รีเซต

“เอเลียน สปีชีส์” สายพันธุ์อันตรายจากต่างแดน

“เอเลียน สปีชีส์”  สายพันธุ์อันตรายจากต่างแดน
TNN ช่อง16
18 พฤศจิกายน 2566 ( 11:16 )
95

กลายเป็นหนึ่งข่าวดัง ที่ประชาชนให้ความสนใจ เมื่อกองทัพ “อีกัวนาเขียว” ได้บุกพื้นที่ ต.พัฒนา จ.ลพบุรี จนเจ้าหน้าที่จากสำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า ต้องระดมกำลังเข้าไปจับและนำออกไปจากพื้นที่ เพราะมีชาวบ้านบางส่วน แจ้งว่า ได้รับความเดือนร้อนจาก “อีกัวนาเขียว” เข้าไปกัดกินพืชผลทางการเกษตร จนได้รับความเสียหาย


สำหรับ “อีกัวนาเขียว” ถือเป็นสัตว์ป่าควบคุมกลุ่มที่ 1 ที่ได้รับความคุ้มครองตามอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศฯ แต่สัตว์ชนิดนี้ ไม่ใช่สัตว์พื้นถิ่นของไทย จึงถือว่าเป็น “สัตว์ต่างถิ่น” หรือ “เอเลียน สปีชีส์” (alien species) ที่เป็นตัวทำลายระบบนิเวศน์ของไทย



"อีกัวนาเขียว" เป็นสัตว์ประจำถิ่นในป่าเขตร้อนของเม็กซิโก อเมริกากลาง อเมริกาใต้ และหมู่เกาะแคริบเบียน เป็นสัตว์ที่กินทั้งพืชและสัตว์ โดยช่วงวัยอ่อนจะกินแมลง หอย และเมื่อถึงช่วงอายุวัยเจริญพันธุ์จะกินใบไม้ ดอกไม้


กิ้งก่าสกุลนี้ ถูกกล่าวถึงครั้งแรกในเชิงวิทยาศาสตร์เมื่อปี ค.ศ. 1768 โดย “โยเซฟุส นิโคเลาส์ เลาเรนที” นักธรรมชาติวิทยาชาวออสเตรีย ทั้งนี้ “อิกัวนา” มีรูปร่างลักษณะคล้ายกับ “ตะกอง” (Physignathus cocincinus) ซึ่งอยู่ในวงศ์ Agamidae ที่พบในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และออสเตรเลีย แต่มีพฤติกรรมที่

แตกต่างกัน 


ที่ผ่านมา “อีกัวนา” ถูกนำเข้าไทยในฐานะสัตว์เลี้ยงสุดเท่ มีราคาขายตั้งแต่หลักพัน ไปถึงหลักหมื่นบาท แต่เมื่อความนิยมเลี้ยงลดน้อยลง ทำให้เราตกลง ผู้เลี้ยงบางราย เกิดความเบื่อหน่าย และนำไปปล่อยตามแหล่งธรรมชาติ จนกลายเป็นปัญหาตามมา



“อิกัวนา” ไม่ใช่สัตว์ต่างถิ่นชนิดเดียว ที่กำลังสร้างปัญหาให้กับสิ่งแวดล้อมไทย เพราะที่ผ่านมา มี สัตว์ต่างถิ่นหลายชนิด ที่สร้างปัญหา และที่เห็นเด่นชัดและกำลังสร้างปัญหาให้กับแหล่งน้ำสาธารณะหลายแห่งของไทย นั่นก็คือ “ปลาซักเกอร์” หรือ ปลาเทศบาล ที่เรารู้จักกันดี


“ปลาซัคเกอร์” มีเส้นทางนำเข้าไทย ไม่ต่างจาก “อีกัวนา” โดยมันถูกนำเข้ามาเพื่อกินตะไคร่น้ำหรือเศษอาหารในตู้ปลา และเมื่อโตเต็มวัย จะมีน้ำหนักหลายกิโลกรัม ผู้เลี้ยงจึงมักจะนำไปปล่อยในแม่น้ำลำคลองต่างๆ


สาเหตุที่ปลาซัคเกอร์ เพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากปลาชนิดนี้ ที่มีความอดทนสูง สามารถอาศัยในแหล่งน้ำได้ทุกรูปแบบ และกินอาหารได้เกือบทุกชนิด อีกทั้งยังสามารถวางไข่สืบพันธุ์ได้เองตามธรรมชาติ ซึ่งการเพิ่มจำนวนของมัน ส่งผลกระ

ทบต่อพันธุ์ปลาพื้นเมืองของไทยที่มีอยู่ตามธรรมชาติ เพราะมันจะกินไข่ปลา หรือกินแม้กระทั่งลูกปลาวัยอ่อน


จากข้อมูลจากกรมประมง ระบุว่า ประเทศไทยถือว่ามีความหลากหลายทางชนิดพันธุ์ที่ยิ่งใหญ่ ไม่แพ้ใครในโลก แต่เราอาจจะต้องสูญเสียชนิดพันธุ์พื้นเมืองไป หากมีการรุกรานของ “เอเลียน สปีชีส์”  


ที่ผ่านมา ไทยยังพบการระบาดของสัตว์ต่างถิ่น อีกหลายชนิด ทั้ง “เต่าญี่ปุ่น” (Trachemys scripta) และ “หอยเชอรี่” (Pomacea canaliculata) ซึ่งถือเป็นสัตว์ต่างถิ่นที่รุกรานเป็นอันดับต้นๆ ในไทย  


นอกจากนี้  ไทยก็เผชิญกับพืชต่างถิ่น ที่รุกรานรุนแรงเช่นกัน  เช่น ผักตบชวา (Eichhornia crassipes), ไมยราบยักษ์ (Mimosa pigra), สาบเสือ (Chromolaena odorata) ซึ่งล้วนเป็นชนิดที่มีการ ระบาดหนักในประเทศไทยทั้งสิ้น


ขณะที่ “เผด็จ ลายทอง” ผู้อำนวยการสำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ได้จัดกลุ่ม “เอเลียน สปีชีส์” ที่กำลังสร้างปัญหาให้กับสิ่งแวดล้อมไทย โดยแบ่งเป็นกลุ่มๆ คือ


1.สัตว์ดุร้าย เช่น เสือขาว เสือจากัวร์ แมวป่า งูบางชนิด 

2.สัตว์เลื้อยคลาน เช่น อีกัวน่า งูบอลไพธอน เต่าแก้มแดง 

3.สัตว์ปีก เช่น นกบางชนิด เช่น นกปากขอ นกยูงอินเดีย 

4.สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น ลิงมาโมเสท แรคคูน 

และ 5.สัตว์น้ำ เช่น กุ้งเครฟิช ปลาดุกอุย ปลาดุกรัสเซีย ปลาซักเกอร์ เป็นต้น


การรุกรานของสัตว์และพืชต่างถิ่น ถือเป็นความเปราะบางของระบบนิเวศน์ไทย ที่หลายฝ่ายต้องร่วมมือ เพราะหากปล่อยผ่านไป สิ่งมีชีวิตที่เป็นพันธุ์พื้นเมืองที่สำคัญ และบางชนิดมีเพียงในประเทศไทยเท่านั้น  อาจจะสูญพันธ์ไปอย่างถาวร.



ข้อมูลอ้างอิง : วิกิพีเดีย , กรมประมง

มนตรี ขัดเรือง : เรียบเรียง

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง