รีเซต

เปิดประวัติ “วังค้างคาว” อาคารราชพัสดุ บ้านพระประเสริฐวานิช เขตคลองสาน

เปิดประวัติ “วังค้างคาว” อาคารราชพัสดุ บ้านพระประเสริฐวานิช เขตคลองสาน
Ingonn
6 สิงหาคม 2564 ( 15:28 )
1.1K
เปิดประวัติ “วังค้างคาว” อาคารราชพัสดุ บ้านพระประเสริฐวานิช เขตคลองสาน

เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2564 ที่ผ่านมากรมธนารักษ์ ได้ประกาศประมูลสิทธิการเช่าอาคารราชพัสดุ (วังค้างคาว) พร้อมที่ดินนอกที่ตั้งตัวอาคาร ซึ่งมีกำหนดระยะเวลาการเช่า 30 ปี ทำให้ชื่อ “วังค้างคาว” เป็นอีกสถานที่เก่าแก่ ที่ใครเคยนั่งเรือผ่านแม่น้ำเจ้าพระยา อาจเคยเห็นอาคารหลังนี้มาก่อน

 

 

วันนี้ TrueID จึงจะพามารู้จัก “วังค้างคาว” หรือ “อาคารราชพัสดุบ้านพระประเสริฐวานิช” อาคารเก่าเขตคลองสาน ที่มีประวัติความเป็นมาอย่างยาวนานกัน

 

 

 

ประวัติ “วังค้างคาว” 


เป็นอาคารเก่าริมแม่น้ำเจ้าพระยา เดิมเป็นกรรมสิทธิ์ของพระประเสริฐวานิช (เจ้าสัวเขียว เหล่าประเสริฐ) ต่อมาบ้านและที่ดินตกเป็นของนายเว้น (บุตร) และได้บริจาคให้กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2464

 

 

สำหรับพระประเสริฐวานิช (เจ้าสัวเขียว) เป็นบุตรของจีนเตี๋ยมกับอำแดงเพ็ง บ้านอยู่บริเวณปากคลองวัดทองธรรมชาติ ภรรยาคือนางสาคร ประเสริฐวานิช โดยพระประเสริฐวานิชเป็นขุนนางเชื้อสายจีน ได้เข้ารับราชการอยู่กรมท่าซ้ายในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทำหน้าที่ดูแลการค้าขายในส่วนของคนจีน

 

 


โดย “วังค้างคาว” ถูกสร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 มีลักษณะและรูปแบบเป็นกลุ่มอาคารเก๋งจีน 2 ชั้น ก่ออิฐถือปูน หลังคามุงกระเบื้อง หน้าจั่วปูนปั้น ประกอบด้วย อาคารสองหลังตั้งขนานกัน หันหน้าออกแม่น้ำ มีระเบียงเชื่อมถึงกัน ล้อมลานโล่ง ตรงกลางขนาดใหญ่ พื้นที่บริเวณใต้ถุนอาคารถูกแบ่งเป็นสัดส่วน ทั้งสองฝั่งเพื่อใช้ประโยชน์เป็นที่เก็บสินค้า เนื้อที่ประมาณ 0-3-29 ไร่ ปัจจุบันเป็นที่ราชพัสดุแปลงหมายเลขทะเบียนที่ กท.2723 (บางส่วน) โฉนดที่ดินเลขที่ 3249 แขวงคลองสาน เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร 

 

 


“วังค้างคาว” เคยเป็นสถานที่ทำธุรกิจหลายสมัย


ในระหว่างปี พ.ศ. 2450-2460 บริษัท หลักสุงเฮง ของนายเหียกวงเอี่ยม อดีตประธานหอการค้าไทย-จีน เช่าอาคารและพื้นที่เป็นสำนักงานและท่าเรือซึ่งดำเนินกิจการรับ-ส่งสินค้าทางเรือ จากนั้น ห้างฮั่วจั่วจั่น ได้มาขอเช่าต่อ โดยใช้พื้นที่ใต้ตึกเป็นที่เก็บสินค้า 

 

 


ทำไมถึงชื่อ “วังค้างคาว”


คนส่วนใหญ่เรียกว่า “วังค้างคาว” มาจากเมื่อคนเลิกเช่า “วังค้างคาว” ตัวอาคารจึงถูกปิดร้างไม่ได้ใช้ประโยชน์มาหลายสิบปี ทำให้มีค้างคาวเข้ามาทำรังและอาศัยอยู่บริเวณใต้ตึกเป็นจำนวนมาก จึงอาจเป็นสาเหตุทำให้มีคนเรียกอาคารเก่าหลังนี้ว่า “วังค้างคาว” และในปี พ.ศ. 2561 กรมศิลปากรได้ประกาศรายชื่อโบราณสถานในเขตกรุงเทพมหานครตามนัยราชกิจจานุเบกษา เล่ม 135 ตอนพิเศษ 165 ง ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2561 โดยมีบ้านพระประเสริฐวานิช (เขียว) (วังค้างคาว) ในประกาศดังกล่าว

 

 

เปิดภาพตึก "วังค้างคาว" 

 

 

 

ข้อมูลและภาพจาก สถานีข่าวกระทรวงการคลัง : Ministry of Finance News Station

 

 

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง