อังกฤษ-ฝรั่งเศส ร้าวฉานหนัก หลังยึดเรือประมงฝรั่งเศสฐานล่วงล้ำน่านน้ำ ชี้ “แม้ไม่ใช่สงคราม แต่ก็เป็นการต่อสู้”
เมื่อวันพฤหัสบดี (28 สิงหาคม) ที่ผ่านมา สหราชอาณาจักรได้เรียกเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำกรุงลอนดอนเข้าพบ กรณีที่มีปัญหาพิพาทเรื่องสิทธิในการทำประมงในบริเวณช่องแคบอังกฤษ
ลิซ ทรูซ รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศแห่งสหราชอาณาจักร ระบุว่า "ได้สั่งการให้รัฐมนตรียุโรป เวนดี้ มอร์ทัน เพื่อเรียกเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำสหประชาชนเข้าเจรจา เพื่อขอให้อธิบายถึงการคุกคามที่น่าผิดผวังและไม่สมควรที่เกิดขึ้นต่อสหราชอาณาจักร และหมู่เกาะในช่องแคบ"
ความเคลื่อนไหวนี้มีขึ้น หลังจากที่ความตึงเครียดเกี่ยวกับการทำการประมงที่ยังตกลงกันไม่ได้ระหว่าง สหราชอาณาจักร, เจอร์ซี (ซึ่งเป็นพื้นที่ปกครองตนเองภายใต้อธิปไตยของสหราชอาณาจักร ห่างจากชายฝรั่งเศสราว 22.5 กิโลเมตร) และฝรั่งเศส
ฝรั่งเศสไม่พอใจต่อทั้งสหราชอาณาจักรและเจอร์ซี ที่ไม่ปฏิบัติตามคำสัญญาที่ได้เจรจากันไว้นับตั้งแต่ Brexit และได้ปิดกั้นการออกใบอนุญาตให้แก่ชาวประมงฝรั่งเศส พร้อมกับประกาศเตือนว่าจะปิดกั้นเส้นทางเดินเรืออังกฤษจากท่าเรือบางแห่งในสัปดาห์หน้า และจะทำการตรวจเรือประมง และรถบรรทุกให้เข้มงวดยิ่งขึ้น หากการพิพาทเรื่องใบอนุญาทำการประมง ไม่สามารถตกลงกันได้ในวันที่ 2 พฤศจิกายนนี้
◾◾◾
🔴 ฝรั่งเศสยึดเรือลากอวนอังกฤษ
เหตุการณ์ที่นำมาสู่ความตึงเครียดรอบใหม่นี้ เกิดขึ้นเมื่อวันพุธ (27 สิงหาคม) เมื่อฝรั่งเศสเข้ายึดเรือลากอวนของอังกฤษลำหนึ่ง และลงโทษปรับเรือประมงอีกลำกรณีเข้าไปจับปลาใน "น่านน้ำของฝรั่งเศส" นอกชายฝั่งเมือง เลอ อาฟร์ อย่างผิดกฎหมาย
เรือ คอร์เนลิส เกิร์ต แจน ถูกยึดเพราะไม่มีใบอนุญาตเข้าไปจับปลา และถูกนำไปจอดเทียบท่าที่เลอ อาฟร์แล้ว ส่วนอีกลำถูกปรับเพราะไม่ยอมให้เจ้าหน้าที่ขึ้นไปตรวจบนเรือ
เรือคอร์เนลิส เกิร์ต แจ บรรทุกหอยเชลล์ที่จับได้มากถึง 2,160 กก. และอาจถูกลงโทษปรับสูงถึง 75,000 ยูโร หากพบว่ามีความผิดจริง แต่เจ้าของเรือ ยืนยันว่า มีใบอนุญาตและจับหอยอย่างถูกกฎหมาย
ด้าน แอนนิก จีฮาร์ดิน (Annick Girardid) รัฐมนตรีกระทรวงการเดินเรือของฝรั่งเศส ระบุว่า การยึดเรือประมง "ไม่ใช่สงคราม แต่เป็นการต่อสู้"
◾◾◾
🔴 ฝรั่งเศสชี้ต้องใช้กำลัง เพราะเป็นภาษาเดียวที่อังกฤษเข้าใจ
ฝรั่งเศสขู่ว่าจะกำหนดมาตรการตอบโต้ เช่น การกำหนดภาษีศุลกากรใหม่ และการตรวจสอบคุณภาพและสุขอนามัยของสินค้านำเข้าทั้งหมด นับตั้งแต่ 2 พฤศจิกายน หากสหราชอาณาจักรยังไม่ปรับเปลี่ยนกฎเกณฑ์การทำการประมง อีกทั้งจะสั่งห้ามการทำการประมงด้วย ตลอดจนฝรั่งเศสขู่ว่า จะตัดการจ่ายพลังงานให้กับเกาะเจอร์ซี หากสหราชอาณาจักรไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง
ด้านทำเนียบนายกรัฐมนตรีบอริส จอห์นสัน ระบุเมื่อวานนี้ (28 ตุลาคม) ว่า เราเสียใจที่เกิดการเผชิญหน้ากันขึ้น และภาษาแห่งการเผชิญหน้าไม่ทำให้สามารถแก้ปัญหากันได้ง่ายขึ้น และเราจำเป็นต้องหยิบประเด็นนี้ขึ้นมาหารือร่วมกับทั้งฝรั่งเศส และคณะกรรมาธิการยุโรป"
ขณะที่เคลมอง บูน (Clement Beaun) รัฐมนตรียุโรปของฝรั่งเศส ระบุว่า "ฝรั่งเศสจำเป็นต้องใช้ภาษาของการใช้กำลัง เพราะดูเหมือนจะเป็นภาษาเดียวที่รัฐบาลอังกฤษเข้าใจ"
◾◾◾
🔴 วิเคราะห์: ฝรั่งเศสพยายามดึงการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องก่อนเลือกตั้งปีหน้า
แบร์รี่ ดิแอส ผู้อำนวยการสหพันธ์องค์กรประมงแห่งชาติในสหราชอาณาจักร ระบุว่า ที่ฝรั่งเศสทำเช่นนี้ มีเรื่อง "การเมือง" เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย และชี้ว่า ฝรั่งเศสต้องการจุดชนวนความตึงเครียดก่อนที่จะมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีในปีหน้า
ด้านฌอง กัสเต๊ก นายกรัฐมนตรีฝรั่งเศส ระบุว่า เขาพยายามที่จะทำให้สถานการณ์ดีขึ้น และพร้อมจะเจรจากับอังกฤษ พร้อมกับยืนยันว่า ลอนดอนก็ต้องปฏิบัติตามสิ่งที่ได้ตกลงกันหลัง Brexit ด้วย
ขณะที่เจ้าหน้าที่ระดับสูงของทั้งอังกฤษ, ฝรั่งเศส และ EU ต่างระบุว่า ไม่ต้องการเห็นการขยายความตึงเครียดออกไป แต่ทั้งมาครง และ จอห์นสัน ต่างก็อยู่ภายใต้แรงกดดันจากการถูกล็อบบี้จากเหล่านักประมงชั้นนำของประเทศ
ความตึงเครียดระหว่างฝรั่งเศส และสหราชอาณาจักร มีขึ้นนับตั้งแต่ที่เริ่มมีการ Brexit การแบ่งสันปันส่วนน่านน้ำทำประมง และยิ่งตอกย้ำความตึงเครียดให้มากขึ้น เมื่อสหราชอาณาจักร ได้เข้าร่วมข้อตกลง Aukus กับสหรัฐฯ และออสเตรเลีย จนทำให้ออสเตรเลียยกเลิกข้อตกลงผลิตเรือดำน้ำกับฝรั่งเศสมูลค่ามหาศาล
ผู้นำทั้ง 2 ชาติ คาดว่าจะมีโอกาสในการหารือกันระหว่างการประชุมสุดยอดกลุ่ม G20 ในกรุงโรม และการประชุม COP26 ในสัปดาห์นี้
—————
เรื่อง: ภัทร จินตนะกุล
ภาพ: Reuters