รีเซต

11 ธันวาคม 2566 ประวัติ วันสมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส

11 ธันวาคม 2566 ประวัติ วันสมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส
TrueID
22 กันยายน 2566 ( 22:19 )
478
11 ธันวาคม 2566 ประวัติ วันสมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส

วันสมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส วันสำคัญของไทยที่ตรงกับวันที่ 11 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันที่มีพระราชวงศ์พระองค์แรกที่ทรงได้รับสถาปนาให้ดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช  

 

 

ประวัติวัน สมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส 

 

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 28 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาจุ้ย (ต่อมาได้เลื่อนยศเป็นท้าวทรงกันดาล) เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2333 มีพระนามว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าวาสุกรี ผนวชเป็นสามเณรเมื่อพระชันษาได้ 12 ปี เมื่อปี พ.ศ. 2345 ผนวชเป็นพระภิกษุ แล้วเสด็จไปประทับ ณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ทรงศึกษาหนังสือไทยและภาษาบาลีตลอดทั้งวิชาอื่น ๆ จากสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน จนมีพระปรีชาสามารถ ทั้งทางคดีโลก และคดีธรรม มีผลงานอันเป็นพระราชนิพนธ์เรื่องต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก

ผลงาน / งานประพันธ์

โคลง
1. โคลงกลบทดาวล้อมเดือน
2. โคลงจารึกศาลารายและโคลงจารึกศาลาหน้าพระมหาเจดีย์
3. โคลงดั้นเรื่องปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพน
4. โคลงภาพคนต่างภาษา
5. โคลงภาพฤาษีดัดตน
6. กลโคลงวิวิธมาลี
 
ร่าย
1. ร่ายทำขวัญนาคหลวง
2. ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก
 
ลิลิต
1. ลิลิตกระบวนแห่พระกฐินพยุหยาตราทางสถลมารคและทางชลมารค
2. ลิลิตตะเลงพ่าย
 
ฉันท์
1. กฤษณาสอนน้องคำฉันท์
2. ฉันท์กล่อมช้างพังและกาพย์ขับไม้กล่อมช้างพัง  ใน คำฉันท์ดุษฎีสังเวย
3. ฉันท์สังเวยกลองวินิจฉัยเภรี  ใน คำฉันท์ดุษฎีสังเวย
4. ฉันท์วรรณพฤติและมาตราพฤติ
5. สรรพสิทธิ์คำฉันท์
6. สมุทรโฆษคำฉันท์ (ตอนปลาย)
 
กลอน  ได้แก่  เพลงยาวเจ้าพระ
 
ร้อยแก้ว
 
1. คำประกาศบรมราชาภิเษกรัชกาลที่ 4
2. ปฐมสมโพธิกถา
3. พระธรรมเทศนาพระราชพงศาวดารสังเขป
4. พระธรรมเทศนาพระราชพงศาวดารสังเขปและพระราชพงศาวดารย่อ
5. คำฤษฎี (พระนิพนธ์ร่วมกับสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร  และพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์)
6. จักรทีปนี (ร้อยแก้วปนกาพย์) ตำราพยากรณ์

 

ครั้นพระองค์เจ้าวาสุกรีทรงเจริญพระชันษาได้ 12 ก็ทรงละฆราวาสวิสัยออกผนวชเป็นสามเณรเมื่อปีจอ พุทธศักราช 2345 โดยผนวชเป็นหางนาค ณ วัดพระศรีสรเพ็ชญ์ (วัดพระศรีรัตนศาสดาราม) ครั้นผนวชแล้วจึงเสด็จไปประทับอยู่ ณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ในระหว่างที่ผนวชเป็นสามเณรอยู่นั้น ได้ทรงศึกษาในสำนักสมเด็จพระพนรัตน วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ทรงศึกษาอักษรทั้งไทย ขอม ภาษามคธ (บาลี) โบราณคดี ตลอดจนวิธีทำเลขยันต์ต่างๆ ตามคตินิยมในสมัยนั้น ครั้นทรงผนวชเป็นพระภิกษุได้ 3 พรรษา ลุปีพุทธศักราช 2357 สมเด็จพระพนรัตนถึงแก่มรณภาพในระหว่างพรรษา ยังไม่ทันจะได้โปรดให้พระเถระรูปใดเป็นอธิบดีสงฆ์วัดพระเชตุพนฯครั้นออกพรรษาแล้ว ในช่วงเวลาพระกฐิน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เสด็จไปพระราชทานพระกฐินถึงวัดพระเชตุพนฯ จึงทรงพระกรุณาโปรดตั้งให้สมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตชิโนรสเป็นพระราชาคณะด้วย

 

สมเด็จฯกรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงรับกรมครั้งแรกในรัชกาลที่ 2 เป็นกรมหมื่นนุชิตชิโนรส ศรีสุคตขัติยวงศ์ เมื่อราวปีชวด พุทธศักราช 2359 และในขณะที่ทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นกรมหมื่นอยู่นี้ ได้ทรงทำหน้าที่เป็นพระอาจารย์ของเจ้านายหลายพระองค์ อาทิ พระบาทสมเด็จพระกรมหมื่นอยู่นี้ ได้ทรงทำหน้าที่เป็นพระอาจารย์ของเจ้านายหลายพระองค์ โดยเฉพาะพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อทรงผนวชเป็นพระภิกษุอยู่นั้น ทรงเคารพเลื่อมใสในสมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตชิโนรสเป็นอย่างยิ่งแม้ว่าจะมีพระชนมายุแก่กว่าพระองค์เพียง 14 พรรษาก็ตาม แต่ก็ทรงตั้งอยู่ในฐานะเป็นพระปิตุลา สมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงตั้งพระองค์อยู่ในฐานะเป็นครุฐานียบุคคลในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นอย่างสูง เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงลาสิกขา เสด็จขึ้นครองราชย์ เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พุทธศักราช 2394 แล้ว ก็ได้ทรงสถาปนา สมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ขึ้นเป็น "กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส"

 

เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติในปีพุทธศักราช 2394 นั้น สมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตโนรสมีพระชนมายุได้ 61 พรรษา ทรงพระประชวรหนักครั้งหนึ่ง ครั้นต่อมาอีก 2 ปี พระองค์ก็ได้ประชวรพระโรคชรา และสิ้นพระชนม์เมื่อวันศุกร์ เดือนอ้าย ขึ้น 9 ค่ำ ปีฉลู เบญจศก จุลศักราช 1215 เวลาบ่าย 3 โมง ตรงกับวันที่ 9 ธันวาคม พุทธศักราช 2396 สิริรวมพระชนมายุได้ 63 พรรษากับ 4 วัน และในฐานะที่ทรงเป็นประมุขที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงศรัทธามาก จึงโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระศพจากวัดพระเชตุพนไปประดิษฐาน ณ พระเมรุที่ท้องสนามหลวง แล้วพระราชทานเพลิงศพ เมื่อวันเสาร์ที่ 8 เมษายน ขึ้น 11 ค่ำ เดือน 5 พุทธศักราช 2397 เมื่อพระราชทานเพลิงพระศพแล้ว พระบาทสมเด็จพะจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯ ให้เชิญพระอัฐิไปประดิษฐานไว้ที่พระตำหนักวัดพระเชตุพน และโปรดให้มีตำแหน่งฐานานุกรมรักษาพระอัฐิต่อมา

 

ข้อมูล : Wikipedia , สำนักหอสมุดกลาง ม.รามคำแหง , นามานุกรมวรรณคดีไทย

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

 

ติดตาม ข่าวล่าสุด พยากรณ์อากาศวันนี้ ได้ที่ TrueID News

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ทุกประเด็นร้อนข่าวสาร สาระ ทันเหตุการณ์ พูดคุยกันได้ 24 ชม.

คลิกเลย >>> TrueID Community <<<

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง