รีเซต

ฤดูร้อนสิ้นสุด 30 เมษายน เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำเสี่ยงฝนทิ้งช่วง

ฤดูร้อนสิ้นสุด 30 เมษายน เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำเสี่ยงฝนทิ้งช่วง
TNN ช่อง16
22 เมษายน 2567 ( 12:54 )
90

ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า กระทรวงเกษตรฯ ได้ติดตามช่วงท้ายฤดูแล้งปี 2566/67 อย่างใกล้ชิด ในช่วงรอยต่อเดือนพฤษภาคม ที่จะเข้าสู่ฤดูฝน อีกทั้งเป็นช่วงการเพาะปลูก ที่ยังมีความเสี่ยงกรณีภาวะฝนทิ้งช่วง จึงกำชับกรมชลประทานให้ดูแลสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด ไม่ให้กระทบกับเกษตรกรและผู้ใช้น้ำ อย่างไรก็ตาม ในช่วงฤดูแล้งปี 2566/67 ที่จะสิ้นสุดลงใน วันที่ 30 เมษายนนี้ พบว่าการบริหารจัดการน้ำของกรมชลประทานทั้งประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย.2566 - ปัจจุบัน ใช้น้ำไปแล้วกว่า 21,000 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ  85  ของแผนจัดสรรน้ำ 


ส่วนในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยา คือเขื่อนภูมิพล สิริกิติ์ แควน้อยบำรุง แดน ป่าสักชลสิทธิ์  ใช้น้ำไปแล้วประมาณ 7,600 ล้าน,กบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 88 ของแผนจัดสรรน้ำ ผลการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งทั้งประเทศ จำนวนดว่า  13  ล้านไร่ คิดเป็น ร้อยละ 122 ของแผน โดยพื้นที่ปลูกข้าวรอบที่ 2 เกินกว่าแผน รวม 55 จังหวัด กว่าแผนกว่า 4  ล้านไร่  ซึ่งเพื่อบรรเทาภัยแล้งและช่วยเกษตรกรทาง กรมฝนหลวงและการบินเกษตรได้ปฏิบัติการฝนหลวงอย่างต่อเนื่อง


ขณะที่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิชาการด้านทะเลและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่า  แม้ปรากฎการณ์เอลนีโญใกล้จบ แต่สถานการณ์โลกเดือดยังคงดำเนินต่อไป และปริมาณฝนแทบไม่มี ส่งผลให้ทะเลร้อน  น้ำระเหยได้มาก  เมฆจุไอน้ำได้เยอะขึ้น เกษตรกร หรืออาชีพที่ต้องพึ่งพาธรรมชาติ เช่น ทำสวน ทำประมง เลี้ยงสัตว์บก, สัตว์น้ำ ต้องระวังให้หนัก เพราะฝนยังไม่มา อุณหภูมิยังไม่ลด


ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธรณ์  ยังบอกด้วยว่า ทางแก้ไขเป็นเรื่องที่ยากมาก เพราะเราได้ทำร้ายโลกมานับร้อยปีที่ก๊าซเรือนกระจกสะสมบนฟ้า ทะเลช่วยดูดซับความร้อนไว้ แต่ตอนนี้ทะเลก็ช่วยดูดซับความร้อนไว้ไม่ไหว จึงมาถึงจุดที่ต้องหาทางรอด ปรับตัวเท่าที่ทำได้ และช่วยกันก๊าชเรือนกระจกปัจจัยที่ทำให้โลกร้อนขึ้น 


ภาพจาก: AFP

ข่าวที่เกี่ยวข้อง