รีเซต

เตือนอย่าเก็บไปกิน! ปู กุ้ง ปลาตายเกลื่อน "หาดทุ่งวัวแล่น" เกิดจากอะไร

เตือนอย่าเก็บไปกิน! ปู กุ้ง ปลาตายเกลื่อน "หาดทุ่งวัวแล่น" เกิดจากอะไร
TNN ช่อง16
22 มิถุนายน 2566 ( 16:51 )
78
เตือนอย่าเก็บไปกิน! ปู กุ้ง ปลาตายเกลื่อน "หาดทุ่งวัวแล่น" เกิดจากอะไร

เปิดภาพปรากฏการณ์แพลงก์ตอนบลูมทำ ปลาตายเกลื่อน "หาดทุ่งวัวแล่น" จังหวัดชุมพร  เตือนชาวบ้านอย่านำไปรับประทาน


นายวัชรินทร์ สุวพิศ ปลัด อบต.สะพลี นายบุญญวัฒน์ ทองหอม ประมงอำเภอปะทิว เจ้าหน้าที่ ศรชล.ชุมพร ได้ลงตรวจสอบที่บริเวณริมหาดทุ่งวัวแล่น หมู่ 8 ตำบลสะพลี อ.ปะทิว จ.ชุมพร ซึ่งเป็นแหล่งเที่ยวขึ้นชื่ออันดับหนึ่งของจังหวัด ได้มีชาวบ้านนับร้อยคน นำภาชนะลงไปเก็บปลาที่ลอยมาตายอยู่บนชายหาดจำนวมากนับหมื่นกิโลกรัม ตลอดชายหาดร่วม 10 กิโลเมตร มองดูขาวโพลนไปด้วยปลาหลากหลายชนิด ทั้งปลาตัวเล็ก ปลาตัวใหญ่ ปูม้า รวมทั้งกุ้งแชบ๊วย หรือกุ้งทะเล 


โดยชาวบ้านบางคนบอกว่า มาเก็บไปกินและแล่เนื้อขาย เพราะปรากฏการณ์ดังกล่าวจะเกิดขึ้นทุกปี หรือที่ชาวบ้านเรียกว่าปลาตายน้ำแดง และมาเก็บไปกินไปขายทุกครั้ง ถือว่าเป็นเรื่องปกติและไม่เป็นอันตรายแต่อย่างใด



ภาพจาก ผู้สื่อข่าวชุมพร

 



ด้านนางวันเพ็ญ  อายุ 60 ปี เดินทางมากับครอบครัวจากพื้นที่หมู่ 4 ตำบลถ้ำสิงห์ อ.เมืองชุมพร บอกว่าตนรู้ข่าวตั้งแต่เมื่อคืนว่ามีปลาตายน้ำแดง ซึ่งปลาจะตายในช่วงนี้ทุกปี ตนไม่เก็บไปกินแต่ตนมาเก็บเอาปลาทั้งหมดไปทำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ ไว้ใช้ในการเกษตรในสวนทุเรียนและพืชผักอื่น ๆ โดยผสมตามสูตรของตน ใช้รดพืชผัก ต้นไม้ได้ดีมาก และยังเก็บไว้ได้นานอีกด้วย


ขณะที่ นายบุญญวัฒน์ ทองหอม ประมงอำเภอปะทิว กล่าวว่า ได้รับแจ้งจากชาวประมงว่า ปรากฎการณ์นี้ได้เกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อคืนแล้ว ซึ่งชาวบ้านเรียกว่าปลาตายน้ำแดง หรือ น้ำทะเลเปลี่ยนสีนั้นเอง ทำให้เกิดปรากฏการณ์แพลงก์ตอนบลูมจำนวนมาก จนออกซิเจนในน้ำมีน้อย อีกทั้งเมื่อเกิดแพลงก์ตอนบลูมมากๆมีความหนาแน่น ก็จะเข้าไปขัดขวางการหายใจของปลาที่บริเวณเหงือกด้วย ทำให้ปลาขาดออกซิเจนแล้วพยายามดิ้นเข้าชายฝั่งและก็ตาย



ภาพจาก ผู้สื่อข่าวชุมพร

 


ตนขอประชาสัมพันธ์ให้ชาวบ้านที่มาเก็บปลาอย่าเพิ่งนำไปบริโภค เพราะยังไม่ทราบว่าเป็นแพลงก์ตอนบลูมชนิดใด จะเป็นอันตรายกับผู้บริโภคหรือไม่ ซึ่งได้ประสานให้ศูนย์วิจัยประมงชาวฝั่ง ใด้มาเก็บน้ำและปลาตัวอย่างไปตรวจสอบแล้ว ซึ่งต้องรอผลตรวจว่าเป็นแพลงก์ตอนชนิดไหน เพราะบางชนิดกินได้ บางชนิดกินไม่ได้ แต่ถ้านำไปทำปุ๋ยหมักไม่มีปัญหา


ภาพจาก ผู้สื่อข่าวชุมพร

 


ภาพจาก ผู้สื่อข่าวชุมพร

 


ภาพจาก ผู้สื่อข่าวชุมพร

 





ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิชาการด้านทะเลและสิ่งแวดล้อม และอาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ออกมาโพสต์เฟซบุ๊ก Thon Thamrongnawasawat ถึงเรื่องดังกล่าวว่า


"หาดทุ่งวัวแล่น ชุมพร มีปลาขึ้นมาตายจำนวนมาก จึงอยากอธิบายให้เพื่อนธรณ์ เป็นปรากฏการณ์ปรกติ คนแถวนั้นเรียก “น้ำแดง” (ชื่อเฉพาะ) มักเกิดตอนต้นฤดูฝน เมื่อน้ำจืดลงทะเลเป็นจำนวนมาก พาธาตุอาหารลงทะเล สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนรวดร็ว เกิดแพลงก์ตอนบลูม


สัปดาห์ก่อนคณะประมงไปสำรวจทะเลชุมพร/เรือปราบพอดี จึงมีภาพและข้อมูลมาให้ดูครับ ภาพแรกคือ่าวทุ่งวัวแล่น น้ำตื้น เห็นน้ำสีเขียว เกิดปรากฏการณ์แพลงก์ตอนบลูม ทำให้ปลาขาดออกซิเจนพร้อมกันจำนวนมาก น้ำตื้นและร้อน ปลาหน้าพื้นทะเลบางส่วนจึงตาย ก่อนโดนพัดขึ้นมาบนหาด

ภาพสองเป็นที่ห่างฝั่ง บริเวณเรือปราบ น้ำแบ่งเป็น 2 ชั้น น้ำใสอยู่ด้านบน แต่เรือปราบลึก 24 เมตร ปลาจึงพออยู่ได้ แม้อาจมีปลาน้อยกว่าปรกติเนื่องจากน้ำร้อน ฯลฯ กลับมาที่ทุ่งวัวแล่น ตามข่าวบอกว่า ปีนี้ปลาตายเยอะกว่าปีก่อนๆ เกี่ยวกับโลกร้อนไหม ?

คำตอบคืออาจเกี่ยวบ้าง เช่น น้ำร้อนทำให้ปลาตายง่ายขึ้น ฝนตกเยอะน้ำจืดลงทะเลเยอะ ฯลฯ แต่ผลกระทบจากโลกร้อนต้องศึกษาให้ถี่ถ้วน ด้วยข้อมูลตอนนี้ คงบอกว่าเมื่อโลกร้อนขึ้น “อาจ” ส่งผลกระทบต่อแพลงก์ตอนบลูมและปลาตาย ไม่เหมือนปะการังฟอกขาวที่เห็นชัดกว่าและอธิบายได้ตรงกว่า ไม่ควรเก็บปลามากิน แม้ไม่มีพิษ แต่ถ้าตายมานาน ไม่สด อาจติดเชื้อ

ผลกระทบโลกร้อนต่อทะเลเป็นเรื่องละเอียดอ่อน โดยเฉพาะการเร่งปรากฏการณ์เดิมให้แรงขึ้น เช่น ปะการังฟอกขาว แพลงก์ตอนบลูม ภัยพิบัติเริ่มมองเห็นชัดขึ้นเรื่อยๆ แล้วครับ"


ภาพจาก ผู้สื่อข่าวชุมพร

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง