รีเซต

เปิดสถิติจับกุมต่างด้าว ในรอบ 6 เดือน กว่า 1.4 พันคน

เปิดสถิติจับกุมต่างด้าว ในรอบ 6 เดือน กว่า 1.4 พันคน
TNN ช่อง16
9 กันยายน 2563 ( 16:17 )
338

วันนี้( 9 ก.ย.63)พ.ต.อ.สังคม ตัดโส ผู้กำกับตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดตาก ระบุว่า มีการจับกุมชาวเมียนมาเข้าไปยังพื้นที่ชั้นใน 2 ส่วน คือ ในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา จับกุมไป 64 ราย ในลักษณะเดินเข้ามาผ่านชายแดนธรรมชาติโดยไม่ใช่ยานพาหนะ อีกส่วนทำเป็นขบวนการ โดยคนไทยเป็นคนพาเข้ามาโดยใช้รถกระบะ เดือนสิงหาคมที่จับกุม 7 ราย , เดือนก.ค 8 ราย ทั้งหมดส่งฟ้องศาลดำเนินคดี

สำหรับสถิติการจับกุม ตาม. พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ในรอบ 6 เดือนย้อนหลังในพื้นที่จัหวัดตาก ตั้งแต่เดือนมีนาคม - สิงหาคม 2563  ในข้อหาหลบหนีเข้าเมืองมี 253 คดี 1,454 ราย  แบ่งเป็น สัญชาติเมียนมา 1,377 ราย สัญชาติเมียนมา(มุสลิม) 31คน ,สัญชาติจีน 41 ราย ,สัญชาติกัมพูชา 3 ราย , สัญชาติอินเดีย 1 ราย และ สัญชาติสิงคโปร์ 1 ราย ส่วนข้อหาช่วยเหลือซ่อนเร้น 31 คดี 32 คน  และ ข้อหานำพา 2 คดี 2 คน


ในส่วนที่ลักลอบผ่านชายแดนที่ทำเป็นขบวนการ ต้องยอมรับว่า ชายแดนฝั่งไทยเมียนมามีแม่น้ำเมยกั้นอยู่ ตอนนี้เดินข้ามมาได้เนื่องจากน้ำน้อยมีการทำมานานแล้ว กับอีกส่วนคือมีการกำหนดจุด ซึ่งฝั่งเมียนมาก็มีการควบคุมชายแดนเหมือนฝั่งไทยกลุ่มคนเหล่านี้จะอาศัยหาช่องว่างพื้นที่ที่มีความเปราะบาง มีการตรวจที่ไม่แข็งแรงไม่รัดกุม มีการนัดแนะเอารถกระบะมารับตามแนวชายแดน หรือไม่ก็เดินมาตามถนนตามแนวชายแดน แล้วมีคนมารับพาไปส่งชั้นใน

จากปัญหาดังกล่าว ทางตม. จึงได้ร่วมมือหน่วยงานความมั่นคงทางชายแดนที่ประกอบด้วย ทหารเป็นหลัก ตชด. ตำรวจพื้นที่และฝ่ายปกครองส่วนท้องถิ่น โดยมีการวางสายให้ชาวบ้านในพื้นที่แจ้งเข้ามา แล้วทางตมก็เข้าไปซุ้มจับ ซึ่งพื้นที่จังหวัดตาก ตามแนวชายแดนมีประมาณ 500 กว่ากิโลเมตร การวางกำลังตามแนวชายแดน ทหารจะเป็นหลักในการลาดตระเวนในด่านแรก วางกำลังในแต่ละหน่วย ส่วน ตม.ที่รับผิดชอบในด่านสะพาน 1 และด่านสะพาน 2 และท่าอากาศยาน แต่ปัจจุบันสะพาน 1 ปิด ส่วนท่าอากาศยานก็ไม่มีเที่ยวบินจากต่างประเทศ ตอนนี้ก็เหลือด่านสะพาน 2 ที่วางกำลังไว้ อีกส่วนคือ หน่วยเคลื่อนที่เร็ว คอยสนับสนุนตามแนวชายแดนต่างๆ เช่น หากทหารจับได้ก็จะแจ้งตม.เข้าไปจับกุมดำเนินคดี ส่วนชั้นในดูแลโดยฝ่ายปกครองท้องถิ่นในพื้นที่ เช่น ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน ในการสอดส่องดูแล ที่จะแจ้งเจ้าหน้ที่ให้เข้ามาจับกุม โดยชุดเคลื่อนที่เร็วของตม.  

เช่นกรณีคนจีนที่ลักลอบเข้ามา เราไม่สามารถทำเรื่องส่งกลับประเทศได้ เนื่องจากไม่ได้มีชายแดนติดกัน จึงต้องส่งฟ้องศาลที่เกี่ยวกับพ.ร.บ ควบคุมโรคติดต่อ ซึ่งมีโทษขึ้นศาลใหญ่ทั้งจำและปรับ จากนั้นจะส่งไปยังส่วนกลางที่สวนพลูและจะติดต่อสถานทูตต้นทางของผู้ลักลอบเพื่อให้มารับไปดำเนินการต่อ และชั้นที่3 ตามมาด้วย เจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่ ตามแนวชายแดนคอยตั้งด่านรอบนอกที่จะเข้ามายังพื้นที่ชั้นใน 


สำหรับเส้นหลักในการลักลอบเข้าเมือง คือ อ.เมือง มายัง อ.แม่สอด ซึ่งเป็น ถนน 4 เลน มีเจ้าหน้าที่ตั้งด่านที่ผ่านมามีการจับกุมได้บ้าง ส่วนหนึ่งก็จะหลบหนีเวลาถึงจุดตรวจ กลุ่มคนเหล่านี้จะอ้อมจุดตรวจลัดเลาะไปยังทางธรรมชาติ ส่วนเส้นที่ 2 เส้นทาง อ.แม่ละมาดและอ.บ้านตาก เป็นถนนระหว่างเมืองและเส้นที่ 3 อ.พบพระ เข้ามายัง อ.วังเจ้า เส้นทางนี้จะผ่านเขาใช้เวลานานแต่จะลำบาก

ที่ผ่านมาในเดือนมีนาค มีการส่งกลับประเทศเมียนมา 786 ราย จากนั้นในเดือนเมษายนมีการปิดด่าน ยังคงมีการส่งกลับประเทศจำนวนหนึ่ง โดยเมื่อปิดด่านหากมีคนไทยเดินทางกลับมาเรารับกลับ โดยคนไทยจะต้องไปแจ้งสสถานทูตไทยที่เมียนมา มีเอกสารสารจากสถานทู มีใบตรวจโรคโควิด-19 โดยเอกสารจะถูกส่งมาที่จังหวัด จากนั้นทางจังหวัดจะแจ้งมายังด่านสะพานไทย-เมียนมาที่ 2 คนไทยก็จะเข้ามายังด่านนั้นจากนั้นจะมีรถขนส่งมารับตัวนำไปกักตัวจนครบ14วัน

สำหรับคนเมียนมา แต่เดิมเดือนที่แล้วมีการให้ลงทะเบียนที่สถานทูตจัดรถจากสมุทรสาคร หมอชิต มาส่งที่หน้าด่าน อ.แม่สอด โดยมีทูตแรงงานมารับและอีกส่วนคือเดินทางมาเอง แต่ต้องมีเอกสารถูกต้องมาที่ด่านแจ้งขอออก ช่วงแรกมีประมาณ 1,000 รายต่อวัน แต่ช่วงหลังมีประมาณ100-200 ราย


ทั้งนี้ ทีมข่าวลงพื้นที่สำรวจเส้นทางธรรมชาติติดพรมแดนไทย-เมียนมา​ ไม่มีแม่น้ำกั้น​ ไม่มีรั้วลวดหนาม​ เป็นพื้นที่ราบ บริเวณ หมู่ 1 ต.ท่าสายรวด​ อ.แม่สอด จ.ตาก ซึ่งเป็นจุดที่พบแรงงานลักลอบเข้าเมืองหลายกรณี  โดยมีความยาวตามแนวชายแดนหลายสิบกิโลเมตร ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่มีเพียงสวนเกษตร ทุ่งหญ้า กั้นเท่านั้น

ด้าน นายกิตติมาศักดิ์​ สีเดือน​ ผู้ใหญ่บ้าน​ หมู่​ 1​ ต.ท่าสายรวด​ อ.แม่สอด.​ จ.ตาก​ ได้นำ​ชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน​ หรือ​ ชรบ.​ ลาดตระเวนพื้นที่เสี่ยงตลอดทั้งวัน​ แบ่งเป็น 2 ช่วงเวลา โดยยอมรับว่าไม่สามารถรับปากได้ 100% ว่าจะป้องกันการลักลอบหลบหนีเข้าเมืองตามช่องทางธรรมชาติเหล่านี้ได้ทั้งหมด แต่ชาวบ้านในพื้นที่จะพยายามช่วยกันอย่างเต็มที่เพราะนอกจากจุดนี้แล้วยังมีจุดอื่นที่มีชายแดนติดกับประเทศเมียนมา ที่สามารถเดินเท้าเข้ามาได้

สำหรับ จังหวัดตาก มี 5 อำเภอที่มีเขตติดต่อกับชายแดน คือ อำเภอแม่สอด อำเภอแม่ระมาด อำเภอท่าสองยาง อำเภอพบพระ และอำเภออุ้มผาง ซึ่งในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ในเมียนมา ทำให้หน่วยงานความมั่นคงของไทย และชาวบ้าน ต้องช่วยกันเฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมง อีกทั้งต้องใช้กำลังพลเป็นจำนวนมาก



เกาะติดข่าวที่นี่

website: www.TNNTHAILAND.com
facebook : TNNONLINE
facebook live : TNN Live
twitter : TNNONLINE
Line : @TNNONLINE
Youtube Official : TNNONLINE
Instagram : TNN_ONLINE
TIKTOK : @TNNONLINE

ข่าวที่เกี่ยวข้อง