รีเซต

บลจ.ยูโอบีชี้ปัจจัยกดดันครึ่งหลัง เสี่ยงต่ำแนะกองทุนรวมตลาดเงิน

บลจ.ยูโอบีชี้ปัจจัยกดดันครึ่งหลัง เสี่ยงต่ำแนะกองทุนรวมตลาดเงิน
ทันหุ้น
18 กรกฎาคม 2566 ( 15:38 )
54

บลจ.ยูโอบี จับตาปัจจัยกดดันการลงทุนในครึ่งปีหลัง ทั้งเงินเฟ้อที่ยังสูง แม้จะปรับลงก็ตาม คาดสหรัฐคงหนีไม่พ้นเศรษฐกิจถดถอย หากแต่ไม่รุนแรง พร้อมแนะนักลงทุนรับเสี่ยงได้ต่ำไปที่ กองทุนรวมตลาดเงิน TCMF-M ส่วนรับเสี่ยงได้ ตราสารหนี้โลก และหุ้นโลกยังเป็นทางเลือก แต่คัดธีมที่เป็นเทรนด์เติบโตในระยะยาว

 

นายกุลฉัตร จันทวิมล รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส สายพัฒนาธุรกิจ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ยูโอบี (ประเทศไทย) จำกัด หรือ บลจ. ยูโอบี กล่าวว่า ปัจจัยที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดในครึ่งปีหลัง ซึ่งมีผลต่อการลงทุน ยังคงเป็นประเด็นเรื่อง เงินเฟ้อเพราะแม้ว่าจะปรับตัวลดลงแต่มีโอกาสที่จะคงอยู่ในระดับสูง เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน มีแนวโน้มปรับตัวลดลงช้ากว่าที่คาด เป็นผลมาจากภาคการจ้างงานที่ยังคงตึงตัวอยู่

 

บลจ.ยูโอบี มองว่าท้ายที่สุดแล้วเศรษฐกิจสหรัฐจะไม่สามารถหลีกเลี่ยงการเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย หรือ Recession แต่ก็จะเป็นในลักษณะที่ไม่รุนแรง (Soft Landing) 

 

อย่างไรก็ตามต้องจับตาธนาคารกลางสหรัฐในการดำเนินนโยบายที่สร้างสมดุลระหว่างการควบคุมเงินเฟ้อ กับการบริหารความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย รวมถึงประเด็นการปรับคาดการณ์กำไรบริษัทจดทะเบียนลงอีก หลังบริษัทจดทะเบียนอาจได้รับผลจากนโยบายการเงินและสินเชื่อที่เข้มงวดมากขึ้น

 

*จุดพักเงินกองทุนTCMF-M

สำหรับนักลงทุนที่ต้องการลดความเสี่ยงของตลาดหรือต้องลงทุนในระหว่างรอจังหวะการลงทุน บลจ. ยูโอบี แนะนำ กองทุนรวมตลาดเงิน คือ กองทุนเปิด ไทย แคช แมเนจเม้นท์ (TCMF-M) ระดับความเสี่ยง 1 เน้นลงทุนในตราสารหนี้ เงินฝากทั้งภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ ที่มั่นคง และมีสภาพคล่องสูง

 

และหากสามารถรับความเสี่ยงและต้องการกระแสรายได้สม่ำเสมอ จากการลงทุนตราสารหนี้ทั่วโลก แนะนำลงทุนใน

 

  • กองทุนเปิด ยูไนเต็ด อินคัม ฟันด์ (UINC) ระดับความเสี่ยง 5 กองทุนลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศ ชื่อ JPM Income Fund C (acc) – USD (กองทุนหลัก) กองทุนหลักมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างกระแสรายได้อย่างสม่ำเสมอผ่านการลงทุนในตราสารหนี้ โดยจะกระจายการลงทุนไปยังตราสารหนี้ประเภทต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนทั่วโลก 

 

  • กองทุนเปิด ยูไนเต็ด โกลบอลอินคัม สตราทีจิค บอนด์ ฟันด์ (UGIS) ระดับความเสี่ยง 6 กองทุนลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศ ชื่อ PIMCO GIS Income Fund (Class I) (กองทุนหลัก) เพียงกองทุนเดียว ซึ่งกองทุนหลักมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างกระแสรายได้ในระดับสูง 

โดยการบริหารการลงทุนอย่างรอบคอบ และมีวัตถุประสงค์ในการสร้างการเติบโตของเงินลงทุนในระยะยาว มีหลักการกระจายการลงทุนไปในตราสารหนี้ประเภทต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนทั่วโลก  

 

  • กองทุนเปิด ยูไนเต็ด โกลบอล อินโนเวชั่น ฟันด์ (UNI-M) ระดับความเสี่ยง 6 กองทุนมีนโยบายลงทุนในตราสารทุนต่างประเทศที่ออกโดยบริษัททั่วโลก รวมถึงประเทศในตลาดเกิดใหม่ โดยเป็นตราสารทุนของบริษัทที่เกี่ยวข้องหรือได้รับผลประโยชน์จากธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมและหรือเทคโนโลยีใหม่

 โดยพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้

  1.  เป็นบริษัทผู้นำด้านนวัตกรรมที่มีศักยภาพในการสร้างผลิตภัณฑ์ หรือนวัตกรรมทางธุรกิจใหม่ 
  2.  เป็นบริษัทผู้นำทางด้านเทคโนโลยีที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการพัฒนา หรือใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี 
  3.  เป็นบริษัทที่มีการพัฒนาด้านผลิตภัณฑ์ กระบวนการ หรือบริการ อันจะนำมาซึ่งประโยชน์จากความก้าวหน้า และการพัฒนาทางเทคโนโลยี กองทุนมีการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน

รับโอกาสลุยหุ้นโลก

สำหรับผู้ลงทุนที่คาดหวังผลตอบแทนในระยะยาวจากการลงทุนในหุ้น แนะนำลงทุนในหุ้นทั่วโลกในอุตสาหกรรมที่ได้รับปัจจัยบวกจากการเติบโตของเศรษฐกิจโลก โดย บลจ. ยูโอบี แนะนำ 

 

  • กองทุนเปิด ยูไนเต็ด โกลบอล อินโนเวชั่น ฟันด์ (UNI-M) ระดับความเสี่ยง 6 กองทุนมีนโยบายลงทุนในหุ้นต่างประเทศที่ออกโดยบริษัททั่วโลก รวมถึงประเทศในตลาดเกิดใหม่ โดยเป็นตราสารทุนของบริษัทที่เกี่ยวข้องหรือได้รับผลประโยชน์จากธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมและหรือเทคโนโลยีใหม่

 

  • กองทุนเปิด ยูไนเต็ด แบตเตอรี่ แอนด์ อีวี เทคโนโลยี ฟันด์ (UEV-M) ระดับความเสี่ยง 6 กองทุนจะลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตราสารทุนต่างประเทศ หรือกองทุนรวมอีทีเอฟ (ETF) ตราสารทุนต่างประเทศ ที่มีนโยบายการลงทุนในบริษัทที่ดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสายการผลิตแบตเตอรี่ 

 

ซึ่งครอบคลุมถึงการทำเหมืองไปจนถึงการพัฒนาเทคโนโลยีแบตเตอรี่และการผลิตแบตเตอรี่ บริษัทที่ดำเนินการ และได้รับประโยชน์จากการพัฒนาเทคโนโลยี ผลิตภัณฑ์และบริการที่เกี่ยวข้องกับระบบขนส่งในอนาคต เช่น รถยนต์, ยานพาหนะไฟฟ้า หรือเทคโนโลยีดิจิตอลที่ใช้ในการขนส่ง เช่น การขับขี่อัตโนมัติ เป็นต้น โดยกระจายการลงทุนในตลาดหุ้นทั่วโลก

 

"จุดเด่นของ UEV-M ลงทุนในอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า ที่มีนโยบายลงทุนในบริษัทที่มีธุรกิจเกี่ยวข้องกับการผลิตแบตเตอรี่และรถยนต์ไฟฟ้า ตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำทั่วโลก"

 

  • กองทุนเปิด ยูไนเต็ด โรโบติกส์ & อาร์ติฟิเชียล อินเทลลิเจนซ์ อีทีเอฟ (UBOT) ระดับความเสี่ยง 6 กองทุนลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศ ชื่อ Global X Robotics & Artificial Intelligence ETF (กองทุนหลัก) เพียงกองทุนเดียว ซึ่งกองทุนหลักเป็นกองทุนรวมประเภท ETF ที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ NASDAQ ประเทศสหรัฐอเมริกา  

 

"กองทุนหลักที่ UBOT เข้าไปลงทุน มีนโยบายเน้นลงทุนในบริษัทที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ ที่ได้รับอานิสงส์จากกระแส ChatGPT ที่กระตุ้นให้เกิดการลงทุนเพื่อพัฒนา AI"

 

  • กองทุนเปิด ยูไนเต็ด อิควิตี้ ซัสเทนเนเบิล โกลบอล ฟันด์ (UESG-M) ระดับความเสี่ยง 6 กองทุนลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศ ชื่อ Robeco Sustainable Global Stars Equities IL EUR (กองทุนหลัก) เพียงกองทุนเดียว กองทุนหลักมีวัตถุประสงค์การลงทุนมุ่งหวังสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะยาวและส่งเสริมการลงทุนด้าน ESG 

โดยกองทุนหลักมีการนำปัจจัยด้าน ESG เข้ามาพิจารณาใช้ในกระบวนการลงทุน และยังมุ่งหวังที่จะมีฟุตพริ้นท์ด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Footprint) ที่ดีกว่า Benchmark กองทุนมีการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน

 

หุ้นกลุ่มเติบโต ตลาดDM โค้ง 2 ดีด

นางสาววรรณจันทร์ อึ้งถาวร รองกรรมการผู้จัดการ สายการลงทุน บลจ. ยูโอบี กล่าวว่า ตลาดหุ้นในประเทศพัฒนา (Developed Market : DM ) แล้วปรับสูงขึ้น ในไตรมาสสองที่ผ่านมา เป็นผลมาจากความกังวลจากประเด็นการล้มละลายของ Regional Bank ในสหรัฐฯ ที่คลี่คลายรวมถึงกระแสการตื่นตัวการลงทุนในบริษัทที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ Robotics & AI ซึ่งทำให้ให้หุ้นกลุ่มเติบโต (Growth Stock) ปรับตัวได้อย่างโดดเด่น 

 

อย่างไรก็ดีในช่วงท้ายไตรมาส ตลาดหุ้นมีการพักฐานหลังจากธนาคารกลางสหรัฐส่งสัญญาณการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มเติม ในขณะที่ดัชนี PMI ภาคการผลิตอยู่ในระดับต่ำกว่า 50 ต่อเนื่อง ส่งผลให้ตลาดกลับมากังวลเรื่องเศรษฐกิจชะลอตัวอีกครั้ง 

 

สำหรับตลาดหุ้นประเทศเอเชียไม่รวมญี่ปุ่นนั้นปรับลดลงในช่วงที่ผ่านมาหลังข่าวดีเกี่ยวกับการเปิดประเทศเริ่มหมดไป ประกอบกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและภาคอสังหาริมทรัพย์ในจีนที่ช้ากว่าคาด

 

เพิ่มหุ้นตลาด DM ลดน้ำหนักเอเชีย

ส่งผลให้ บลจ.ยูโอบี ปรับน้ำหนักการลงทุนในหุ้นกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วเพิ่มขึ้นเล็กน้อยหลังจากตัวเลขเศรษฐกิจออกมาดีกว่าคาด ในขณะเดียวกันได้ปรับลดน้ำหนักการลงทุนในหุ้นกลุ่มประเทศในฝั่งเอเชียที่แม้ว่ามีมูลค่าที่น่าสนใจแต่ตลาดได้รับรู้ปัจจัยบวกจากการเปิดประเทศไปแล้ว และการฟื้นตัวในระยะข้างหน้ายังต้องเผชิญกับความ
ท้าทายที่มากขึ้น

 

สำหรับตลาดในประเทศที่พัฒนาแล้ว นักลงทุนได้เปลี่ยนโฟกัสจากความเสี่ยงในการดำเนินนโยบายทางการเงินมายังความเสี่ยงจากเศรษฐกิจถดถอย (Recession) และยังมีโอกาสที่นักวิเคราะห์จะปรับคาดการณ์กำไรของบริษัทจดทะเบียนลงได้อีก (Earnings Downgrade) 

 

ดังนั้นการลงทุนต้องเน้นไปยังกลุ่มที่ความสามารถในการสร้างกระแสเงินสดและกำไรที่สม่ำเสมอ (Quality & Visibility of Earnings) และมีพื้นฐานรองรับในการเติบโตที่ชัดเจน (Secular Growth) อย่างเช่นกลุ่ม อุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า 

 

นอกจากนี้ ในภาพระยะกลางเราเชื่อว่าหากเกิด Recession ขึ้น ในช่วงครึ่งปีหลังตลาดจะค่อย ๆ Priced In ไปยังวัฏจักรเศรษฐกิจการฟื้นตัวในระยะถัดไปและเปิดโอกาสให้หุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้นในกลุ่มที่กว้างขึ้นได้ โดยแนะนำให้ลงทุนในกลุ่ม Mid-Small Cap หรือ Cyclical Play ที่ยัง Laggard และมี Valuation ที่น่าสนใจ

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง