รีเซต

อุบลฯ ลุยสู้โควิด ใช้ชีวิตอินทรีย์ สร้างความมั่นคงทางอาหาร ตัวเอง สังคม สิ่งแวดล้อมรอด!

อุบลฯ ลุยสู้โควิด ใช้ชีวิตอินทรีย์ สร้างความมั่นคงทางอาหาร ตัวเอง สังคม สิ่งแวดล้อมรอด!
77ข่าวเด็ด
15 เมษายน 2563 ( 14:00 )
35
อุบลฯ ลุยสู้โควิด ใช้ชีวิตอินทรีย์ สร้างความมั่นคงทางอาหาร ตัวเอง สังคม สิ่งแวดล้อมรอด!

อุบลราชธานี – กินสบายใจเปิดรับสมัครเกษตรกร 200 ครัวเรือน เข้าร่วมโครงการประจำปี 63 พร้อมมุ่งเน้นพัฒนาโครงสร้างอาหารมั่นคง

 

คนึงนุช  วงศ์เย็น ผู้รับผิดชอบโครงการกินสบายใจ เปิดเผยว่า โครงการกินสบายใจเป็นการดำเนินงานโดยมูลนิธิสื่อสร้างสุข ซึ่งมีการริเริ่มทำโครงการตั้งปี พ.ศ. 2555 ส่งเสริมการผลิตและการบริโภคอาหารปลอดภัยด้วยเกษตรอินทรีย์ ด้านการส่งเสริมการผลิตจะเชิญชวนเกษตรกรหันมาทำเกษตรอินทรีย์ซึ่งมีระบบรับรองมาตรฐานสอดคล้องความต้องการของท้องถิ่นมีหน่วยงานรับรองคุณภาพ 11 หน่วยงาน ส่วนการตลาดมีการเปิดตลาดนัดสีเขียวกินสบายใจ 3 แห่งและตลาดนัดอาหารปลอดภัย 2 แห่ง นอกจากนี้ในปีที่ผ่านโครงการยังมีการทำงานร่วมกับโรงเรียนกินสบายใจ 19 โรงเรียน ส่งเสริมการกินอาหารกลางวันปลอดภัยจากเกษตรอินทรีย์

 

ในปี 2563 โครงการกินสบายใจ จะเริ่มต้นทำงานกับเกษตรกรรายใหม่และรายเก่าอีกครั้ง ซึ่งจะเปิดรับสมัครทั้งหมด 200 ครัวเรือน โดยจะมีพื้นที่เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 11อำเภอเดิมและ 4 อำเภอใหม่ ดังนี้ 1) อ.เมือง  2) อ.วารินชำราบ 3)อ.สำโรง 4) อ.สว่างวีระวงศ์  5) อ.ตาลสุม 6) อ.นาเยีย  7) อ.ตระการพืชผล 8) อ.โพธิ์ไทร 9) อ.เขมราฐ 10) อ.ม่วงสามสิบ 11) อ.น้ำยืน 12) อ.ศรีเมือใหม่ 13) อ.เดชอุดม 14) อ.ดอนมดแดง 15) อ.เขื่องในและ อ.กันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ

 

อย่างไรก็ตามหากเกษตรกรอยู่ในพื้นที่ที่กล่าวมาข้างต้นสามารถสมัครเข้าร่วมโครงการได้ทันทีและถ้าอยู่นอกเหนือเขตพื้นที่นี้ก็สามารถสมัครเข้าร่วมเครือข่ายได้เช่นกันแต่เกษตรกรจะยังไม่ได้รับการตรวจแปลงรับรอง GPS จากคณะกรรมการทั้งนี้ในเขตพื้นที่ใหม่ 4 อำเภอมีความสนใจเข้าร่วมโครงการแต่กำลังประสบปัญหาภัยพิบัติทางโครงการจะพิจารณาให้เป็นกรณีพิเศษ ซึ่งในการรับสมัคร 200 ครัวเรือนจะเป็นเกษตรกรรายเดิม 100 ครัวเรือนโดยจะเป็นการต่ออายุใบรับรอง GPS ปีต่อปี

 

ด้านคุณสมบัติสำหรับเกษตรกรที่สนใจเข้าร่วมโครงการ 1)เป็นเกษตรกรที่สนใจทำการเกษตรอินทรีย์  2)สามารถเข้าร่วมกระบวนการเรียนรู้ได้ตลอดโครงการ1ครั้งเป็นอย่างน้อย 3)สามารถออกแบบพื้นที่เพื่อรองรับการผลิตที่ยั่งยืนได้  หลังจากเข้าร่วมโครงการจะมีการคัดเลือกแปลงทดลอง 50 แปลง พร้อมให้เกษตรกรเสนอปัญหาและแนวทางแก้ไข ซึ่งทางทีมงานจะสนับสนุนงบประมาณส่วนหนึ่งและองค์ความรู้ช่วยเหลือสมาชิกและเชื่อมโยงเกษตรกรในอำเภอเข้ารวมกลุ่มกันสร้างระบบควบคุมภายใน เพื่อเป็นการแจ้งข้อมูลรายละเอียดแปลงปลูกและดำเนินการตรวจเยี่ยมแปลงของสมาชิกในระบบก่อนจะมีคณะกรรมการจาก 11 หน่วยงานลงตรวจแปลงก่อนเข้าสู่ระบบตลาดของโครงการอีกครั้ง

 

ท้ายนี้เชิญชวนเกษตรกรที่สนใจเรียนรู้เกษตรกรอินทรีย์ให้ลองเปิดใจเข้ามาสมัครเข้ามาร่วมโครงการโดยมีช่องทางการสมัครที่Facebook Fan page กินสบายใจ ซึ่งเกษตรกรจะต้องเข้าไปกรอกข้อมูลพื้นฐานของตนเองและส่งกลับทาง E-mail  ,Inbox หรือไปรษณีย์ นอกจากนี้สามารถโทรสอบถามรายละเอียดเพิ่มที่  087-3786955 หรือแฟนเพจ https://www.facebook.com/Ginsabaijai   ลิ้งค์สมัคร  http://wow.in.th/371i

 

 
 

ชิษณุพงศ์ สุนทรพาณิชย์ เรียบเรียง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง