เช็กสิทธิ มาตรา40 เจ็บป่วยได้รับเงินทดแทนยังไง
ผู้ประกันตนมาตรา 40 คือ บุคคลทั่วไปที่ประกอบอาชีพอิสระหรือแรงงานนอกระบบที่ไม่ได้เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 หรือผู้ประกันตนมาตรา 39 โดยผู้ประกันตนมาตรา 40 ของสำนักงานประกันสังคมมีสิทธิประโยชน์คุ้มครองกรณีเจ็บป่วยดังนี้
เงื่อนไขการเกิดสิทธิ
ผู้ประกันตนมาตรา 40 ต้องจ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 เดือน ก่อนเดือนที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย โดยแบ่งเป็น 3 ทางเลือกคือ
ที่มาภาพ : สำนักงานประกันสังคม
ทางเลือกที่ 1 และ 2
1. นอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลตั้งแต่ 1 วันขึ้นไป ได้รับเงินวันละ 300 บาท
2. ผู้ป่วยนอก (ไม่นอนโรงพยาบาล) แต่มีใบรับรองแพทย์ให้หยุดพักรักษาตัวตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป ได้รับเงินวันละ 200 บาท
3. เงื่อนไขการรับสิทธิผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกหยุดรวมกันไม่เกิน 30 วันต่อปี
4. ผู้ป่วยนอก (ไม่นอนโรงพยาบาล) หรือ ให้หยุดพักรักษาตัวไม่เกิน 2 วัน (มีใบรับรองแพทย์มาแสดง) ไม่เกิน 3 ครั้งต่อปี ได้รับเงิน ครั้งละ 50 บาท
ทางเลือกที่ 3
1. นอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลตั้งแต่ 1 วันขึ้นไป ได้รับเงินวันละ 300 บาท
2. ผู้ป่วยนอก (ไม่นอนโรงพยาบาล) แต่มีใบรับรองแพทย์ให้หยุดพักรักษาตัวตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป ได้รับเงินวันละ 200 บาท
3. เงื่อนไขการรับสิทธิผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกหยุดรวมกันไม่เกิน 90 วันต่อปี
หมายเหตุ : สิทธิการรักษาใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพ/บัตรทอง (สปสช.) หรือสิทธิเดิมที่มีอยู่
ที่มาข้อมูล : สำนักงานประกันสังคม
ที่มาภาพ : ประกันสังคม