ซานซีบูรณะ 'พระพุทธรูปแกะสลักบนหน้าผา' ยุคราชวงศ์ถัง
ไท่หยวน, 29 ธ.ค. (ซินหัว) -- สถาบันโบราณคดีมณฑลซานซีทางตอนเหนือของจีน เปิดเผยว่าพระพุทธรูปแกะสลักบนหน้าผาท้องถิ่นราว 100 องค์ ได้รับการบูรณะให้กลับมาเห็นอีกครั้ง หลังจากคณะนักโบราณคดีกระเทาะดินและหินที่ปิดคลุมอยู่ออก
หน้าผาดังกล่าวตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเฟินเหอ ห่างจากเมืองฮั่วโจวไปทางตะวันตกเฉียงใต้ 7 กิโลเมตร พระพุทธรูปจำนวนนี้ถูกแกะสลักตามหน้าผายาวราว 30 เมตร ส่วนสูงที่สุดอยู่เหนือพื้นดินราว 11 เมตร โดยเริ่มแกะสลักในสมัยราชวงศ์ถัง (ปี 618-907)ไป๋สู่จาง เจ้าหน้าที่สถาบันฯ กล่าวว่าพระพุทธรูปทั้งหมด 300 องค์ ในโพรงมากกว่า 70 แห่ง ถูกแกะสลักไว้บนหน้าผาแห่งนี้ และการดำเนินงานครั้งล่าสุดสามารถบูรณะพระพุทธรูปได้ราว 1 ใน 3 ของทั้งหมด โดยพระพุทธรูปเหล่านี้มอบข้อมูลสำคัญสำหรับการศึกษาวิวัฒนาการงานประติมากรรมสมัยราชวงศ์ถัง (ภาพจากสถาบันโบราณคดีมณฑลซานซี : รูปแกะสลักเจ้าแม่กวนอิม 11 หน้า ในมณฑลซานซีทางตอนเหนือของจีน)[/caption]