รีเซต

เกาะติดสถานการณ์ 'รัสเซีย-ยูเครน' (2 มี.ค.2565)

เกาะติดสถานการณ์ 'รัสเซีย-ยูเครน' (2 มี.ค.2565)
TeaC
2 มีนาคม 2565 ( 18:02 )
654
เกาะติดสถานการณ์ 'รัสเซีย-ยูเครน' (2 มี.ค.2565)

ข่าววันนี้ เข้าสู่วันที่ 6 สำหรับสถานการณ์วิกฤตรัสเซียและประเทศยูเครน ที่ยังยุติความขัดแย้งไม่ได้  อ่านต่อ เกาะติดสถานการณ์ 'รัสเซีย-ยูเครน' (1 มี.ค.2565)

 

เกาะติดสถานการณ์ 'รัสเซีย-ยูเครน' (2 มี.ค.2565)

 

กองทัพรัสเซีย ประกาศยึดเมือง "เคอร์สัน" ทางใต้ของยูเครนได้แล้ว นายกเทศมนตรีโต้กลับ เมืองยังไม่ถูกยึด

กองทัพรัสเซียอ้างว่า ยึดครองเมืองเคอร์สัน ทางตอนใต้ของยูเครนได้แล้ว ในวันที่ 7 ของการส่งทหารเข้าไปในยูเครน ด้านประธานาธิบดียูเครนกล่าวหารัสเซียว่า พยายาม “ลบ” ชาวยูเครน ทั้งประเทศชาติและประวัติศาสตร์ออกไป


โฆษกกระทรวงกลาโหมรัสเซียแถลงว่า กองกำลังรัสเซียได้ยึดศูนย์กลางเมืองเคอร์สันไว้ได้เรียบร้อยแล้ว แต่บริการสาธารณะและขนส่งมวลชนในเมือง ยังคงดำเนินการต่อไปได้ตามปกติ

“ประชาชนไม่เผชิญปัญหาขาดแคลนอาหาร และสิ่งจำเป็นต่าง ๆ แต่อย่างใด” โฆษกกระทรวงกลาโหมรัสเซีย ระบุ


ตอนนี้ กองทัพรัสเซียกำลังประสานงานกับทางการท้องถิ่น เพื่อรักษาระเบียบ รวมถึงคุ้มครองประชาชนอีกด้วย


อย่างไรก็ดี นายกเทศมนตรีเมืองเคอร์สัน ทวิตตอบโต้ว่า เมืองเคอร์สันยังเป็นยูเครน และยังยืนหยัดอยู่ พร้อมระบุว่า มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก และเมืองกำลังเผชิญปัญหาขาดแคลนไฟฟ้า แก๊สหุงต้ม และน้ำ


โวโลดิมีร์ เซเลนสกี ผู้นำยูเครนแถลงว่า การโจมตีทางอากาศด้วยขีปนาวุธในกรุงเคียฟเมื่อวานนี้ (1 มีนาคม) แสดงให้เห็นว่า “เป็นการโจมตีชาวต่างชาติที่อาศัยในยูเครนด้วย”


การโจมตียังสร้างความเสียหายต่ออนุสรณ์รำลึกการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวที่อยู่ใกล้กับเสาสัญญาณสถานีโทรทัศน์ ที่ตกเป็นเป้าหมายด้วย


“รัสเซียไม่รู้อะไรเกี่ยวกับเมืองหลวงของเรา ไม่รู้ถึงประวัติศาสตร์ของเรา ทหารถูกสั่งให้ลบประวัติศาสตร์ของเรา ลบประเทศเรา ลบพวกเราทั้งหมด” เซเลนสกี กล่าว

 

ข้อมูล : มติชน

 

รัสเซียโจมตียูเครนส่อยืดเยื้อ! เอกชนตั้งรับราคาพลังงานพุ่งยาว จ่อขึ้นราคาสินค้า

นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ รองประธานกรรมการหอการค้าไทย ในฐานะนายกกิตติคุณ สมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย กล่าวว่า จากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครน นั้น ยังไม่สามารถคาดเดาได้ว่าสถานการณ์จะบานปลายไปแค่ไหน แต่ตอนนี้ราคาพลังงานและราคาน้ำมันปรับตัวขึ้นไปสูงมาก อย่างไรก็ตาม หากเกิดความขัดแย้งที่หนักขึ้น ยิ่งส่งผลกระทบกับต้นทุนพลังงานอย่างมาก เพราะไทยนำเข้าพลังงานมหาศาลจากรัสเซีย และทุกองคาพยพ​ล้วนแต่ใช้พลังงานในส่วนนี้ อีกส่วนที่น่าเป็นห่วงคือเรื่องปุ๋ย และอาหารสัตว์ ที่ต้นทุนมีแนวโน้มสูงขึ้น ถ้าเป็นเช่นนั้นจะยิ่งกระทบต่อห่วงโซ่การผลิตของไทยพอสมควร

“ในส่วนของการปรับราคาสินค้าหรือวัตถุดิบขึ้น นั้น ขณะนี้ อยู่ระหว่างประเมินสถานการณ์​ความขัดแย้งของทั้ง 2 ประเทศ อยู่ว่าเหตุการณ์​จะรุนแรงและยืดเยื้อแค่ไหน ก่อนที่จะปรับขึ้นราคาวัตถุดิบตามความเหมาะสมต่อไป” นายพจน์ กล่าว

