รีเซต

1 กรกฎาคม "วันลูกเสือแห่งชาติ" เปิดประวัติลูกเสือไทย มีความเป็นมาอย่างไร

1 กรกฎาคม "วันลูกเสือแห่งชาติ" เปิดประวัติลูกเสือไทย มีความเป็นมาอย่างไร
TrueID
30 มิถุนายน 2566 ( 09:49 )
2.7K
1 กรกฎาคม "วันลูกเสือแห่งชาติ" เปิดประวัติลูกเสือไทย มีความเป็นมาอย่างไร

วันสำคัญ 1 กรกฎาคม ของทุกปีถือว่าเป็น "วันลูกเสือแห่งชาติ" เป็นวันที่ลูกเสือไทยเกิดขึ้นครั้งแรก เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2454 โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศใช้ข้อบังคับลักษณะปกครองลูกเสือฉบับแรก วันนี้ TrueID จึงจะพาไปรู้จักประวัติลูกเสือไทย ในวันลูกเสือแห่งชาติ 1 กรกฎาคม

 

1 กรกฎาคม "วันลูกเสือแห่งชาติ"

 

ลูกเสือ เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อไหร่

ประวัติวันสำคัญ "ลูกเสือ" ได้กำเนิดครั้งแรกในประเทศอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. 2450 โดยบารอน โรเบิร์ต สตีเฟนสัน สไมธ์ เบเดน โพเอลล์ เรียกชื่อสั้นๆ ว่า ลอร์ด เบเดน โพเอลล์ แห่งกิลเวลล์ หรือบุคคลทั่วไปเรียกชื่อท่านย่อ ๆ ว่า บี.– พี. กิจการลูกเสือในยุคแรกมีจุดประสงค์เพื่อเตรียมคนไว้เป็นทหาร เมื่อครั้งกองทัพอังกฤษ ได้รับชัยชนะจากสงครามบัวร์ ที่เมืองมาฟิคิง ซึ่งเป็นเมืองขึ้นของประเทศอังกฤษ ในสหภาพอาฟริกาใต้ สงครามครั้งนั้น ท่านได้จัดตั้งกองทหารเด็กขึ้นหน่วยหนึ่ง เพื่อใช้เป็นกำลังช่วยเหลือในสงคราม เมื่อกลับจากราชการสงครามที่เมืองมาฟิคิงแล้ว ลอร์ด เบเดน โพเอลล์ ได้ร่างโครงการฝึกอบรมเด็กโดย มีหลักการคล้ายการฝึกอบรมลูกเสือในปัจจุบัน  หลังจากนั้นกิจการลูกเสือได้เริ่มขึ้นอย่างจริงจังเป็นครั้งแรกในโลก

 

 

หลายประเทศที่ไม่มีพระราชบัญญัติเกณฑ์ทหาร จึงได้จัดให้มีลูกเสืออย่างประเทศอังกฤษบ้าง หลังจากนั้นไม่นานกิจการลูกเสือก็ได้แพร่หลายเข้าไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2451 ลอร์ด บาเดน เพาเวลล์ ได้แต่งหนังสือคู่มือการฝึกอบรมลูกเสือขึ้นมาเล่มหนึ่ง มีชื่อว่า Scouting For Boys และคำว่า “Scout” จึงใช้เป็นคำเรียกผู้ที่เป็นลูกเสือซึ่งมีความหมายมาจาก

  • S ย่อมาจาก Sincerity แปลว่า ความจริงใจ
  • C ย่อมาจาก Courtesy แปลว่า ความสุภาพอ่อนโยน
  • O ย่อมาจาก Obedience แปลว่า การเชื่อฟัง
  • U ย่อมาจาก Unity แปลว่า ความเป็นใจเดียวกัน
  • T ย่อมาจาก Thrifty แปลว่า ความประหยัด

 

และในปีนี้เอง ได้มีการจัดตั้งกองลูกเสือขึ้นเป็นกองแรกในประเทศอังกฤษ ซึ่งกิจการลูกเสือได้แพร่หลายอย่างรวดเร็ว จนต่อมาในปี พ.ศ. 2452 พระเจ้าเอ็ดเวิร์ด ที่ 1 ทรงรับอุปภัมภก เมื่อประเทศสหรัฐอเมริกาเห็นความสำคัญและประโยชน์ของลูกเสือ จึงได้ก่อตั้งกองลูกเสือขึ้นเป็นประเทศที่ 2

 

"วันลูกเสือแห่งชาติ" ลูกเสือครั้งแรกของไทย

ในปี พ.ศ. 2454 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศใช้ข้อบังคับลักษณะปกครองลูกเสือฉบับแรก เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2454 ทรงพยายามชี้ทางให้เด็กไทย ดำเนินชีวิตในทางที่ดีงาม เพื่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และบรรพบุรุษ ตลอดจนเพื่อนร่วมชาติของตนในทางที่ถูกที่ควร พระราชทานคำขวัญเสือป่าเป็นคติประจำใจแก่ลูกเสือยึดถือและปฏิบัติว่า “เสียชีพอย่าเสียสัตย์” และทรงรับสั่งว่า “คติประจำใจนี้ไม่ใช่ยึดถือ แต่ในขณะที่แต่งเครื่องแบบลูกเสือเท่านั้นลูกเสือทุกคนจะต้องยึดถือเป็นคติประจำใจไม่ว่าจะอยู่ในเครื่องแต่งตัวอย่างไร” คณะลูกเสือแห่งชาติจึงได้ถือกำเนิดตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) ทรงมีพรมหากรุณาธิคุณ แก่กิจการลูกเสือ ทั้งในส่วนของคณะลูกเสือไทย สำนักงานลูกเสือโลก และสำนักงานลูกเสือภาคพื้นเอเชีย – แปซิฟิก รวมถึงส่งเสริมความสัมพันธ์กับคณะลูกเสือนานาชาติให้เป็นที่ประจักษ์ องค์การลูกเสือโลก จึงทูลเกล้าถวายตำแหน่งหัวหน้าผู้ให้การฝึกอบรมผู้กำกับลูกเสือและเครื่องหมายวูดแบดจ์สี่ท่อนกิตติมศักดิ์ ทูลเกล้าถวายตำแหน่งองค์อุปถัมภ์กิตติมศักดิ์ขององค์การลูกเสือโลก และทูลเกล้าถวายเหรียญสดุดีลูกเสือโลก นับว่าเป็นเกียรติประวัติของคณะลูกเสือแห่งชาติมหาศาล

 

เมื่อกิจการของเสือป่าเจริญก้าวหน้ามั่นคงดีแล้วพระองค์ จึงทรงพระราชดำริว่า ควรจะได้มีการอบรมของเสือป่าด้วย ดังนั้นในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 จึงมีพระบรมราชโองการจัดตั้งลูกเสือขึ้นในประเทศไทยนับเป็นประเทศที่ 3 ของโลกรองจากสหรัฐอเมริกา จากนั้นนานาชาติในยุโรปจึงจัดตั้งกองลูกเสือของตนขึ้น ลูกเสือกลายเป็นองค์การสากลและมีความสัมพันธ์กันทั่วโลก เป็นสื่อผูกมิตรไมตรีกันโดยใช้กฎของลูกเสือ 10 ประการ ผูกสัมพันธ์กันไม่เว้นเชื้อชาติใด ศาสนาใดทั้งสิ้น ถือว่าลูกเสือทั่วโลกเป็นพี่น้องกันหมด โดยลูกเสือกองแรกของไทยตั้งขึ้นที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวงเรียก “ลูกเสือกรุงเทพฯ ที่ 1” ต่อมาขยายตัวออกไปจัดตั้งที่โรงเรียนหรือสถานที่ใดสุดแต่สภากรรมการคณะลูกเสือแห่งชาติจะเห็นสมควร

 

แม้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงสวรรคตแล้วก็ ตาม พระราชอนุสรณ์กิจการลูกเสือของพระองค์ท่านได้พัฒนารุ่งเรืองมาตามลำดับจน เป็นกิจการที่สร้างคุณประโยชน์สร้างชื่อเสียงของประเทศให้ขจรขจายเป็นที่ รู้จักของนานาประเทศทั่วโลก และเพื่อเป็นการระลึกถึงพระองค์ท่าน ทางราชการจึงได้กำหนดวันที่ 1 กรกฎาคมของทุกปีเป็น “วันคล้ายวันสถาปนาคณะลูกเสือแห่งชาติ” หรือ “วันลูกเสือ”

 

กิจกรรมในวันลูกเสือ

  • ทำบุญใส่บาตร เพื่ออุทิศเป็นพระราชกุศลแด่พระองค์ท่านผู้ให้กำเนิดลูกเสือแห่งประเทศไทย
  • จัดนิทรรศการ เผยแผ่ ประวัติความเป็นมาของลูกเสือและผลงานต่างๆ
  • ร่วมกิจกรรมต่างๆในวันลูกเสือ เช่น การนำพวงมาลาไปถวายบังคมที่พระบรมรูปฯ สถานพระบรมราชานุสรณ์ หรือที่ที่ทาง
  • ราชการกำหนด
  • เข้าร่วมกิจกรรมสาธารณประโยชน์ต่างๆ

 

ประเภทของลูกเสือไทย

ทั่วโลกจะมีการแบงประเภทลูกเสือเป็น 2 แบบใหญ่ คือแบบอังกฤษ ซึ่งถือเอาฃแบบแผนตามที่ BP เคยปฏิบัติเอาไว้ กับแบบอเมริกา ซึ่งมีการปรับเปลี่ยนไปเล็กน้อย

  1. ลูกเสือสำรอง เนตรนารีสำรอง
  2. ลกเสือสามัญ เนตรนารีสามัญ
  3. ลกเสอสามัญรุ่นใหญ่ เนตรนารีสามัญรุ่นใหญ่
  4. ลูกเสือวิสามัญ เนตรนารีวิสามัญ

แต่ที่พิเศษประเทศไทยเป็นประเทศเดียวในโลกที่มี ลูกเสือชาวบ้าน

 

ข้อมูล สำนักงานลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 6 , องค์การบริหารส่วนตำบลท่านัด จังหวัดราชบุรี , www.scoutthailand.org

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

ทุกประเด็นร้อนข่าวสาร สาระ ทันเหตุการณ์ พูดคุยกันได้ 24 ชม.

คลิกเลย >>> TrueID Community <<<

 

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง