุรกิจอันดับ 1 คะแนนเท่ากัน 2 ธุรกิจ คือ  ธุรกิจบริการทางการแพทย์และความงาม แม้จะได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ต้องเว้นระยะห่าง หรือต้องปิดกิจการในช่วงล็อคดาวน์ที่ผ่านมา แต่ความสวยหยุดไม่ได้ เมื่อเปิดกิจการมาอีกครั้ง รายได้กลับมาเบิ้ลเป็นเท่าตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศไทย ได้รับการตอบรับอย่างดี ในประเด็นเรื่องการควบคุมการแพร่ระบาด จนทำให้นักท่องเที่ยวต่างชาติต้องการเดินทางเข้าไทย การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ จึงมีแนวโน้มเติบโตสูงขึ้นในอนาคต 

และ ธุรกิจ e-commerce ของไทย ปีที่ผ่านมาโควิด-19 เร่งให้คนไทยรู้จักอีคอมเมิร์ซมากขึ้น ทำให้เกิดความคุ้นชิน และไม่ต้องเดินทางไปในพื้นที่เสี่ยง และปี 63 เอง อีคอมเมิร์ซ อาจโตถึง 35% 

ธุรกิจแพลตฟอร์ม ตลาดกลางทางด้านอิเล็กทรอนิกส์   ทั้งลาซาด้า ช้อปปี้ หลายคนรู้จักกันดี และเคยใช้บริการซื้อสินค้าออนไลน์ ไปแล้ว อยู่ที่อันดับ 2 เช่นเดียวกับ ธุรกิจจัดทำคอนเทนต์ youtuber และการรีวิวสินค้า ธุรกิจมาแรงแห่งปี ที่เราเล่าไปแล้วข้างต้น  จะเห็นได้ว่า ธุรกิจออนไลน์ ที่อยู่ใน 3 อันดับแรก ได้รับการตอบรับที่ดี แต่ยังมีความเสี่ยงเรื่องภาษีธุรกิจออนไลน์ ซึ่งกรมสรรพากรกำลังพิจารณาและคาดว่าจะนำมาใช้เร็วๆ นี้ 

ธุรกิจหนึ่งที่ ได้รับการตอบรับที่ดี โดยเฉพาะช่วงโควิด-19 คือ ประกันภัย ประกันชีวิต ตามมาเป็นอันดับ 3 และอันดับ 4 ธุรกิจเครื่องมือแพทย์ และธุรกิจเวชภัณฑ์ ธุรกิจการขายส่งสินค้าทางเวชภัณฑ์และทางการแพทย์ ซึ่งได้รับการตอบรับเช่นเดียวกับธุรกิจประกัน คือ โควิด-19 ทำให้เกิดการป้องกัน ทั้งด้านกายภาพ และชีวิต ขณะที่ อันดับ 5 ธุรกิจเกี่ยวกับเทคโนโลยีวิเคราะห์และจัดการข้อมูล หรือ Data analysis เป็นธุรกิจที่ทั่วโลกให้ความสนใจ เพราะข้อมูลมากขึ้น โดยเฉพาะพฤติกรรมผู้บริโภค  แต่ปัจจุบัน ผู้เชี่ยวชาญด้านนี้ยังน้อย และยังเสี่ยงต่ออาชญากรรมทางเทคโนโลยีด้วย 

 
อันดับ 6 ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม และธุรกิจอาหารเสริมและสุขภาพ อันดับ 7 ธุรกิจอาหาร street food  อันดับ 8 ธุรกิจขนส่งโลจิสติกส์ และดิลิเวอรี และธุรกิจด้าน fintech อันดับ 9 ธุรกิจพลังงาน และธุรกิจตู้หยอดเหรียญ และอันดับ 10 ธุรกิจด้านกฎหมายและบัญชี และธุรกิจออกแบบและผลิตภัณฑ์

 
ส่วนธุรกิจดาวร่วงปี 2564 ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ยังคงเน้นไปที่ธุรกิจที่ไม่สามารถแข่งขันได้ ในยุคดิจิทัล ทำให้ภาคการท่องเที่ยว ยังไม่ได้รับการจัดอยู่ใน 10 อันดับ ธุรกิจดาวร่วงปี 2564 นี้ 

นำโดย ธุรกิจเช่าหนังสือ เป็นอันดับ 1 ตามมาด้วย ธุรกิจผลิตโทรศัพท์พื้นฐาน โทรสาร และธุรกิจจำหน่ายอุปกรณ์ความจำ ซีดี เมมโมรี่การ์ด  / อันดับ 3 ธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์และวารสาร / อันดับ 4 ธุรกิจร้านให้บริการอินเตอร์เน็ต และธุรกิจคนกลาง อันดับ 5 ธุรกิจดังเดิมไม่มีดีไซน์ และใช้แรงงานเยอะ

 
อันดับ 6  ธุรกิจผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ใช้แรงงานมากและขายในประเทศ และธุรกิจหัตกรรม เฟอร์นิเจอร์แบบดั้งเดิม  อันดับ 7ธุรกิจซ่อมรองเท้า   อันดับ 8 ธุรกิจการค้าแบบดั้งเดิม และธุรกิจเครื่องปั้นดินเผา และเซรามิก  อันดับ 9 ธุรกิจผลิตผักและผลไม้อบแห้ง และ อันดับ 10 ธุรกิจร้านถ่ายรูป 

นี่เป็นแนวทางสำหรับการปรับตัวในการทำธุรกิจ หรือ อาชีพ ในอนาคต สำหรับคนไทย แน่นอนขึ้นอยู่กับ ความสามารถของแต่ละคน และแนวทางอัพสกิล และรีสกิล ที่ภาครัฐกำลังผลักดัน ให้บุคคลากรในประเทศ เข้าสู่อุตสาหกรรมใหม่ที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้ก้าวข้ามกับดักรายได้ปานกลาง ภายใน 20 ปี ตามยุทธศาสตร์ชาติให้ได้ 

ติดตามรายการ เศรษฐกิจ Insight ตอน ส่องรายได้ Youtuber  ธุรกิจมาแรงแห่งปี  และ 10 ธุรกิจเด่น 64 สู้โควิด

เกาะติดข่าวที่นี่

website: www.TNNTHAILAND.com
facebook : TNNONLINE
facebook live : TNN Live
twitter : TNNONLINE
Line : @TNNONLINE
Youtube Official : TNNONLINE
Instagram : TNN_ONLINE
TIKTOK : @TNNONLINE

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง