รีเซต

ราวตากผ้า ? ที่ผลิตไฟฟ้าได้ เคลมต้นทุนต่ำกว่ากังหันลมถึง 3 เท่าด้วย !

ราวตากผ้า ? ที่ผลิตไฟฟ้าได้ เคลมต้นทุนต่ำกว่ากังหันลมถึง 3 เท่าด้วย !
TNN ช่อง16
15 ธันวาคม 2566 ( 19:22 )
62
ราวตากผ้า ? ที่ผลิตไฟฟ้าได้ เคลมต้นทุนต่ำกว่ากังหันลมถึง 3 เท่าด้วย !

สตาร์ตอัปสัญชาติอเมริกันนำเสนออุปกรณ์คล้ายราวตากผ้าที่หมุนราวได้ แต่ว่าเป็นเครื่องผลิตไฟฟ้าจากลม ซึ่งประกาศตัวว่าจะมีต้นทุนการผลิตต่ำกว่ากังหันลมถึง 1 ใน 3 ในทศวรรษหน้า


เครื่องผลิตไฟฟ้าทรงราวตาผ้าที่จะมาสู้กังหันลม

เครื่องผลิตไฟฟ้าจากลมตัวนี้มีชื่อว่าแอร์ลูม (Airloom) พัฒนาโดยบริษัท แอร์ลูม เอเนอร์จี (AirLoom Energy) ซึ่งมีบิล เกตส์ (Bill Gates) มหาเศรษฐีผู้ก่อตั้งและอดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) ของไมโครซอฟท์ (Microsoft) ให้การสนับสนุนเงินทุน


Airloom จะประกอบไปด้วยเสาที่ปักตามแนวรางวงรี โดยที่ตัวรางจะมีใบพัดรับลมติดกระจายตามแนวรางอยู่ โดยชุดนี้สามารถปรับแต่งแต่ละส่วนเพื่อให้เหมาะสมกับกำลังการผลิตได้ 


เช่น ระบบให้กำลังการผลิตไฟฟ้ารวมที่ 2.5 เมกะวัตต์ (MW) จะมีเสาสูง 25 เมตร ปักตามแนวราวเป็นวงรี ส่วนใบพัดที่อยู่บนราวจะมีความยาว 10 เมตร โดย Airloom Energy ได้ทดสอบจริงที่กำลังการผลิต 50 กิโลวัตต์ (kW) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว


แผนการพัฒนาเครื่องผลิตไฟฟ้าทรงราวตาผ้าที่จะมาสู้กังหันลม

ทาง Airloom Energy ได้นำเสนอข้อดีของระบบผลิตไฟฟ้าแบบเทียบกับกังหันลมปกติ ที่มีกำลังการผลิต 2.5 เมกะวัตต์ เท่า ๆ กัน สิ่งที่ต่างกันอย่างแรกก็คือต้นทุนอุปกรณ์ ตัวกังหันลมจะมีต้นทุนที่ 2.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วน Airloom มีค่าการผลิตต่อระบบที่ 225,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 8 ล้านบาท ถูกกว่าเดิม 9 เท่า


อย่างที่สองคือต้นทุนการขนส่ง กังหันลมต้องใช้รถบรรทุกขนาดใหญ่ ขนชิ้นส่วนต่าง ๆ รวมถึงใบพัดที่มีความยาวไม่ต่ำกว่า 100 เมตร แต่ Airloom สามารถขนส่งชิ้นส่วนต่าง ๆ รวมถึงราวใบพัดในรถบรรทุกขนาดปกติ


ในขณะที่ทาง Airloom Energy ยังนำเสนอข้อดีด้านต้นทุนการติดตั้งบนพื้นที่ผลิตไฟฟ้า ซึ่งมาจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น  ค่าแรงงาน ค่าที่ดิน ค่าขนย้ายอื่น ๆ ซึ่งภายใต้การคำนวณของ Airloom Energy ตัวอุปกรณ์จะมีต้นทุนการผลิตไฟฟ้าตลอดอายุการใช้งาน (Levelized Cost of Energy: LCoE) อยู่ที่ 50 สตางค์ต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง (kWh) ส่วนกังหันลมจะมีค่า LCoE อยู่ที่ 1.36 บาทต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง ต่างกันเกือบ 3 เท่า 


ด้วยเหตุนี้ แอร์ลูม จึงเป็นที่น่าจับตาในอนาคตว่าภายใน 7 ปี หรือประมาณนี้ 2030 จะสามารถพัฒนาไปถึงระดับการใช้งานจริงได้หรือไม่ เนื่องจากปัจจุบันยังมีปัญหาทางเทคนิคในการผลิตต้นแบบที่ยังต้องปรับปรุง แก้ไข และพัฒนาอยู่ในตอนนี้


ที่มาข้อมูล New Atlas

ที่มารูปภาพ Airloom Energy

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง