รีเซต

เช็กก่อนกู้เงิน "ยืมเงินผ่านไลน์ ถูกกฎหมาย" จาก "ธนาคารแห่งประเทศไทย" อย่าหลงเชื่อ รีบกู้เงินด่วน

เช็กก่อนกู้เงิน "ยืมเงินผ่านไลน์ ถูกกฎหมาย" จาก "ธนาคารแห่งประเทศไทย" อย่าหลงเชื่อ รีบกู้เงินด่วน
Ingonn
24 มกราคม 2565 ( 08:46 )
13.3K

ต้องการกู้เงินด่วน ยืมเงินออนไลน์ แล้วเจอแหล่งกู้เงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย ให้กู้ยืมเงินผ่านไลน์ หรือแอปพลิเคชันอื่นๆ อย่ารีบคลิกลิ้งค์กู้เงิน เพราะอาจเป็นมิจฉาชีพได้ เนื่องจาก ธนาคารแห่งประเทศไทยไม่เคยให้กู้เงินผ่านไลน์ 

 

 

ตามที่มีการโพสต์และแชร์ข้อความเกี่ยวกับประเด็นเรื่อง ธนาคารแห่งประเทศไทย ให้กู้ยืมเงินผ่าน Application และ Line ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กระทรวงการคลัง พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

 

จากกรณีที่มีการเชิญชวนสมัครกู้ยืมเงินผ่าน Application และ Line ซึ่งกำหนดให้ต้องชำระเงินค่าธรรมเนียมหรือค่าดำเนินการก่อน และมีการส่งเอกสารที่มีการใช้ตราสัญลักษณ์ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ให้ลูกค้านั้น ทางธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กระทรวงการคลัง ได้ตรวจสอบเรื่องดังกล่าวและชี้แจงว่า เอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารปลอม ที่แอบอ้างหน่วยงานที่ไม่มีจริง เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้เหยื่อหลงเชื่อ โดยการสมัครกู้ยืมเงินผ่าน Application และ Line ที่มีการอ้างเอกสารที่ใช้ตราสัญลักษณ์ธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นเอกสารปลอมทั้งสิ้น เนื่องจากธนาคารแห่งประเทศไทยไม่ได้มีการทำธุรกรรมทางการเงิน (ฝาก ถอน โอน หรือให้สินเชื่อ ฯลฯ) โดยตรงกับประชาชนทั่วไป

 

บทสรุปของเรื่องนี้คือ : การสมัครกู้ยืมเงินผ่าน Application และ Line ที่มีการใช้ตราสัญลักษณ์ธปท. เป็นเอกสารปลอม เนื่องจาก ธปท. ไม่ได้มีการทำธุรกรรมทางการเงิน (ฝาก ถอน โอน หรือให้สินเชื่อ ฯลฯ) โดยตรงกับประชาชนทั่วไป

 

หน่วยงานที่ตรวจสอบ : ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กระทรวงการคลัง

 

ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ "แบงก์ชาติ" จึงได้ประชาสัมพันธ์ 5 กลโกงแก๊งมิจฉาชีพที่แอบอ้างแบงก์ชาติเนื่องจาก "แบงก์ชาติไม่ทำธุรกรรมทางการเงินกับประชาชน" หากเจอลิ้งค์กู้เงิน สามารถขอคำแนะนำหรือแจ้งเบาะแสได้ที่ ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โทร 1599 หรือ https://pct.police.go.th/form.php  

5 กลโกงแก๊งมิจฉาชีพที่แอบอ้างแบงก์ชาติ

  1. กลโกงแก๊งมิจฉาชีพที่แอบอ้างแบงก์ชาติ
  2. ใช้ชื่อแบงก์ชาติเพื่อเสนอสินเชื่อ
  3. อ้างว่าแบงก์ชาติ เป็นผู้อนุมัติสินเชื่อ
  4. ใช้โลโก้แบงก์ชาติในเอกสารประกอบการให้กู้
  5. อ้างว่าได้รับวงเงินจากแบงก์ชาติ ให้ปล่อยสินเชื่อ
  6. นียนว่าเป็นบริษัทที่ได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจจากแบงก์ชาติ

 

เช็กก่อนกู้ ไม่ถูกหลอก

ตรวจสอบรายชื่อผู้ให้บริการที่ได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจสินเชื่อจากแบงก์ชาติก่อนกู้เงินทุกครั้งบนเว็บไซต์ของแบงก์ชาติที่ "เช็กแอปเงินกู้" คลิก >>> https://bit.ly/3CBgMMA

 

ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.bot.or.th หรือโทร. 02-283-5353

 

 

 

ข้อมูลจาก Anti-Fake News Center Thailand , ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) 

 

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

ทุกประเด็นร้อนข่าวสาร สาระ ทันเหตุการณ์ พูดคุยกันได้ 24 ชม.

คลิกเลย >>> TrueID Community <<<

 

 

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง