รีเซต

ทำไม? ลูกชอบ 'ตีคนอื่น-ทำร้ายคนอื่น' ชอบใช้ความรุนแรง

ทำไม? ลูกชอบ 'ตีคนอื่น-ทำร้ายคนอื่น' ชอบใช้ความรุนแรง
TeaC
23 พฤศจิกายน 2564 ( 14:00 )
2.9K
ทำไม? ลูกชอบ 'ตีคนอื่น-ทำร้ายคนอื่น' ชอบใช้ความรุนแรง

ข่าววันนี้ ข่าวทำร้ายคนอื่น การใช้ความรุนแรงมีเกิดขึ้นให้เห็นอยู่บ่อย ๆ ล่าสุด กรณี "ไอซ์ รักชนก" โพสต์ถูก "ต้อม ยุทธเลิศ" ทำร้าย หรือข่าววัยรุ่นยกพวกตีกัน ฯลฯ  ซึ่งจะขอหยิบยกพฤติกรรมการที่คุณพ่อคุณแม่ยุคใหม่สามารถนำบทเรียนจากข่าวมาปรับใช้ เพื่อรับมือกับปัญหายอดฮิตที่ทุกบ้านต้องเจอ นั่นคือ "ปัญหาความรุนแรง" ทั้งในครอบครัวเอง คนรอบข้าง ในสังคม แต่จุดเริ่มต้นจากการใช้ความรุนแรงมากจาก "ครอบครัว" โดยเฉพาะความรุนแรงในเด็ก ทั้งปัญหาลูกควบคุมอารมณ์ไม่ได้ ชอบใช้ความรุนแรงทำร้ายคนอื่น ตีคนอื่น 

ทำไม? ลูกชอบ "ตีคนอื่น-ทำร้ายคนอื่น" เป็นปัญหาที่คุณพ่อคุณแม่ต้องเจอและพบบ่อยมากที่สุด เมื่อเจ้าตัวเล็กไม่สามารถควบคุมความโกรธ และมักแสดงพฤติกรรมรุนแรงได้ตั้งแต่อายุ 1 ขวบขึ้นไป โดยปัจจัยที่ทำให้เด็กควบคุมความโกรธของตัวเองไม่ได้ มาจากหลายปัจจัยทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสภาพแวดล้อม

  1. ปัจจัยทางด้านร่างกาย  โรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ  เช่น สมาธิสั้น ไบโพลาร์ ออทิสติก เป็นต้น อีกทั้งโครงสร้างสมองและระดับสารสื่อประสาทที่ไม่สมดุลก็ส่งผลให้เด็กใจร้อน หงุดหงิด ซึมเศร้าได้

  2. ปัจจัยทางด้านจิตใจ ได้แก่ พื้นฐานธรรมชาติทางอารมณ์ของเด็ก เช่น ขี้โมโห เจ้าอารมณ์ ขาดความอดทน เป็นต้น

  3. ปัจจัยทางด้านสภาพแวดล้อม ได้แก่ การเลี้ยงดู เช่น เด็กเติบโตในครอบครัวที่ใช้ความรุนแรงแก้ปัญหา พ่อแม่เป็นคนเจ้าอารมณ์ เป็นต้น หรือการที่เด็ก ๆ ได้รับเนื้อหาเกี่ยวกับความรุนแรงผ่านสื่อต่าง ๆ ก็มีผลกับความโกรธของเด็กได้เช่นกัน

 

และปัจจัยหลัก ๆ เหล่านี้นี่เองที่ส่งผลให้เด็กก้าวร้าว ควบคุมความโกรธไม่เป็น และกลายเป็นชอบแสดงพฤติกรรมใช้ความรุนแรง ตีคนอื่น ทำร้ายคนอื่น ที่ร้ายแรงกว่านั้นยัง "ทำร้ายตัวเอง" ได้อีกด้วย หากคุณพ่อคุณแม่ปล่อยไว้ ละเลยการดุและ สังเกต และรักษา อาจส่งผลให้เด็กสะสมพฤติกรรมใช้ความรุนแรงจนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ซึ่งผลลัพธ์่์ยิ่งทำให้ติดตัวเป็นนิสัยไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน การอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นในสังคม และอาจก่อปัญหาในสังคมได้อีกด้วย

จะเห็นได้ว่า "พฤติกรรมความรุนแรงในเด็ก" เป็นปัญหาที่คุณพ่อคุณแม่ต้องรับมือ พร้อมทั้งเร่งรักษา เพื่อให้เจ้าตัวเล็กรู้จักควบคุมอารมณ์โกรธ ไม่ใช้ความรุนแรง "ทำร้ายผู้อื่น" และ "ทำร้านตัวเอง" ได้

วิธีรับมือลูกก้าวร้าว ตีคนอื่น ทำร้ายคนอื่น 

หากเด็กโกรธแบบรับมือได้ กับเด็กโกรธรุนแรงแบบรับมือไม่ได้ สังเกตได้อย่างไร? โดยเด็กโกรธแบบรับมือได้ คือ พ่อแม่สามารถประคับประคองหรือปลอบประโลมได้ สอนวิธีจัดการความโกรธได้ ส่วนเด็กโกรธรุนแรงแบบรับมือไม่ได้ คือ เด็กที่โกรธแล้วทำร้ายพ่อแม่ผู้ปกครองหรือคนรอบข้าง เช่น กัดและหยิกจนเป็นแผล

ดังนั้น วิธีการรับมืออันดับแรก พ่อแม่ต้องรู้ต้นเหตุความรุนแรงว่าเกิดจากอะไร? จะได้รับมือได้ตรงจุด ได้ทำความเข้าใจทั้งพ่อแม่เองและลูกน้อย แต่หากคุณพ่อคุณแม่ไม่สามารถรับมือเด็กที่ควบคุมอารมณ์โกรธได้ วิธีการรักษาที่ดีที่สุด คือการปรึกษาจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นผู้ชำนาญการเพื่อเข้ารับการรักษาอย่างถูกวิธี อาทิ

  • ซักประวัติ ตรวจความปกติทางอารมณ์และพฤติกรรมของเด็กและพ่อแม่ผู้ปกครอง หากสิ่งแวดล้อมโดยรอบมีความสงบเป็นปกติ แต่เด็กโกรธรุนแรงจนผิดสังเกต เราควรต้องรีบพิจารณาโรคภัยไข้เจ็บของเด็กเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง

  • ปรับเปลี่ยนร่วมกับสมาชิกในครอบครัว รู้จุดแข็ง จุดอ่อน จุดเปราะบางของเด็ก และพร้อมเปิดใจที่จะปรับเปลี่ยนไปพร้อมกันภายใต้คำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด

  • รับประทานยา หากอาการที่เกิดจากความโกรธของเด็กยังไม่ดีขึ้น การทานยาอาจช่วยให้อาการของเด็กดีขึ้น 70 – 80% เว้นแต่พ่อแม่ผู้ปกครองมีอารมณ์และพฤติกรรมที่ส่งผลให้เด็กขาดกำลังใจ ผลของยาจะเหลือเพียง 30 – 40% เท่านั้น

 

และนี่คือสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ต้องรับมือเมื่อเด็กไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้ แต่สิ่งที่สำคัญอย่างมาก พ่อแม่ต้องปรับพฤติกรรมร่วมด้วย เพื่อช่วยให้เด็กได้ซึมซับความรัก ยับยั้งห้ามใจทันเมื่อเห็นหน้าพ่อแม่ และไม่คิดทำร้ายคนอื่น หรือตัวเองได้ เพื่อให้เด็กรู้สึกไว้วางใจ พ่อแม่ต้องสังเกต ใกล้ชิด คอยสอน คอยแนะนำถึงวิธีจัดการอารมณ์โกรธ เพราะปัจจุบันข่าวความรุนแรงในสังคมมีให้เห็นบ่อย ๆ แต่ต้องไม่ชาชิน 

 

โตไปไม่ใช้ความรุนแรง ใช้เหตุผลแทนกันนะ

 

ข้อมูล : โรงพยาบาลกรุงเทพ

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

กดเลย >> community แห่งความบันเทิง

ทั้งข่าว หนัง ซีรีส์ ละคร ดนตรี และศิลปินไอดอล ที่คุณชื่นชอบ บนแอปทรูไอดี

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง