รีเซต

NASA ต้องให้ SpaceX หยุดดำเนินการข้อตกลงบนดวงจันทร์ เพราะการฟ้องร้อง

NASA ต้องให้ SpaceX หยุดดำเนินการข้อตกลงบนดวงจันทร์ เพราะการฟ้องร้อง
TNN ช่อง16
2 พฤษภาคม 2564 ( 18:51 )
322
NASA ต้องให้ SpaceX หยุดดำเนินการข้อตกลงบนดวงจันทร์ เพราะการฟ้องร้อง

NASA ได้ทำการมอบสัญญาให้กับทาง SpaceX เป็นมูลค่ากว่า 2.9 พันล้านดอลลาร์ เพื่อให้ทางบริษัท SpaceX เป็นผู้ดำเนินการระบบ Option A หรือสร้างยานอวกาศ Starship ที่จะพามนุษย์เดินทางไปยังดวงจันทร์ในโครงการ Artemis เมื่อ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา (อ่านเพิ่มเติม) การที่ SpaceX ได้รับเลือก ทำให้บริษัทที่ยื่นเสนอต่อ NASA ที่เหลือ 2 บริษัท Dynetics และ Blue Origin ทำการยื่นประท้วงต่อ U.S. Government Accountability Office สำนักงานความรับผิดชอบของรัฐบาลสหรัฐฯ ในเรื่องการตัดสินใจของ NASA ในเรื่องการเลือกผู้ดำเนินการในระบบ Option A 


นั่นทำให้ในช่วงที่ทาง U.S. Government Accountability Office ทำการตรวจสอบอยู่ ทาง SpaceX จะต้องหยุดดำเนินการในโครงการ Artemis ไปก่อน



เกี่ยวกับโครงการ Artemis


โครงการ Artemis คือ โครงการที่จะพามนุษย์ไปยังดวงจันทร์อีกครั้ง โดยในครั้งนี้จะทำการใช้เทคโนโลยีอวกาศที่ทำการพัฒนาขึ้นมาใหม่ทั้งหมด เพื่อที่จะนำเทคโนโลยีดังกล่าวไปใช้เพื่อเดินทางไปยังดาวอังคารต่อในอนาคต ทาง NASA จะแบ่งเฟสการพัฒนาออกเป็น 3 เฟส

  • Artemis I : เริ่มทดสอบภายในปี 2021 โดยทำการยิงจรวดที่ไม่มีมนุษย์
  • Artemis II : เริ่มทดสอบภายในปี 2023 ทำการยิงจรวดที่มีมนุษย์ขึ้นไป
  • Artemis III : ภายในปี 2024 ส่งมนุษย์ไปเหยียบดวงจันทร์อีกครั้ง


โครงการ Artemis จะเป็นโครงการแรกที่จะส่งผู้หญิงและคนผิวสีขึ้นไปเหยียบดวงจันทร์เป็นครั้งแรก ยานอวกาศไปดวงจันทร์ของ SpaceX มีมูลค่าการพัฒนาอยู่ที่ 2.89 พันล้านดอลลาร์ โดย NASA เลือก SpaceX เพราะเป็นคู่พาร์ทเนอร์ที่ทำงานร่วมกันมานาน ยานของ SpaceX ชื่อว่า Starship พัฒนาต่อมาจากยาน Falcon และ Dragon โดยนอกจาก SpaceX แล้ว บริษัทอื่น ๆ ที่ประกาศชิงโครงการนี้ ยังมี Boeing, Vivace, Dynetics และกลุ่มบริษัทที่นำโดย Blue Origin ของ Jeff Bezos แต่ทั้งหมดไม่ได้ถูกรับคัดเลือกแต่อย่างใด สำหรับส่วนอื่น ๆ ของโครงการยังมีจรวด Space Launch System, ยานอวกาศ Orion และ Gateway สถานีอวกาศขนาดเล็กที่จะโคจรรอบดวงจันทร์ โดยมีทั้งส่วนที่ NASA พัฒนาเอง และให้บริษัทเอกชนเจ้าอื่น ๆ เข้ามาช่วยพัฒนา



แหล่งที่มา engadget.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง