รีเซต

บทสรุป! คดีน้องจูน 2564 โดนหมวดแบงค์ทำร้าย ทำไม? ผู้หญิงไทยยังเป็น "เหยื่อความรุนแรง"

บทสรุป! คดีน้องจูน 2564 โดนหมวดแบงค์ทำร้าย ทำไม? ผู้หญิงไทยยังเป็น "เหยื่อความรุนแรง"
TeaC
15 ธันวาคม 2564 ( 13:45 )
4.4K

ข่าววันนี้ คดีน้องจูนล่าสุด! ปิดฉากโศกนาฎกรรมเมื่อความรักร้าย ทำร้ายเธอ น.ส.สุกฤตา สุภานิล หรือ น้องจูน ถูกหมวดแบงค์ อดีตสามี ทำร้ายปางตาย กว่า 5 ปีที่เธอและแม่ร่วมต่อสู้ทวงความยุติธรรม กระทั่ง (14 ธันวาคม 2564) ศาลมณฑลทหารบกที่ 15 จ.เพชรบุรี พิพากษาปิดคเีแล้ว วันนี้ TrueID จะพาย้อนรอยคดีสะเทือนใจ เมื่อปี 2559 และคำถามที่ตามมา ทำไม? ผู้หญิงไทยยังเป็น "เหยื่อความรุนแรง"

คดีน้องจูน โดนหมวดแบงค์ (อดีตสามี) ทำร้าย

 

ย้อนคดีน้องจูน ก่อนสิ้นสุด

1. ยังจำคดีน้องจูนโดนอดีตสามีทหารทำร้ายร่างกายจนเสียโฉมได้หรือเปล่า? ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวกลายเป็นคดีดังเมื่อปี 2559 ได้รับความสนใจจากประชาชนอย่างมาก 

2. ย้อนชีวิตของ น.ส.สุกฤตา สุภานิล หรือ น้องจูน หญิงสาวหน้าตาดี เธอเป็นพนักงานราชการค่ายทหารแห่งหนึ่งในจังหวัดประจวบฯ ส่วนสามีเป็นนักเรียนนายร้อยอยู่ชั้นปัที่ 4 ได้เข้ามาฝึกที่ค่ายเดียวกัน ทั้งคู่ได้เจอและสร้างความสัมพันธ์ต่อกัน จนตัดสินใจจดทะเบียนสมรสก้าวสู้ชีวิตครอบครัวในที่สุด 

3. ดูแล้วเหมือนความรักของทั้งคู่จะราบเรียบเหมือนคู่ชีวิตอื่น ๆ แต่แล้วเหตุการณ์น่าสลด ไม่ควรเกิดขึ้นกับ "ผู้หญิง" คนหนึ่งที่มีชีวิตที่ดี มีหน้าที่การทำงานที่ดี ชีวิตครอบครัวดี และอนาคตของเธอกำลังสดใส กลับสิ้นสุดลงเมื่อคนที่เธอรักมาก กลับทำร้ายเธอจนปางจาย

4. โดยชนวนเหตุที่ทำให้น้องจูนต้องตกเป็น "เหยื่อความรุนแรง" ในครั้งนี้ เนื่องจากเธอทราบว่าสามีของเธอนอกใจ มีผู้หญิงอื่น ต่อมาเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2559 น้องจูนและหมวดแบงกืได้นัดเจรจา เพื่อสะสางปัญหาความรัก

5. หลังจากนั้น พลเมืองดีพบร่าง "น้องจูน" นอนหมดสติในสภาพเจ็บปางตาย ใบหน้าของเธอถูกของแข็งระดมตี เธอถูกส่งตัวรักษาโรงพยาบาล ผลการตรวจของแพทย์ พบว่า น้องจูนเบ้าตาด้านซ้ายแตก โครงหน้าแตกละเอียด กะโหลกส่วนหน้าแตกยุบ อาการเป็นตายเท่ากัน 

6. น้องจูนนอนแน่นิ่งกว่า 3 เดือน จากสาวสวยหน้าตาดีต้องทนอยู่กับความทุกข์ทรมาน และแพทย์ลงความเห็นว่า เธอมีโอกาสรอดชีวิตเพียง 1% เท่านั้น แต่แล้วน้องจูนลืมตาตื่น ฟื้นขึ้น แต่เธอกลับสูญเสียความทรงจำ เธอจำไม่ได้ว่าเกิดอะไรขึ้นกับตัวของเธอ

7. จากนั้นเธอต้องทำกายภาพบำบัด ฝึกการเคลื่อนไหวร่างหกาย โดยมีแม่ดูแลตลอด หลังจากนั้นเธอได้รับความช่วยเหลือจากผู้ใหญ่ใจดีออกเงินให้เธอไปทำศัยกรรมที่ประเทศเกาหลี และน้องจูนปัจจุบันได้ชีวิตกลับมาอีกครั้ง เธอได้โอกาสกลับมาทำงาน ส่วนอดีตสามีของเธอ ไม่ได้คิดอาฆาตแค้นอะไร แต่อยากให้เขาได้รับผลจากการกระทำ

 8. ล่าสุด ศาลมณฑลทหารบกที่ 15 จ.เพชรบุรี พิพากษาจำคุก หมวดแบงค์ 1 ปี 6 เดือน แต่เนื่องจากจำเลยไม่เคยกระทำความผิด จึงให้รอลงอาญา 2 ปี ปรับ 12,500 บาท ซึ่งคดีน้องจูน ถือว่าสิ้นสุดลงแล้ว จบคดีน้องจูน โดนสามีทำร้าย

 

สรยุทธ โพสต์ เป็นกำลังใจให้น้องจูนและแม่ 

9. สรยุทธ สุทัศนะจินดา พิธีกรรายลการเรื่องเล่าเช้านี้ ทางช่อง 3 โพสต์ให้กำลังใจบางส่วนว่า น้องจูน กับ แม่  กล่าวก่อนเข้าฟังคำพิพากษา ระบุว่า ไม่ว่าผลการตัดสินจะออกมาเป็นอย่างไร ก็จะน้อมรับ เพราะทุกวันนี้ให้อภัยอดีตสามีไปแล้ว ขณะที่ แม่น้องจูน หวังว่า ผู้ต้องหาจะได้รับโทษกับสิ่งที่ได้กระทำลงไป และหวังว่าจะได้รับความยุติธรรม


10. เมื่อคดีสิ้นสุด นางสุนทรี แม่ของน้องจูน กล่าวหลังฟังคำพิพากษาว่า เคารพในคำพิพากษาของศาล ความรู้สึกที่แท้จริง ตนไม่ขอพูด ให้ดูจากน้ำตาของคนเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยวคนนี้ เกือบ 5 ปี ที่แม่และน้องจูนเฝ้ารอความเป็นธรรมที่ลูกสาวถูกกระทำ 


“อย่างน้อย แม่ก็ได้ลูกสาวกลับมา แม่สอนให้ลูกเข้มแข็ง เราตั้งตาทำมาหากิน เอาเวลาไปทำของขวัญขายหารายได้ให้ครอบครัวเพื่อสร้างชีวิตใหม่ ให้ดีกว่าเดิม”


น้องจูนเองก็รู้สึกเสียใจ แม่ย้ำน้องจูนเสมอว่า อย่าร้องไห้ให้ใครเห็น เราต้องเข้มแข็ง และขอบคุณทุกกำลังใจที่ทั้งสื่อและประชาชนทั่วประเทศติดตามให้กำลังใจเราสองคนแม่ลูก ต้องบอกว่า  เราทำดีที่สุดแล้ว


คดีน้องจูน สะท้อน ทำไม? ผู้หญิงไทยยังเป็น "เหยื่อความรุนแรง"

ด้วนสถานการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในสังคม ยังมีให้เห็นบ่อย ๆ ซ้ำซาก โดยเฉพาะความรุงแรงในครอบครัว ผู้หญิงและเด็ก ยังตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงที่เกิดจากคนที่อยู่ในครอบครอบครัวเดียวกัน เช่น 

  • สามี
  • พ่อแท้ ๆ
  • พ่อเลี้ยง
  • เครือญาติ

ทั้งนี้ จากข้อมูลสำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้เผยสถิติที่น่าสนใจถึงสาเหตุที่ผู้หญิงยังคงถูกกระทำความรุนแรง โดยปัจจัยหลัก ๆ คือ คนไทยยังมีทัศนคติที่ไม่ถูกต้อง

สถานการณ์ 3 อันดับแรกที่ผู้หญิงและผู้ชาย อายุ 15-49 ปี มีความเห็นว่า สามีควรทำร้ายร่างกายภรรยาได้ เทียบระหว่างปี 2559 กับปี 2562 ดังนี้

ผู้ชาย มีความเห็นต่อ 3 สถานการณ์ 

  • ออกจากบ้าน โดยไม่บอกสามี

    • ปี 2559 : 2.0%
    • ปี 2562 : 3.4%

  • ไม่เอาใจใส่ดูแลบุตร

    • ปี 2559 : 6.1.0%
    • ปี 2562 : 5.8%

  • โต้เถียง ทะเลาะ กับสามี

    • ปี 2559 : 2.7%
    • ปี 2562 : 4.2%


ผู้หญิง มีความเห็นต่อ 3 สถานการณ์

  • ออกจากบ้าน โดยไม่บอกสามี

    • ปี 2559 : 2.0%
    • ปี 2562 : 3.3%

  • ไม่เอาใจใส่ดูแลบุตร

    • ปี 2559 : 6.6%
    • ปี 2562 : 5.3%

  • โต้เถียง ทะเลาะ กับสามี

    • ปี 2559 : 2.2%
    • ปี 2562 : 3.0%

จากข้อมูลการสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย ปี 2559-25662 มองเห็นประเด็นที่สำคัญประเด็นหนึ่งคือ บรรทัดฐานเรื่องชายเป็นใหญ่ ที่ยังคงฝังรากลึกอยู่ในสังคมไทย 

ซึ่งจะเห็นได้จากการอ้างเหตุผลเกี่ยวกับพฤติกรรมการออกจากบ้าน โดยไม่บอกคู่สมรส หรือการทะเลาะ ยังเป็นเหตุผลที่ผู้ชายใช้เป็นข้ออ้าง เพื่อกระทำความรุนแรงต่อภรรยา ส่วนภรรยาเองก็ยินยอมให้สามีทำร้ายด้วยเหตุผลดังกล่าว 

มาร่วมช่วยกันปรับเปลี่ยนเจตคติเกี่ยวกับสถานะบทบาทของผู้หญิงในสังคมไทยให้เท่าเทียมมากขึ้น

เมื่อมีความรัก ต้องไม่ทำร้าย

 

ภาพ : ข่าวสด

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

กดเลย >> community แห่งความบันเทิง

ทั้งข่าว หนัง ซีรีส์ ละคร ดนตรี และศิลปินไอดอล ที่คุณชื่นชอบ บนแอปทรูไอดี

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง