รีเซต

นาซาร่วมยินดี ยานอวกาศจีนลงจอด 'ดาวเคราะห์แดง' สำเร็จ

นาซาร่วมยินดี ยานอวกาศจีนลงจอด 'ดาวเคราะห์แดง' สำเร็จ
Xinhua
16 พฤษภาคม 2564 ( 22:00 )
144
นาซาร่วมยินดี ยานอวกาศจีนลงจอด 'ดาวเคราะห์แดง' สำเร็จ

 

 

วอชิงตัน, 16 พ.ค. (ซินหัว) -- เมื่อวันเสาร์ (15 พ.ค.) โทมัส ซูร์บูเชน รองผู้บริหารกรมภารกิจวิทยาศาสตร์ (Science Mission Directorate) องค์การนาซา (NASA) ของสหรัฐฯ แสดงความยินดีกับความสำเร็จในภารกิจลงจอดบนพื้นผิวดาวอังคารของยานอวกาศเทียนเวิ่น-1 (Tianwen-1) ของจีน"ขอแสดงความยินดีกับทีม #เทียนเวิ่น1 ขององค์การอวกาศแห่งชาติจีน กับความสำเร็จในภารกิจลงจอดของ #จู้หรง ยานสำรวจพื้นผิวดาวอังคารลำแรกของจีน ผมและชุมชนวิทยาศาสตร์ทั่วโลกต่างตั้งตารอผลการดำเนินงานที่สำคัญของภารกิจนี้ที่จะช่วยเหลือมนุษยชาติในการทำความเข้าใจดาวเคราะห์สีแดง (ดาวอังคาร)" ซูร์บูเชนโพสต์ลงทวิตเตอร์ก่อนหน้านี้ ยานอวกาศ 'เทียนเวิ่น-1' พร้อม 'จู้หรง' ยานสำรวจพื้นผิวดาวอังคารลำแรกของจีน ประสบความสำเร็จในการลงจอดบนดาวอังคาร

 

 

โดยนับเป็นครั้งแรกที่จีนส่งยานสำรวจลงจอดบนดาวเคราะห์ดวงอื่นนอกจากโลก“เทียนเวิ่น-1” ซึ่งประกอบด้วยยานโคจร ยานลงจอด และยานสำรวจพื้นผิว ถูกส่งออกจากศูนย์ปล่อยยานอวกาศเหวินชาง บริเวณริมชายฝั่งมณฑลไห่หนาน (ไหหลำ) ทางตอนใต้ของจีน เมื่อวันที่ 23 ก.ค. 2020 และเข้าสู่วงโคจรพักรอของดาวอังคาร (parking orbit) ในเดือนกุมภาพันธ์เย่เผยเจี้ยน นักวิชาการจากสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน (CAS) ระบุว่านับเป็นครั้งแรกที่มนุษย์ดำเนินการโคจรและลงจอดบนดาวอังคารเสร็จสมบูรณ์ในภารกิจปล่อยยานอวกาศเพียงครั้งเดียว และส่งผลให้จีนก้าวสู่ตำแหน่งแนวหน้าในวงการสำรวจดาวอังคารของโลกทั้งนี้ ยานสำรวจพื้นผิวดาวอังคารถูกเรียกขานว่า “จู้หรง” (Zhurong) ซึ่งเป็นชื่อของเทพแห่งไฟตามตำนานจีนโบราณ ตัวยานติดตั้งเรดาร์เจาะพื้น เลเซอร์ รวมถึงเซ็นเซอร์ตรวจวัดบรรยากาศและสนามแม่เหล็กด้านหลี่ชุนไหล รองหัวหน้าผู้ออกแบบภารกิจสำรวจดาวอังคารครั้งแรกของจีน กล่าวว่าภารกิจการสำรวจดาวอังคารครั้งนี้ไม่เพียงมุ่งตรวจสอบว่ามีหรือเคยมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่บนดาวอังคารหรือไม่ แต่ยังเปิดเผยประวัติศาสตร์วิวัฒนาการและกระแสการพัฒนาของโลกในอนาคต ตลอดจนตรวจสอบความเป็นไปได้ในการสร้างแหล่งที่อยู่อาศัยสำหรับมนุษย์ด้วย

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง