รีเซต

"ดาวอังคาร" ดาวเคราะห์ต้องคำสาป ภารกิจสุดยากของมนุษยชาติ (มีคลิป)

"ดาวอังคาร" ดาวเคราะห์ต้องคำสาป ภารกิจสุดยากของมนุษยชาติ (มีคลิป)
TNN ช่อง16
17 มกราคม 2564 ( 20:45 )
454



ภารกิจสำรวจดาวอังคารไม่ใช่เรื่องง่าย เรียกได้ว่าปราบเซียนเลยทีเดียว มนุษย์พยายามสำรวจดาวอังคารมาหลายสิบปีแล้ว เพราะตั้งแต่ปี พ.ศ. 2519 ที่ยาน ‘ไวกิ้ง 1’ ของนาซ่า สหรัฐฯ ลงจอดบนดาวอังคารได้สำเร็จ โดยไม่มีความเสียหายใดๆ หลังจากนั้นนานถึง 13 ปี ถึงจะมีความพยายามสำรวจดาวเคราะห์สีแดงนี้อีกครั้ง 


ราวกับว่าดาวอังคารเป็นดาวเคราะห์ต้องคำสาปที่ยากจะไปถึง


ต่อมาในทศวรรษที่ 20 ดาวอังคารกลายเป็นดาวเคราะห์เนื้อหอมที่หลายประเทศพยายายามจะส่งยานขึ้นไปสำรวจ ซึ่งส่วนใหญ่ล้มเหลว ที่ทำสำเร็จก็คือสหรัฐและอินเดีย ถ้าวัดจากการเข้าวงโคจรและลงจอดสำเร็จ หรือทำการสำรวจได้ 


ถึงแม้ดาวอังคารจะเป็นดาวเคราะห์ลำดับที่สี่จากดวงอาทิตย์ แต่กว่าที่โลกกับดาวอังคารจะโคจรมาอยู่ด้านเดียวกันของดวงอาทิตย์ ต้องใช้เวลาประมาณ 26 เดือน และต้องอาศัยเวลานานถึง 15-18 ปี จึงจะเกิดปรากฏการณ์โลกกับดาวอังคารโคจรมาใกล้กันมากที่สุด



แล้วทำไมมุนษย์ถึงอยากไปดาวอังคารกันนัก ? 


นักวิทยาศาตร์ตั้งข้อสันนิษฐานว่าอาจมีสิ่งมีชีวิตอยู่บนดาวอังคาร เพราะดาวอังคารมีลักษณะที่คล้ายโลก มีร่องรอยของน้ำ หลุมอุกกาบาตเช่นเดียวกับดวงจันทร์ และยังพบปากปล่องภูเขาไฟจำนวนมาก 


นอกจากนี้เวลาและฤดูกาลก็ยังคล้ายกับโลก โดยดาวอังคารใช้เวลาหมุนรอบตัวเอง 24 ชั่วโมง 40 นาที ใกล้เคียงกับโลกเลยไหมล่ะ?!


ส่วนของอุณภูมิของดาวอังคารก็อยู่ในระดับที่สิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ได้ อุณภูมิสูงสุดที่ 30 องศาเซลเซียส ต่ำสุดที่ -140 องศาเซลเซียส ส่วนอุณหภูมิเฉลี่ยเท่ากับ -63 องศาเซลเซียส 


ซึ่งถือว่าดีกว่าเมื่อเทียบกับดาวเคราะห์ดวงอื่น ๆ เช่น ดาวศุกร์ มีอุณภูมิสูงจัดถึง 400 องศาเซลเซียส 


ดังนั้น ดาวอังคารจึงเป็นดาวเคราะห์ที่เหมาะสำหรับสิ่งมีชีวิตมากกว่าดาวอื่นๆ 


อย่างไรก็ตาม ดาวอังคารอยู่ห่างจากโลกมาก ต้องใช้เวลาเดินทางนาน 3-6 เดือนเลยทีเดียว เพราะฉะนั้นประเทศที่ต้องการพิชิตภารกิตสำรวจดาวอังคารจะต้องมีความพร้อมที่สุดทั้งในด้านทรัพยากร เงินทุน และบุคลากร 


ในปี 2021 นี้ ภารกิจสำรวจดาวอังคารน่าตื่นตาตื่นใจมากขึ้น เมื่อประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐฯ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และจีน พร้อมใจกันส่งยานอวกาศ 3 ลำ จาก 3 ประเทศ เพื่อสำรวจวงโคจรรอบดาวอังคาร ตั้งแต่เดือน ก.ค. ปี 2020  หวังสร้างประวัติศาสตร์ใหม่ๆ ในการปักธงบนดาวอังคาร


สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ได้ชื่อว่าเป็นชาติอาหรับชาติแรกที่ส่งยานอเพื่อศึกษาสภาพอากาศของดาวอังคาร โดยใช้ชื่อยานว่า “Hope”  


ในขณะที่จีนได้ส่งยานชื่อ “เทียนเหวิน-1” มีความหมายว่า “คำถามแห่งสรวงสวรรค์” ซึ่งภารกิจนี้ก็ครั้งแรกของจีนในการสำรวจดาวอังคาร หลังจากเคยร่วมมือกับรัสเซีย เมื่อปีพ.ศ. 2554 แต่การปล่อยยานก็ล้มเหลว เป้าหมายต่อไปของจีนก็คือการส่งยานโรเวอร์ 6 ล้อ ที่สามารถวิ่งบนผิวดาวอังคารได้


ส่วนพี่ใหญ่อย่างสหรัฐฯ ยอมน้อยหน้าใครที่ไหน NASA ประกาศภารกิจค้นหาสิ่งมีชีวิตบนดาวอังคาร โดยส่งยานโรเวอร์กึ่งหุ่นยนต์ที่มีขนาดเท่ารถเก๋ง ชื่อว่า Perseverance (‘เพอร์เซเวียแรนซ์) คำนี้หมายถึงความเพียรพยายาม สำหรับยานโรเวอร์นี้จะมาทำหน้าที่แทน Curiosity หุ่นยนต์ตัวเก่า เมื่อยานตัวใหม่ลงจอดปุ๊ป ก็จะปล่อยเฮลิคอปเตอร์ขนาดเล็ก ที่ใช้สำหรับการบินในสภาพอากาศเบาบางบนดาวอังคารได้ด้วย 


เมื่อความทะเยอทะยานของมนุษย์ไม่มีที่สิ้นสุด ภารกิจสำรวจดาวอังคารก็ยังดำเนินต่อไป  แต่สิ่งที่สำคัญกว่าคือเราจะได้ประโยชน์อะไรจากการสำรวจดินแดนแห่งนี้ แน่นอนว่าต้องไม่ใช้แค่การประกาศศักดาและปักธงชาติของตัวเอง แต่คือการค้นพบสิ่งมีชีวิตใหม่ๆ และการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศที่จะเป็นประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติในอนาคต


หายสังสัยกันแล้วใช่มั้ยคะว่าทำไมภารกิจสำรวจดาวอังคารถึงใช้เวลานานและยากมากๆ แต่มนุษย์ก็ไม่ยอมแพ้ง่าย ๆ เลย ในอนาคตอันใกล้นี้เราอาจจะได้เห็นคนไปเหยียบดาวอังคารได้จริงๆ สักที



ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง