รีเซต

นักวิทย์ฯ สร้าง “ค็อกเทล” เอนไซม์ ช่วยย่อยสลายพลาสติกได้เร็วขึ้นถึง 6 เท่า

นักวิทย์ฯ สร้าง “ค็อกเทล” เอนไซม์ ช่วยย่อยสลายพลาสติกได้เร็วขึ้นถึง 6 เท่า
TNN ช่อง16
7 ตุลาคม 2563 ( 00:00 )
426

จริง ๆ แล้วในปัจจุบันเรามีเอนไซม์หรือตัวเร่งปฏิกิริยาทางเคมีชนิดหนึ่ง มีชื่อเรียกว่า PETase ซึ่งเร่งให้พลาสติกชนิด PET (Polyethylene Terephthalate) เกิดการย่อยสลายได้เร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์ยังคงค้นหาสารชนิดอื่น ที่สามารถสลายพลาสติกได้รวดเร็วกว่าเอนไซม์ PETase


ที่มาของภาพ https://www.cbc.ca/news/technology/plastic-eating-enzyme-pollution-1.4622923

ล่าสุด นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัย Portsmouth และสถาบันพลังงานทดแทนแห่งชาติสหรัฐอเมริกา ค้นพบเอนไซม์อีกชนิดหนึ่ง ซึ่งเมื่อรวมเข้ากับเอนไซม์ PETase ที่มีอยู่เดิม จะช่วยเร่งการย่อยสลายพลาสติกชนิด PET ได้เร็วขึ้นถึง 6 เท่า !!


โครงสร้างของ MHETase
ที่มาของภาพ https://scitechdaily.com/plastic-eating-super-enzyme-cocktail-offers-new-hope-for-plastic-waste-solution/

เอนไซม์ดังกล่าวมีชื่อว่า MHETase สกัดจากแบคทีเรียที่เติบโตอยู่ในขวดพลาสติกทิ้งแล้ว จากการทดลองของทีมนักวิทยาศาสตร์พบว่า มันสามารถผสมเข้ากันได้ดีกับเอนไซม์ PETase ที่มีอยู่เดิม เสมือนเป็น “ค็อกเทล” เอนไซม์ที่ช่วยแก้ปัญหามลพิษจากขยะพลาสติก และที่สำคัญค็อกเทลเอนไซม์นี้ สามารถจัดการกับพลาสติกได้เร็วขึ้นกว่าเดิมราว 4-6 เท่าเลยทีเดียว


MHETase (สีแดง) เชื่อมพันธะกับ PETase (สีฟ้าอ่อน) เกิดเป็น “ค็อกเทล” เอนไซม์ย่อยสลายพลาสติก
ที่มาของภาพ https://scitechdaily.com/plastic-eating-super-enzyme-cocktail-offers-new-hope-for-plastic-waste-solution/

อนึ่ง การสลายพลาสติกด้วยเอนไซม์ PETase หรือค็อกเทลเอนไซม์ (PETase - MHETase) ก็ดี คือการเปลี่ยนให้พลาสติกกลับไปอยู่ในรูปของตั้งต้นที่ใช้ผลิตพลาสติก แม้ตัวพลาสติกจะไม่ได้สลายหายไปดังเช่นใบไม้ใบหญ้า แต่มันช่วยลดปริมาณขยะพลาสติกในสิ่งแวดล้อมได้ ด้วยการสลายขยะพลาสติกในโรงงานด้วยเอนไซม์ แล้วนำสารตั้งต้นกลับไปผลิตเป็นพลาสติกใช้ใหม่อีกครั้งนั่นเอง


ที่มาของภาพ https://www.stylist.co.uk/life/enzyme-plastic-reduce-waste-recycling-science-study-environment-oceans/201627

การค้นพบอันจรรย์นี้ อาจกลายเป็นคุณประโยชน์มหาศาลกับมนุษย์และสิ่งมีชีวิตทั่วโลก ด้วยปัญหาขยะพลาสติกที่กำลังส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในทุก ๆ ด้าน แม้เราจะไม่สามารถทำลายให้มันหายไปจากโลกได้ แต่อย่างน้อยก็ช่วยลดการผลิตเพิ่ม ด้วยการสลายแล้วนำกลับมาใช้อย่างยั่งยืน

ขอขอบคุณข้อมูลจาก Scitechdaily

เกาะติดข่าวที่นี่
website: www.TNNThailand.com
facebook : TNNThailand
facebook live : TNN Live
twitter : @TNNThailand
Line : @TNNONLINE
Youtube Official : TNNThailand
Instagram : @tnn_online
TIKTOK : @tnnonline

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง