โบรกชี้เป้าหุ้นไทยเด้งรับฉีดวัคซีน ส่อง 25 หุ้นเด่นสุดปัง! ตัวไหนจี๊ดโดนใจ
โบรกมองหุ้นไทยสัปดาห์หน้าเด้งขานรับรัฐปูพรมฉีดวัคซีนล็อตใหญ่ดีเดย์ 7 มิ.ย. เผยสถิติตลาดหุ้นยุโรป Euro Stoxx 600 - ตลาดหุ้น S&P 500 สหรัฐฯ เงินไหลเข้าทะลัก 6.9 หมื่นล้านเหรียญ ดันหุ้นทะยาน แนะลงทุนหุ้นเปิดเมือง
นายฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ ผู้จัดการฝ่ายวิจัย บล.เอเซีย พลัส เปิดเผยว่า ภาพรวมตลาดหุ้นไทยสัปดาห์หน้า (7-11 มิ.ย.) ประเมินในทิศทางบวก หรือปรับขึ้นต่อ จากการพิจารณาปัจจัยแวดล้อมพบว่า ต่างชาติเริ่มกลับมาซื้อสุทธิหุ้นไทย สะท้อนจากต้นเดือนมิ.ย. -ปัจจุบัน (Mtd) ต่างชาติ เริ่มกลับมาซื้อประมาณ 3.8 พันล้านบาท สอดคล้องกับประเทศในกลุ่ม TIPs ซื้อสุทธิทางเดียวกัน
นอกจากนี้ความกังวลสหรัฐฯ กลับมาใช้นโยบายการเงินตึงตัว ผ่อนคล่ายช่วงสั้น เพราะวันศุกร์ที่ผ่านมารายงานตัวเลขด้านแรงงาน อาทิ ยอดการจ้างงานนอกภาคเกษตรสหรัฐฯ เดือนพ.ค. ออกมา
ออกมาอยู่ที่ระดับ 2.6 แสนราย ต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ 1 ล้านราย แต่เชื่อว่าในระยะกลาง- ยาว ยังเป็นปัจจัยกดดันตลาดหุ้น
อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาจากปัจจัยสำคัญตลอดทั้งสัปดาห์มีปัจจัยบวกต่อตลาดเริ่มตั้งแต่ประเด็นที่ให้น้ำหนัก ๆ โดยวันที่ 7 มิ.ย. เป็นวันแรกที่รัฐบาลจะปูพรมฉีดวัคซีน ล็อตใหญ่ คือ Astraze neca และต่อเนื่อง โดยรัฐมีแผนการจัดหาวัคซีนให้ครบ 100 ล้านโดสภายในสิ้นปี 2564 ประมาณ 50 ล้านคน ซึ่งมองเป็นบวกกับตลาดหุ้นไทย
ขณะเดียวกันจากสถิติที่ผ่านมาพบว่า ในช่วงเดือน ก.พ. มีคนยุโรป และสหรัฐฯ ฉีดวัคซีนในสัดส่วนเพิ่มขึ้นจาก 4% เป็น 9% ของประชากร และเดือน มี.ค. เร่งตัวขึ้นถึง 3 เท่า ขึ้นมาอยู่ที่ 17% ของประชากร ส่งผลให้ Fund Flow ในเดือน มี.ค. ไหลเข้าตลาดหุ้นยุโรป 3.7 หมื่นล้านเหรียญฯ หนุนตลาดหุ้น Euro Stoxx 600 ขึ้นแรง 6.1% และเงินไหลเข้าตลาดหุ้นสหรัฐเร่งตัวขึ้นกว่า 3.2 หมื่นล้านเหรียญฯ ดันตลาดหุ้น S&P 500 ขึ้น 4.2% เป็นต้น
ทั้งนี้การฉีดวัคซีนทั่วประเทศเป็นบวกต่อหนุนหุ้นเปิดเมือง เช่น กลุ่มสายการบิน (AOT, AAV) กลุ่มขนส่ง (BEM, BTS, DMT) กลุ่มท่องเที่ยวและโรงแรม (MINT, ERW, CENTEL) กลุ่มบันเทิงและสื่อ (MAJOR, VGI, PLANB) กลุ่มค้าปลีกและพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (CPALL, CRC, BJC, HMPRO, DOHOME, SPVI, CPN) กลุ่มธนาคาร (KBANK, BBL) กลุ่มเช่าซื้อ (MTC, SAWAD , TIDLOR )
อย่างไรก็ตาม วันเดียวกัน(7 มิ.ย.)ตลาดให้น้ำหนัก รายงานยอด ส่งออกพ.ค. คาดจะขยายตัวราว 32% yoy และนำเข้าของจีนขยายตัว 51% หากออกมาดี ASPS มีมุมมองเชิงบวกต่อ หุ้นส่งออก เพราะจีนเป็นตลาดส่งออกที่ไทยส่งสินค้าไปสัดส่วนอันดับต้น โดยปัจจุจบันหุ้นส่งออก ที่ฝ่ายวิจัยแนะนำลงทุนมี 2 บริษัท คือ TU (FV @ 20.00) และ NER (FV @9.5)
นอกจากนี้วันที่ 9 มิ.ย.นี้ สภาฯ พิจารณา พรก. เงินกู้ 5 แสนล้าน หากผ่านออกมาได้ เชื่อว่าจะเป็นบวกต่อการออกมาตรการพยุงเศรษฐกิจไทย ในช่วงที่เหลือของปี จนถึงปี65 ถือว่าดีหุ้นที่ได้ประโยชน์จากมาตราการเยียวยา ซึ่งเป็นหุ้นค้าปลีก
โดยรวมประเมินว่า SET Index จะแกว่งตัวในกรอบ 1,600 - 1,645 จุด กลยุทธ์การลงทุน แนะนำลงทุนหุ้นที่อยู่สภาพแวดล้อมได้ประโยชน์เน้น Theme เปิดเมือง Top Pick เลือก CPN(FV @ 58.00) หนึ่งหุ้นที่ได้ประโยชน์จากมาตการภาครัฐ คาดหวังเศรษฐกิจฟื้นตัว(คาดหวังการเก็บค่าเช่าได้มากขึ้น) คาดราคาหุ้น Outperform ตลาดฯในช่วงนี้
ขณะที่พื้นฐานกำไรคาดกลับมาดูดีในช่วง2H64 ภายใต้ความคาดหวังสถานการณ์โควิดคลี่คลาย และการฉีดวัคซีนในไทยเป็นไปอย่างวงกว้างมากขึ้น อีกทั้งบริษัทประกาศลงทุน 25% หรือ 1.4 หมื่นล้านบาท (อีก 26% กลุ่มเซ็นทรัล และ 49% กลุ่ม HK Land) ในการพัฒนาโครงการ Mixed Use บนที่ดินเดิมสถานฑูตอังกฤษคาดเสร็จในปี 2569
MINT (FV @ 34.00) แนวโน้มขาดทุนเริ่มลดลงช่วง 2H64 หลังวัคซีน COVID-19 กระจายครอบคลุมประชากรในยุโรปมากขึ้น เอื้อต่อNH Hotel ที่ฐานลูกค้าเป็น Domestic ราว 70% - 75%
นอกจากนี้ MINT เตรียมทำ Asset rotation ผ่านสินทรัพย์ของ NH Hotel ช่วง 2Q - 3Q64 เชื่อว่าจะได้รับเงินสดสุทธิอย่างน้อย 200 ล้านยูโร ช่วยเสริมสถานะการเงินของ NH Hotel แข็งแกร่งขึ้นอีกทั้งราคาหุ้น MINT ยัง Laggard SET Index โดยตั้งแต่ เม.ย. 64 จนถึง 28 พ.ค.64 ปรับตัวลง 3%มากกว่า SET ที่ปรับตัวลง 0.3% ถือว่าตอบรับปัจจัยลบมากพอสมควร ประเมิน ประเมิน Fair Value ปี 2564 ที่ 34 บาท มี Upside ประมาณ 5% แนะนำ ซื้อ
ปิดท้ายที่ KBANK (FV @ 155.00) คาดหวังการฟื้นตัวในช่วง 2H64 ทำให้ KBANK กลับมาน่าสนใจอีกครั้ง โดยลูกหนี้เข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือ ณ สิ้นงวด 1Q64 อยู่ที่ 14% ของพอร์ตสินเชื่อ (3.2 แสนล้านบาท) ลดลงจาก 19% ของพอร์ตสินเชื่อ ณ สิ้นปี 2563 ขณะที่คุณภาพสินทรัพย์ยังอยู่ในการบริหารจัดการ ด้าน Credit Cost ยังสอดคล้องกับประมาณการทั้งปี และเชื่อว่ายังมีความเป็นไปได้หลัง ธ.พ. เปิดเผยว่าลูกหนี้เข้าร่วมมาตรการฯตั้งแต่เริ่มมาตรการฯ มีความเสี่ยงอยู่ราว 6 หมื่นล้านบาท ต่ำกว่าตัวเลข Sensitivity แม้เผชิญการระบาดระลอกใหม่