ส่วนเรื่องผลกระทบจากการนำเข้าวัตถุดิจากรัสเซีย นั้น คาดว่าวัตถดิบที่จะได้รับผลกระทบ อาทิ ปุ๋ยยูเรีย ข้าวสาลี และถั่วเหลือง เป็นต้น และต้องยอมรับว่าความขัดแย้งในครั้งนี้ ทำให้เกิดผลกระทบเป็นห่วงโซ่ แม้จะไม่ได้ส่งผลกระทบทันที แต่ไทยและทั่วโลกจะได้รับผลกระทบจากเรื่องนี้แน่นอน ส่วนเรื่องการสต็อกสินค้าผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องอาจมีการสต็อกสินค้า อาทิ ปุ๋ย และอาหารสัตว์ แต่ไม่ได้สต็อกในจำนวนมาก คาดว่าสต็อกไว้ให้เพียงพอต่อการใช้งานอีก 1 เดือน

นายพจน์ กล่าวอีกว่า ขณะที่ การส่งออกอาหารทะเล และอาหารแช่เยือกแข็ง นั้น ไม่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งในครั้งนี้มากนัก โดยในช่วงปีแรกที่เกิดโควิด-19 หรือปี 2563 การส่งออกทูน่าเป็นไปได้ดี รวมถึงการส่งออกอาหารสัตว์เลี้ยงเป็นไปได้ดีมาก ส่วนในปี 2564 การส่งออกทูน่ายังดีอยู่แต่ไม่มากเท่าปี 2563 ส่วนอาหารสัตว์เลี้ยงยังส่งออกดีอย่างต่อเนื่อง ส่วนในปัจจุบันอาหารแช่แข็ง โดยเฉพาะอาหารทะเลค่อนข้างแย่ เนื่องจากได้รับผลกระทบจากความเข้มงวดตามกฎของ การทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (ไอยูยู) ส่งผลให้มีวัตถุดิบในการส่งออกลดลง

ส่วนเรื่องการแบนระบบการเงินรัสเซีย จากทางสมาคมโทรคมนาคมทางการเงินโลก หรือสวิฟต์ นั้น ของไทยยังได้รับผลกระทบน้อย ส่วนความกังวลเรื่องค่าบาท นั้น อยากภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง อาทิ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ประคองค่าเงินให้อยู่ที่ 33 บาทต่อเหรียญสหรัฐ​ ชั่วคราวหรือประมาณ 1 เดือน เพื่อให้ผู้ส่งออกยังสามารถประคองตัวอยู่ได้ในสภาวะนี้ต่อไป

 

ข้อมูล : มติชน

 

ยูเครนกระตุ้น 3 ชาติยุโรป ส่งอาวุธ-ความช่วยเหลือเพิ่ม


เคียฟ, 2 มี.ค. (ซินหัว) -- เมื่อวันอังคาร (1 มี.ค.) ดมิโทร คูเลบา รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศยูเครน เรียกร้องคณะรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศโปแลนด์ ฝรั่งเศส และเยอรมนี เพิ่มแรงกดดันการคว่ำบาตรรัสเซีย พร้อมจัดหาอาวุธและเงินสนับสนุนแก่ยูเครนเพิ่มเติม



"ผมได้พบกับรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศโปแลนด์ ฝรั่งเศส และเยอรมนี หรือกลุ่มประเทศสามเหลี่ยมไวมาร์ (Weimar Triangle) ทางออนไลน์ และขอให้พวกเขาเพิ่มแรงกดดันการคว่ำบาตรรัสเซีย รวมทั้งจัดหาอาวุธ การสนับสนุนทางการเงินและทางมนุษยธรรมให้ยูเครนมากขึ้น" คูเลบาเผยผ่านทวิตเตอร์



ทั้งนี้ คูเลบาเผยก่อนหน้านั้นว่ายูเครนกำลังทำงานร่วมกับหุ้นส่วน เพื่อแสวงหาแนวทางต่างๆ ในการปิดน่านฟ้าทั่วประเทศ

 

ข้อมูล : Xinhua Thai


รัสเซียเคลื่อนทหารครั้งใหญ่ มุ่งหน้าสู่เมืองหลวงยูเครน

เมื่อวันที่ 1 มันาคมที่ผ่านมา ภาพจากดาวเทียมพบว่า ขบวนรถถังและยานยนต์ของรัสเซีย เรียงตัวเป็นแถวยาว 64 กิโลเมตร กำลังมุ่งหน้าไปยังกรุงเคียฟของยูเครน จากถนนหลายเส้นทางตอนเหนือของกรุง โดยภายในกรุงเคียฟตอนนี้ รัสเซียควบคุมบางพื้นที่ได้ และยังใช้การโจมตีทางอากาศต่อเนื่อง แต่ทหารยูเครนและพลเรือนที่ช่วยสู้รบ ยังคงต้านทาน และป้องกันเขตสำคัญใจกลางเมืองไว้ได้อยู่
 
ข้อมูล : TNN World
 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

กดเลย >> community แห่งความบันเทิง

ทั้งข่าว หนัง ซีรีส์ ละคร ดนตรี และศิลปินไอดอล ที่คุณชื่นชอบ บนแอปทรูไอดี

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง