รีเซต

ต้องฉีดวัคซีนอะไร? สรุปแนวทางการฉีดวัคซีน ป้องกันโควิดสายพันธุ์เดลต้า สลับชนิด-บูสเตอร์

ต้องฉีดวัคซีนอะไร? สรุปแนวทางการฉีดวัคซีน ป้องกันโควิดสายพันธุ์เดลต้า สลับชนิด-บูสเตอร์
Ingonn
17 กรกฎาคม 2564 ( 11:52 )
256

 

หลังจากมีกระแสข่าวมาตลอดเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ป้องกันสายพันธุ์เดลต้า (อินเดีย) ที่ระบาดทั่วประเทศไทย ล่าสุดผลการประชุมจาก ศบค. ได้เคาะมาแล้วว่าบุคลากรทางการแพทย์ที่ได้รับการฉีดวัคซีนซิโนแวค 2 เข็ม สามารถกระตุ้นหรือบูสเตอร์ เข็ม 3 ด้วยวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า หรือวัคซีน mRNA ได้ และปรับเปลี่ยนการฉีดวัคซีนสำหรับประชาชนทั่วไปอีกด้วย

 

 


วันนี้ TrueID จึงมาสรุปมาตรการจากที่ประชุม ศบค. ที่เห็นชอบการฉีดวัคซีนแบบสูตรผสมได้ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของสายพันธุ์เดลต้า (อินเดีย) ทั้งในบุคลากรทางการแพทย์ และประชาชนทั่วไปและในส่วนขององค์การอนามัยโลก (WHO) ก็ให้การยอมรับจึงมีข้อสรุปในที่ประชุมว่าสามารถใช้ได้

 

 

 

ทำไมต้องฉีดวัคซีนสลับชนิด หรือบูสเตอร์ เข็ม 3


เนื่องจากปัญหาไวรัสกลายพันธุ์ โดยเฉพาะสายพันธุ์เดลตา (อินเดีย) ที่มีการแพร่ระบาดในพื้นที่กรุงเทพฯ และมีแนวโน้มจะระบาดไปทั่วประเทศ แพร่กระจายได้รวดเร็ว ทำให้มีผู้ป่วยที่รักษาในโรงพยาบาลจำนวนมาก และมีผู้ป่วยที่มีอาการหนักเพิ่มขึ้น ทำให้ต้องใช้เตียงไอซียู ในส่วนของผู้เสียชีวิต ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้สูงอายุ

 


ดังนั้น การฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 จึงมีความสำคัญที่จะต้องเร่งดำเนินการ จากการเก็บข้อมูลและทบทวนการศึกษาวิจัยจากหลายๆรายงาน พบว่าการฉีดวัคซีนสลับชนิด ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและกระตุ้นให้เกิดภูมิคุ้มกันสามารถต้านไวรัสกลายพันธุ์ได้

 

 


ปรับแนวทางการฉีดวัคซีนโควิด-19


กระทรวงสาธารณสุข จึงขอแจ้งแนวทางการฉีดวัคซีนโควิด 19 สลับชนิดสำหรับประชาชน และการฉีดวัคชีนโควิด-19 กระตุ้นภูมิคุ้มกันสำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้า ดังนี้

 

 

1. การฉีดวัคซีนโควิด 19 สลับชนิด สำหรับประชาชน

 

• ให้ฉีดวัคซีนซิโนแวคเป็นเข็มที่ 1 และเข็มที่ 2 เป็นวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า โดยมีระยะห่างระหว่างเข็ม 3-4 สัปดาห์ หากเกินกว่าระยะห่างที่กำหนด ขอให้ฉีดวัคซีนโดยเร็ว เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันเชื้อกลายพันธุ์สายพันธุ์เดลตา โดยจะสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสให้อยู่ในระดับที่สูงใกล้เคียงกับผู้ที่ใด้รับวัคชีนแอสตร้าเซนเนก้า  2 เข็ม แต่ใช้ระยะเวลาสั้นกว่า 

 


• ในกรณีผู้ที่ได้รับวัคซีนเข็มที่ 1 เป็นวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า กำหนดให้รับวัคซีนเข็มที่  2 เป็นวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าเช่นเดิม โดยมีระยะห่างระหว่างเข็ม 12 สัปดาห์

 

 

 

2. การฉีดวัคซีนโควิด 19 กระตุ้นภูมิคุ้มกันสำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้า

 

• กำหนดให้บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้า ที่ดูแลผู้ป่วยโควิด 19 เช่น บุคลากรที่ปฏิบัติงานแผนกผู้ป่วยโควิด19 แผนกผู้ป่วยนอก คลินิกทางเดินหายใจ ห้องฉุกเฉินแผนกผู้ป่วยวิกฤต โรงพยาบาลสนาม เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ เจ้าหน้าที่สอบสวนโรค เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในสถานที่กักกัน และเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานใน Hospitel ที่ได้รับวัคซีนซิโนแวค ครบ 2 เข็ม ได้รับการกระตุ้นภูมิคุ้มกันโดยการรับวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า หรือวัคซีนชนิด messenger Ribonucleic Acid (mRNA) จำนวน 1 เข็ม โดยมีระยะห่างระหว่างเข็มที่ 2 และเข็มกระตุ้นอย่างน้อย 4 สัปดาห์ หากเกินกว่าระยะห่างที่กำหนด ขอให้ฉีดวัคซีนโดยเร็ว เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสให้อยู่ในระดับที่สูงอย่างต่อเนื่อง

 

 

     **  ส่วนผู้ที่ได้รับวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า ครบ 2 เข็มนั้น เนื่องจากภูมิคุ้มกันยังอยู่ในระดับที่สูงเพียงพอ จึงยังไม่ต้องฉีดเข็มกระตุ้นในระยะนี้ ทั้งนี้ บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขอื่นๆ จะได้รับการจัดสรรวัคซีนเข็มกระตุ้นในระยะถัดไป **

 

 

• ขอให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำรวจรายชื่อบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้าที่ดูแลผู้ป่วยโควิด 19 พร้อมทั้งเสนอรายชื่อดังกล่าวต่อคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด

 

 

เพื่อพิจารณาตรวจสอบ ยืนยันสถานะของบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขแต่ละคน และส่งข้อมูลเข้าสู่ระบบฐานข้อมูลกระทรวงสาธารณสุข (MOPH IC White list) เพื่อฉีดวัคนกระตุ้นภูมิคุ้มกัน สำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้าที่ได้รับวัคซีนซิโรแวค ครบ 2 เข็มแล้ว และมีความเสี่ยงต่อการสัมผัสเชื้อโควิด-19 จากการปฏิบัติงานประจำในการดูแลผู้ป่วยเพื่อธำรงไว้ซึ่งระบบบริการสาธารณสุขของประเทศไทย

 

 

 

 

เริ่มเมื่อไหร่


การฉีดกระตุ้นภูมิคุ้มกันหรือฉีดบูสเตอร์โดสให้บุคลากรทางการแพทย์ สามารถเริ่มได้ทันที โดยจะเริ่มใช้วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าก่อน ส่วนวัคซีนไฟเซอร์ที่บริจาคจากสหรัฐอเมริกายังไม่ได้ส่งมาที่ประเทศไทย หากมาเมื่อไหร่ก็สามารถฉีดต่อได้ทันที ถ้าใครจะรอไฟเซอร์ก็สามารถรอได้ เพียงแต่ต้องป้องกันตัวเองอย่างเข้มข้น

 


ส่วนกรณีประชาชนที่ฉีดซิโนแวคครบ 2 เข็มแล้ว การฉีดบูสเตอร์ จะดำเนินการต่อไป แต่ต้องดูข้อมูลต่างๆ ให้ครบถ้วน

 

 


ผลวิจัยฉีดวัคซีนสลับชนิด ภูมิขึ้นสูง


มหาวิทยาลัยออกฟอร์ดได้ศึกษาการฉีดข้ามกันเกือบ 10 คู่ ข้อมูลเบื้องต้น พบว่า 

 


แอสตร้าเซนเนก้า 2 เข็ม ภูมิคุ้มกันขึ้น 1,300 ยูนิต

 


ไฟเซอร์เข็ม 1 ร่วมกับแอสตร้าเซนเนก้าเข็ม 2 เพิ่มมากกว่า แอสตร้าเซนเนก้า 2 เข็ม  5 เท่า

 


ถ้าแอสตร้าเซนเนก้า เข็ม 1 ร่วมกับไฟเซอร์เข็ม 2 ภูมิมากกว่าฉีดแอสตร้าเซนเนก้า 2 เข็ม  9 เท่า 

 


ถ้าฉีดไฟเซอร์ 2 เข็ม เพิ่ม 10 เท่า 

 


หากฉีดแอสตร้าเซนเนก้าเข็มแรก ไฟเซอร์เข็ม 2 ภูมิคุ้มกันได้เกือบเท่าไฟเซอร์ 2 เข็ม 

 

 

ทั้งนี้ เป็นแค่การทดลอง ยังไม่เป็นข้อกำหนด  อยู่ในขั้นให้โรงเรียนแพทย์ช่วยกันทำ ไม่ต้องกังวล ฉีดแบบเดิมตามองค์การอนามัยโลกกำหนดไปก่อน

 

ข้อมูลจาก สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข , hfocus

 

 

 

-------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง