รีเซต

ซีอีโอเครือซีพี “ศุภชัย เจียรวนนท์” มอบรางวัลเกียรติยศ “ซีพีเพื่อความยั่งยืน 2022” แก่ผู้บริหารและพนักงานจาก 10 ประเทศทั่วโลกที่พัฒนา 122 โครงการดีเด่นด้านความยั่งยืน

ซีอีโอเครือซีพี “ศุภชัย เจียรวนนท์”  มอบรางวัลเกียรติยศ “ซีพีเพื่อความยั่งยืน 2022”  แก่ผู้บริหารและพนักงานจาก 10 ประเทศทั่วโลกที่พัฒนา 122 โครงการดีเด่นด้านความยั่งยืน
TNN ช่อง16
6 ธันวาคม 2565 ( 18:34 )
102

ซีอีโอเครือซีพี “ศุภชัย เจียรวนนท์”  มอบรางวัลเกียรติยศ “ซีพีเพื่อความยั่งยืน 2022”  แก่ผู้บริหารและพนักงานจาก 10 ประเทศทั่วโลกที่พัฒนา 122 โครงการดีเด่นด้านความยั่งยืน  ยกย่องเชิดชูเป็นฮีโร่ต้นแบบ พร้อมประกาศนโยบายให้ทุกกลุ่มธุรกิจเร่งเครื่องสู่ความยั่งยืน นอกจากการมุ่งเป้าฯสู่ Net Zero  ต้องโฟกัสด้านการศึกษาเพื่อช่วยสังคมสร้างคนรุ่นใหม่เปลี่ยนแปลงประเทศและโลกของเราสู่ความยั่งยืน

6 ธันวาคม 2565 – เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) จัดพิธีมอบรางวัล “โครงการซีพีเพื่อความยั่งยืน 2022”  เพื่อยกย่องเชิดชูผู้บริหารและพนักงานเครือซีพีทั่วโลกที่ได้ทำโครงการต้นแบบด้านความยั่งยืน ช่วยแก้ปัญหาและยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในสังคม ชุมชนและกลุ่มคนเปราะบางให้มีความเป็นอยู่ดีขึ้น สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของเครือฯ  โดยมอบรางวัลให้แก่บุคคลต้นแบบที่ดำเนินโครงการด้านความยั่งยืนจาก 10 ประเทศทั่วโลกรวมทั้งสิ้น 122 โครงการ  ประกอบด้วย โครงการที่ได้รับคัดเลือกในปี 2020 จำนวน  59 โครงการและโครงการที่ได้รับคัดเลือกในปี 2022 จำนวน 63 โครงการ โดยมีนายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ เป็นผู้มอบประกาศนียบัตรซีพีเพื่อความยั่งยืน พร้อมกันนี้ซีอีโอ เครือซีพีได้ยกย่องผู้บริหารและพนักงานกว่า 300 คนที่ได้รับรางวัลซีพีเพื่อความยั่งยืนว่าเป็นบุคคลต้นแบบและเป็นผู้นำในการขับเคลื่อนด้านความยั่งยืนของเครือซีพี  นอกจากนี้ซีอีโอเครือซีพียังประกาศให้ทุกกลุ่มรวมพลังนำองค์กรก้าวสู่เป้าหมายเพื่อความยั่งยืน โดยนอกจากเป้าหมายความยั่งยืนด้านการเป็นองค์กรที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หรือ Net Zero ภายในปี 2050 แล้วนั้น ซีอีโอเครือซีพีได้มุ่งเน้นให้ทุกกลุ่มธุรกิจในเครือรวมพลังพัฒนาด้านการศึกษา เพื่อเป็นการสร้างคนรุ่นใหม่มาเป็นพลังขับเคลื่อนความยั่งยืนให้กับประเทศไทยและโลกใบนี้ 

ทั้งนี้ในพิธีมอบรางวัลซีพีเพื่อความยั่งยืน มีซีอีโอและผู้บริหารจากกลุ่มธุรกิจต่าง ๆ คณะกรรมการพิจารณาตัดสินรางวัลทั้งจากภายในและภายนอกองค์กรร่วมเป็นเกียรติและแสดงความยินดี อาทิ  ดร.เพิ่มศักดิ์ มกราภิรมย์ ที่ปรึกษาศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี ม.มหิดล นายบุญชัย โอภาสเอี่ยมลิขิต ประธานธุรกิจ-สหรัฐอเมริกา เครือเจริญโภคภัณฑ์ นายประสิทธิ์ ดำรงชิตานนท์ รองประธานกรรมการ กลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร ข้าว ขนส่งและบริการ นายจิระศักดิ์ เสงี่ยมกิตติกุล ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์วิศวกรรม จำกัด นางพัชรี คงตระกูลเทียน หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านกำกับการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ สำนักกำกับการปฏิบัติตามกฏเกณฑ์ เครือเจริญโภคภัณฑ์ และดร.ธีระพล ถนอมศักดิ์ยุทธ ประธานคณะผู้บริหารด้านยุทธศาสตร์ข้อมูลและการสื่อสาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ ณ ห้องแกรนด์ฮอลล์ ทรู ดิจิทัล พาร์ค เวสต์ กรุงเทพฯ

นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ ได้กล่าวแสดงความยินดีกับผู้บริหารและพนักงานเครือซีพีทีได้รับรางวัลซีพีเพื่อความยั่งยืน และยกย่องให้เป็นฮีโร่หรือคนต้นแบบในการขับเคลื่อนด้านความยั่งยืนของเครือซีพี  ทั้งนี้ได้กล่าวตอกย้ำด้วยว่าเครือซีพีดำเนินธุรกิจใน 21 ประเทศทั่วโลกภายใต้หลักปรัชญา 3 ประโยชน์มาตลอดกว่าหนึ่งศตวรรษ  และมีเป้าหมายความยั่งยืนสู่ปี 2030 ภายใต้ 3 เสาหลักคือ Heart : เศรษฐกิจ  - Health : สังคม  – Home : สิ่งแวดล้อม  โดยมีเป้าหมายสู่การเป็นบริษัทแถวหน้าของโลกในด้านการความยั่งยืน ซึ่งมีความท้าทายคือการนำการเครือซีพีและทุกกลุ่มธุรกิจสู่การเป็นองค์กรที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หรือ Net Zero ภายในปี 2050  นอกเหนือจากนี้ซีอีโอ เครือซีพีได้ประกาศให้ทุกกลุ่มธุรกิจรวมพลังขับเคลื่อนด้านความยั่งยืนเน้นหนักไปที่การพัฒนาด้านการศึกษา เพราะการศึกษาจะสร้างเด็กให้เป็นคนรุ่นใหม่ที่สร้างความเปลี่ยนแปลงและทำให้การขับเคลื่อนสู่เป้าหมายความยั่งยืนสำเร็จทั้งในระดับประเทศและระดับโลก

 

นายศุภชัย ระบุว่าในปี 2023-2035 โลกจะเผชิญกับความท้าทายที่เป็นเมกะเทรนด์ทั้งหมด 6 ด้าน ประกอบด้วย 1.ความเหลื่อมล้ำ 2. การเปลี่ยนสู่ดิจิทัลและพลังงาน 3.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 4.ภาวะเงินเฟ้อรุนแรง 5. โลก 2 ขั้วอำนาจ และ6.การเผชิญในเรื่องสุขภาพและโรคระบาดใหม่ที่อาจจะเกิดขึ้นและส่งผลกระทบต่อโลก ดังนั้นการทำธุรกิจของเครือซีพีจะต้องคำนึงถึงความยั่งยืนให้เป็นเนื้อเดียวกับธุรกิจในทุกมิติทั้งสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม  จึงต้องได้รับความร่วมมือจากผู้บริหาร พนักงาน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนในการขับเคลื่อนความยั่งยืน เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงทางบวกและละนำพาองค์กรติดท๊อป 20 องค์กรด้านความยั่งยืนของโลกให้ได้

"ในชีวิตคนเรามักให้ความสำคัญกับความมั่นคงของชีวิตและความฝันของเราเสมอ แต่เรามักจะลืมไปว่า สิ่งสำคัญที่สุดในชีวิตที่ทำให้เกิดความมั่นคงและพลังที่จะช่วยทำความฝันอันยิ่งใหญ่ของเราให้สำเร็จได้จริง คือ รักแท้ (ความเห็นอกเห็นใจ) รักแท้ทำให้เราเห็นและยอมรับในความแตกต่าง เชื่อมเราเข้ากับความเป็นจริงและทุกสิ่งทุกอย่างได้ ซึ่งรวมไปถึงตัวตนที่แท้จริงของเรา และช่วยให้เราสนุกไปกับชีวิตที่แสนงดงามนี้ไปด้วยกัน ทั้งนี้ขอชื่นชมผู้บริหารและพนักงานซีพีทีได้รับรางวัลโครงการซีพีเพื่อความยั่งยืนในครั้งนี้ ทุกคนถือเป็นฮีโร่เป็นต้นแบบของชาวซีพี ขอให้ตั้งมั่นในเป้าหมายในการขับเคลื่อนงานด้านความยั่งยืน ในขณะเดียวกันต้องสนับสนุนการศึกษา สร้างวัฒนธรรมที่ดีให้กับคนรุ่นใหม่ เพราะพวกเขาคืออนาคตสร้างการเปลี่ยนแปลงทางบวกให้กับโลกของเราในทุกมิติ" นายศุภชัย กล่าวปิดท้ายเพื่อสร้างแรงบันดาลให้แก่ฮีโร่ด้านความยั่งยืนของเครือฯ

นางพัชรี คงตระกูลเทียน ในฐานะผู้แทนคณะกรรมการอำนวยการโครงการซีพีเพื่อความยั่งยืน กล่าวว่า  โครงการซีพีเพื่อความยั่งยืน ริเริ่มขึ้นในปี 2016 จากวิสัยทัศน์ของซีอีโอเครือซีพีศุภชัย เจียรวนนท์ ที่ให้ความสำคัญในการส่งเสริมให้ผู้บริหารและพนักงานเครือซีพีในทุกกลุ่มธุรกิจทั่วโลกสืบทอดแนวทางปรัชญา 3 ประโยชน์ผนึกกำลังทำความดีร่วมแก้ปัญหาสังคม ชุมชนและกลุ่มเปราะบาง เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ทีดีขึ้นให้กับผู้คนในทุกประเทศที่เครือฯเข้าไปลงทุน โดยการมอบรางวัลในครั้งนี้จึงเป็นการแสดงความยกย่องและเชิดชูโครงการต้นแบบและเป็นกำลังใจให้กับพนักงานเครือซีพีที่ได้ตั้งใจและทุ่มเทร่วมแก้ปัญหาและบรรเทาความเดือดร้อนให้คนในสังคมได้อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งจัดให้มีการคัดเลือกผลงานโดดเด่นเป็นประจำทุก 2 ปี โดยมีโครงการที่ได้รับการกลั่นนกรองจากคณะกรรมการทั้งภายในและภายนอกได้รับรางวัลในครั้งนี้รวม 122 โครงการ จากทั้งหมด 663 โครงการใน 15 ประเทศที่เครือฯเข้าไปดำเนินธุรกิจ  ประกอบด้วย 1.โครงการส่งเสริมการสร้างงานสร้างอาชีพ   34 โครงการ 2.โครงการส่งเสริมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม   26 โครงการ 3.โครงการส่งเสริมการศึกษา 24 โครงการ 4.โครงการส่งเสริมการสร้างคุณค่าทางสังคม   23 โครงการ และ5.โครงการส่งเสริมสุขภาพอนามัย 15 โครงการ โดยเป็นโครงการจากประเทศไทย 79 โครงการ  และโครงการจากต่างประเทศ 43 โครงการ แบ่งเป็นเขตประเทศจีนได้มากที่สุดถึง  24 โครงการ เวียดนาม 8 โครงการ ลาว 3 โครงการ มาเลเซีย กัมพูชาประเทศละ 2 โครงการ และอเมริกา อินเดีย ฟิลิปปินส์ เมียนมาร์ ประเทศละ 1 โครงการ

ด้าน ดร.เพิ่มศักดิ์ มกราภิรมย์ ที่ปรึกษาศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี ม.มหิดล หนึ่งในคณะกรรมการกลั่นกรองโครงการซีพีเพื่อความยั่งยืน กล่าวว่า ผมเห็นความมุ่งมั่นตั้งใจของพนักงานเครือซีพี ในการทำโครงการที่ตั้งอยู่ในฐานคิดที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมในหลายมิติของความยั่งยืน จุดเด่นที่เห็นได้ชัดคือการสร้างความร่วมมือในหลายภาคส่วนเพื่อแก้ปัญหาให้กับคนในชุมชนทั้งภาครัฐ ภาคประชาสังคม ด้วยการทำโครงการที่ลงลึกมากขึ้น และครอบคลุมหลายมิติที่เป็นประเด็นเร่งด่วนต้องร่วมกันหาทางออกทั้งประเด็นด้านการศึกษา การสร้างงานสร้างอาชีพฝึกทักษะให้คนในชุมชน การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การสร้างสุขอนามัยที่ดี สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่เครือซีพีมุ่งมั่นนำศักยภาพของเครือฯ สร้างการเปลี่ยนแปลง สร้างความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นให้คนในสังคม ทั้งนี้ชื่นชมเครือซีพีที่เปิดโอกาสให้พนักงานในเครือฯ ได้สร้างประโยชน์ให้แก่คนในประเทศไปพร้อมกับการเติบโตของการดำเนินธุรกิจ ขอเป็นกำลังใจให้พนักงานซีพีพัฒนาและขยายผลโครงการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นต่อชุมชน สังคมและประเทศชาติ ผมเชื่อมั่นว่าธุรกิจจะมั่นคงได้ ชุมชนและสังคมจะต้องมั่นคงควบคู่ด้วยถึงจะเกิดความยั่งยืนอย่างแท้จริง

นอกจากนี้ในช่วงวิกฤตโควิด-19 เครือซีพีได้รวมพลังกลุ่มธุรกิจในเครือทั้งในประเทศและต่างประเทศทำโครงการช่วยเหลือคนในสังคมตามนโนยายของท่านประธานอาวุโส ธนินท์ เจียรวนนท์ ที่มีความตั้งใจและเร่งให้ทุกกลุ่มธุรกิจในเครือฯระดมสรรพกำลังให้ความช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนให้คนในสังคมให้ผ่านพ้นวิกฤตในช่วงที่ผ่านมา  ประกอบด้วย โครงการโรงงานหน้ากากอนามัยฟรี เพื่อบุคลากรทางการแพทย์ โรงพยาบาล และประชาชนทั่วไป  โครงการครัวปันอิ่ม ร้อยเรียงใจ สู้ภัยโควิด-19 และโครงการซีพีปันปลูกฟ้าทะลายโจร นับเป็นการสะท้อนต้นแบบความมุ่งมั่นและตั้งใจจริงของผู้บริหารและพนักงานในเครือฯ รวมพลังทำความดีพร้อมสร้างประโยชน์ให้กับประเทศชาติ สังคมก่อนองค์กรตามปรัชญา “3 ประโยชน์” ของเครือซีพี

 

สำหรับการมอบรางวัลโครงการซีพียั่งยืนในครั้งนี้เป็นการมอบรางวัลแก่โครงการซีพียั่งยืนทีได้รับคัดเลือกในปี 2020 และปี 2022 โดยปี 2020  มีจำนวนโครงการที่ได้รับรางวัลรวม 59 โครงการ ประกอบด้วย โครงการที่ดำเนินการโดยกลุ่มธุรกิจในประเทศไทย  39 โครงการ ได้แก่ เครือเจริญโภคภัณฑ์ 6 โครงการ อาทิ ส่งเสริมการอนุรักษ์และอาชีพประมงพื้นบ้านปลาตะกรับ  โครงการสร้างป่าสร้างรายได้บ้านสบขุ่น (สบขุ่นโมเดล)  ซีพีเอฟ 10 โครงการ อาทิ ซีพีเอฟ อิ่ม สุข ปลูกอนาคต : โรงเรียนบ้านใหม่สำโรง น้ำดื่มชุมชน  ซีพีออลล์ 12 โครงการ อาทิ CP ALL x Art Story ศูนย์กระจายพันธุ์ไม้หายากของชุมชน กลุ่มทรู 6 โครงการ อาทิ การพัฒนาระบบดิจิทัล เพื่อกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ชุมชน Universal Design QR-Code แม็คโคร 2 โครงการ ได้แก่ ลำไยปันสุข คืนสุขสู่ชุมชน และพัฒนาเกษตรกรชาวเขา เพื่อชีวิตที่ดีกว่า พีซีจี 1 โครงการ ได้แก่ แม็กซ์วินเพื่อสังคมม้าอันยั่งยืน ซีพีแลนด์ 1 โครงการ ได้แก่ Care the Whale กำจัดขยะให้หายไป ซีพีพี 1 โครงการ ได้แก่ ธรรมขาติปลอดภัยแม่แจ่ม โครงการที่ดำเนินการโดยกลุ่มธุรกิจในต่างประเทศอีก 20 โครงการ ได้แก่ เวียดนาม 4 โครงการ อาทิ โภชนาการพอเพียง ปลูกป่าเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน ลาว 1 โครงการ ได้แก่ Give Blood Give Life กัมพูชา 1 โครงการ ได้แก่  สร้างห้องน้ำให้น้อง ฟิลิปปินส์ 1 โครงการ ได้แก่ Fish Culture Project อินเดีย 1 โครงการ ได้แก่ Increase the fisher women income by drying their fishes using solar dryer tunnel สหรัฐอเมริกาฯ 1 โครงการ ได้แก่ศูนย์บริการเพื่อสุขภาพ 

ในส่วนของโครงการซีพียั่งยืนทีได้รับคัดเลือกในปี 2022 มีจำนวนทั้งสิ้น 63 โครงการ ประกอบด้วย โครงการที่ดำเนินการโดยกลุ่มธุรกิจในประเทศไทย  39 โครงการ ได้แก่ เครือเจริญโภคภัณฑ์ 11 โครงการ อาทิ น้ำพางโมเดล “บทพิสูจน์ความยั่งยืนจากความร่วมมือภาคประชาชน” อ.แม่จริม จ.น่าน ศูนย์ฝึกอาชีพเยาวชนเกษตร จังหวัดเพชรบุรี  เลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวัน  ซีพีเอฟ 12 โครงการ  อาทิ  ฟาร์มพอเพียง ซีพีเอฟอิ่มสุขปลูกอนาคตโรงเรียนท่าจีนอุดมศึกษา  ซีพี ออลล์ 3 โครงการ อาทิ PIM ส่งรอยยิ้มสู่ยอดดอย เครือข่ายสร้างสุขสู่ปลายด้ามขวาน กลุ่มทรู 7 โครงการ อาทิ รู้เร็ว รักษาเร็ว เข้าถึงโอกาสพัฒนาคุณภาพชีวิต StS screening tools  ผู้นำด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ICT Talent  แม็คโคร 3 โครงการ อาทิ Makro รักษ์โลก-ขวดเปล่า ไม่ให้สูญเปล่า  โลตัส 2 โครงการ ได้แก่ ถุงคืนชีพ สร้างอาชีพ Boxes to Beds  ส่วนกลุ่มธุรกิจในต่างประเทศรวม 24 โครงการ ได้แก่โครงการจากเขตประเทศจีน 14 โครงการ อาทิ มอบความรักแก่เด็กออทิสติก เขตกุ้ยหลิน พัฒนาพื้นที่เลี้ยงหมูแก้ปัญหาความยากจนเขตกว่านซู่   เวียดนาม 4 โครงการ อาทิ จากอาหารแห่งความห่วงไปสู่ธนาคารอาหารเวียดนาม ชมรมครอบครัว CPV  มาเลเซีย 2 โครงการ ได้แก่ Food Waste Reduction Program  และSchool Adoption Program  ลาว 2 โครงการ ได้แก่ เลี้ยงไก่เพื่ออาหารกลางวันโรงเรียนเด็กกำพร้า แขวงหลวงพระบาง และ แลกเปลี่ยนเรียนรู้สู่มหาวิทยาลัย กัมพูชา 1 โครงการ ได้แก่ พลังงานสะอาดเพื่อสิ่งแวดล้อม และเมียนมาร์ 1 โครงการ ได้แก่ Your Health Is Our Heart 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง