รีเซต

เช็ก! สำรวจพฤติกรรม "ผู้สัมผัสเสี่ยงสูง" ใกล้ชิดคนติดโควิด เสี่ยงติด "โอมิครอน" ต้องทำอย่างไร

เช็ก! สำรวจพฤติกรรม "ผู้สัมผัสเสี่ยงสูง" ใกล้ชิดคนติดโควิด เสี่ยงติด "โอมิครอน" ต้องทำอย่างไร
Ingonn
2 กุมภาพันธ์ 2565 ( 11:43 )
653

บางครั้งเราอาจเผลอไปใกล้ชิดคนที่ติดเชื้อโควิด-19 แบบไม่รู้ตัว จนทำให้เราต้องกลายเป็น "กลุ่มเสี่ยงสูง" ที่อาจจะติดโควิด-19 ได้ โดยเฉพาะโควิดสายพันธุ์ใหม่ "โอมิครอน" ที่ติดง่ายขึ้นกว่าเดิม การฟักตัวของเชื้อค่อนข้างสั้น ทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อในไทยเริ่มเพิ่มมากขึ้น หากเราเกิดใกล้ชิดคนติดโอมิครอนขึ้นมา จะรักษาตัวอย่างไร เช็กขั้นตอนได้ที่นี่

 

ผู้สัมผัสเสี่ยงสูง คืออะไร

ผู้สัมผัสใกล้ชิดเสี่ยงสูง คือ ผู้ที่ไม่สวมหน้ากากอนามัยหรือใส่ไม่ถูกต้อง รวมถึงบุคลากรทางการแพทย์ที่ไม่สวมชุดป้องกัน และมีการสัมผัส 3 กรณี

  1. กล้ชิดผู้ติดเชื้อหรือเข้าข่ายว่าติดเชื้อตั้งแต่วันที่เริ่มป่วยหรือ 3 วันก่อนเริ่มป่วย
  2. อยู่ใกล้หรือพูดคุยกับผู้ติดเชื้อในระยะ 2 เมตรนานกว่า 5 นาที หรือถูกไอจามใส่
  3. อยู่ในสถานที่ปิด ไม่มีอากาศถ่ายเทมากนัก ร่วมกับผู้ป่วยนานกว่า 30 นาที

 

โดยแนวปฏิบัติตามมาตรการป้องกันควบคุมโรคสำหรับผู้สัมผัสใกล้ชิดเสี่ยงสูง เรียกว่ามาตรการ "7+3" คือกักตัวที่บ้าน 7 วัน สังเกตอาการตนเองอีก 3 วัน และตรวจ ATK 2 ครั้ง จากเดิมให้กักตัว 14 วัน แต่เนื่องจาก "โอมิครอน" มีระยะฟักตัวค่อนข้างสั้น ประกอบกับมีการตรวจหาเชื้อด้วย ATK และ RT-PCR กระจายทั่วถึงทั้งประเทศ และฉีดวัคซีนครอบคลุมทั้งประเทศมากกว่า 70% จึงช่วยให้พิจารณาลดระยะกักตัวลงเหลือ 7 วันและสังเกตอาการ 3 วันได้

 

ขั้นตอนการดูแลตนเองหากเข้าข่ายผู้สัมผัสใกล้ชิดเสี่ยงสูง

  1. ตรวจสอบอาการตนเองหรือเช็กประวัติการสัมผัสใกล้ชิด หากสัมผัสมาเกิน 10 วันถือว่าพ้นความเสี่ยง แต่หากอยู่ในช่วง 10 วัน ต้องดูว่าใกล้ชิดจากอะไร

  2. ปฏิบัติตามมาตรการ Universal Prevention ป้องกันตนเองสูงสุด เว้นระยะห่าง สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา 100%

  3. กักตัวเองที่บ้าน แยกเครื่องใช้ส่วนตัว สำรับอาหาร ไม่คลุกคลีใกล้ชิด งดทำกิจกรรมร่วมกับคนในครอบครัว และแจ้งทุกคนที่บ้านทราบ หากไม่สามารถแยกห้องนอนได้ ให้เว้นพื้นที่นอนมากขึ้น

  4. ตรวจหาเชื้อด้วย ATK ครั้งที่ 1 ในช่วงวันที่ 5-6 หลังสัมผัสผู้ติดเชื้อครั้งสุดท้าย 

  5. หากผลเป็นลบให้กักตัวเองที่บ้านจนครบ 7 วัน 

  6. เฝ้าระวังสังเกตอาการ 3 วัน สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา เลี่ยงการออกนอกบ้าน กรณีจำเป็นต้องไปทำงานหรือออกนอกบ้าน ให้เลี่ยงการใช้สถานที่สาธารณะและขนส่งสาธารณะ งดร่วมกิจกรรมกับกลุ่มคนจำนวนมาก

  7. ตรวจ ATK ครั้งที่ 2 ในวันที่ 10 นับจากวันสุดท้ายที่สัมผัสผู้ป่วยหรือกลับจากสถานที่เสี่ยง

  8. หากผลเป็นลบจะจบขั้นตอนมาตรการ 7+3 

  9. หากผลตรวจ ATK เป็นบวก กรณีไม่มีอาการป่วยหรือป่วยเล็กน้อยให้โทร 1330 สปสช. จะมีการปรับให้เป็นการแยกกักที่บ้าน รับเครื่องตรวจวัดออกซิเจน ยาฟาวิพิราเวียร์ มีผู้ประสานโทรติดตามอาการป่วย

  10. หากมีอาการป่วย เช่น ไอ หอบเหนื่อย หายใจไม่ออก แน่นหน้าอกมาก จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส ให้โทรประสานผู้ติดตามอาการ หรือประสานพบแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษา

 

ตรวจ ATK ให้เจอโอมิครอน

ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคโควิด-19 และมีอาการเล็กน้อย หากผลตรวจไม่พบเชื้อ ให้ตรวจซ้ำ 3-5 วันถัดมา ระหว่างนี้ให้แยกกักตัว หากมีอาการรุนแรง ควรไปสถานพยาบาลเพื่อตรวจหาเชื้อด้วยวิธีมาตรฐาน RT-PCR เพื่อยืนยันผลอีกครั้ง สำหรับชุดตรวจ ATK ที่ผ่าน อย. ไม่ว่าจะติดเชื้อสายพันธุ์ไหนก็ตรวจเจอ แม้ไม่ได้ระบุสายพันธุ์ ซึ่งผลก็ไม่ต่างกัน และมีการตรวจสอบทดลอง ทุกยี่ห้อที่นำเข้ามา

 

โดยชุดตรวจ ATK ที่ทาง อย.  ประกาศอนุมัติ เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2565 ที่ผ่านมานั้นมีทั้งหมด 354 รายการ โดยเป็น ชุดตรวจด้วยตนเอง 194 รายการ   (สามารถดูได้ที่ https://drive.google.com/.../1Nk-QNSgDzZE_vaIHwEuC.../view)  และ ชุดตรวจโดยบุคลากรทางการแพทย์ 160 รายการ (https://drive.google.com/.../1qw.../view

 

วิธีใช้ ATK ตรวจโควิด-19 ด้วยตนเอง

ชุดตรวจ Antigen Test Kit หรือ ATK 1 ชุด ประกอบด้วย แผ่นทดสอบ หลอดดูด น้ำยา ก้าน swap และหลอดตัวอย่าง

วิธีใช้ คือ

  1. เทน้ำยาลงในหลอดตัวอย่างให้ถึงจุดที่กำหนด
  2. นำก้าน swap แหย่จมูก หมุน 3-4 ครั้ง ค้างไว้ 3 วินาที
  3. นำก้าน swap ใส่หลอด หมุนวนในน้ำยาประมาณ 5 ครั้ง
  4. นำหลอดดูน้ำยา หยดลงช่องประมาณ 2-3 หยด
  5. ถ้าขึ้น 2 แถบ ที่ C และ T แสดงว่า ติดเชื้อโควิด-19

 

วิธีอ่านค่าผลตรวจ ATK

  • ผลลบ (Negative) : แถบสีปรากฏเฉพาะตำแหน่ง C
  • ผลบวก (Positive) : แถบสีปรากฏทั้งตำแหน่ง C และ T เป็น 2 ขีด

 

กรณีไม่มีแถบ C ขึ้น แสดงว่าชุดตรวจอาจมีปัญหา ใช้งานไม่ได้ควรตรวจซ้ำใหม่อีกครั้ง หากผลตรวจเป็นบวก (ติดเชื้อ) ควรตรวจด้วย RT-PCR เพื่อยืนยันตามขั้นตอน หากมีผลเป็นลบ (ไม่ติดเชื้อ) ควรทดสอบด้วยชุดตรวจ ATK อีกครั้งใน 3-5 วัน หากมีความเสี่ยงสูงควรตรวจยืนยันด้วย RT-PCR

 

นอกจากนี้กระทรวงสาธารณสุข เผยสถานการณ์โควิด 19 ค่อนข้างคงตัว คาดพ้นการระบาดใหญ่ภายในปีนี้ ด้วย 3 ปัจจัย คือ เชื้อกลายพันธุ์ไม่รุนแรงเพิ่มขึ้น อัตราป่วยคงที่ และคาดการณ์การระบาดได้ ส่วนจะเป็นโรคประจำถิ่น โรคติดต่อทั่วไป หรือโรคตามฤดูกาล ขึ้นกับนิยามที่แตกต่างกัน 

 

ข้อมูลจาก กระทรวงสาธารณสุข 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

ทุกประเด็นร้อนข่าวสาร สาระ ทันเหตุการณ์ พูดคุยกันได้ 24 ชม.

คลิกเลย >>> TrueID Community <<<

 

 

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง