รีเซต

จีนปล่อย 'ปลาสเตอร์เจียน-ปลาหายาก' ลงแม่น้ำแยงซี

จีนปล่อย 'ปลาสเตอร์เจียน-ปลาหายาก' ลงแม่น้ำแยงซี
Xinhua
3 มีนาคม 2566 ( 20:01 )
100
จีนปล่อย 'ปลาสเตอร์เจียน-ปลาหายาก' ลงแม่น้ำแยงซี

หนานจิง, 3 มี.ค. (ซินหัว) -- จีนได้ปล่อยปลาสเตอร์เจียนจีนเพาะเลี้ยง จำนวน 300 ตัว พร้อมพันธุ์ปลาหายากชนิดอื่นๆ ลงสู่แม่น้ำแยงซี แม่น้ำสายยาวที่สุดของจีน ในนครหนานจิง เมืองเอกของมณฑลเจียงซูทางตะวันออกของประเทศ

รายงานระบุว่านับเป็นครั้งแรกที่จีนปล่อยปลาสเตอร์เจียนจีน ซึ่งเป็นสายพันธุ์สัตว์คุ้มครองระดับสูงสุด ลงสู่แม่น้ำแยงซี ส่วนหนานจิง ทั้งยังได้ปล่อยปลากระบอกอีกราว 4,000 ตัว ซึ่งเป็นสายพันธุ์สัตว์คุ้มครองระดับสอง ลงสู่แม่น้ำ

ในเวลาเดียวกันปลาสเตอร์เจียนจีนที่ถูกปล่อยเหล่านั้นเติบโตจากการเพาะพันธุ์เทียม โดยทั่วไปมีอายุ 15 เดือน และขนาดลำตัวยาว 50-80 เซนติเมตร โดยปลาสเตอร์เจียนจีนแต่ละตัวได้รับการฝังทรานสปอนเดอร์ (transponder) หรือเครื่องมือส่งข้อมูลที่ไม่เป็นอันตราย เพื่อติดตามตำแหน่งของพวกมันในกรณีถูกจับโดยไม่เจตนา

อนึ่ง ปลาสเตอร์เจียนจีน ซึ่งมีชื่อเล่นว่า "แพนด้าน้ำ" นั้นปรากฏอยู่มานานกว่า 140 ล้านปี ทว่าประชากรของปลาสายพันธุ์สำคัญในแม่น้ำแยงซีนี้กลับลดฮวบช่วงปลายศตวรรษที่ 20 เนื่องจากการทำกิจกรรมรุกรานของมนุษย์

เลี่ยวเสี่ยวหลิน นักวิจัยจากสถาบันอุทกวิทยา สังกัดกระทรวงทรัพยากรน้ำและสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน กล่าวว่าการปล่อยปลาสเตอร์เจียนจีนผสมพันธุ์เทียมนั้นเอื้อต่อการแพร่ขยายพันธุ์และการฟื้นตัวของประชากรสายพันธุ์สัตว์ป่าในแม่น้ำแยงซี

ทั้งนี้ กลุ่มประชากรสัตว์น้ำหายากในแม่น้ำแยงซีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลังคำสั่งห้ามจับปลาตามน่านน้ำสำคัญของลุ่มแม่น้ำแยงซี ระยะ 10 ปี มีผลบังคับใช้เมื่อปี 2021 โดยผลการตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์ของกระทรวงเกษตรและกิจการชนบทของจีน ในปี 2022 พบจำนวนโลมาหัวบาตรหลังเรียบแยงซี ทะลุ 1,200 ตัว เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.42 จากเมื่อ 5 ปีก่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง