จีนประกอบ 'เครื่องทองสัมฤทธิ์' 2 ชิ้นส่วนที่ซากซานซิงตุย
เฉิงตู, 4 ม.ค. (ซินหัว) -- เมื่อวันจันทร์ (2 ม.ค.) สถาบันวิจัยโบราณวัตถุทางวัฒนธรรมและโบราณคดีมณฑลซื่อชวน (เสฉวน) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ยืนยันว่ารูปปั้นทองสัมฤทธิ์ที่ซากโบราณสถานซานซิงตุย (Sanxingdui Ruins) อันเลื่องชื่อ ประสบความสำเร็จในการจับคู่กับเครื่องทองสัมฤทธิ์รูปสัตว์อีกชิ้นหนึ่งด้วยความช่วยเหลือของแบบจำลอง 3 มิติ (3D)
ชิ้นส่วนเครื่องทองสัมฤทธิ์ 2 ชิ้นดังกล่าวมาจากหลุมบูชายัญที่แตกต่างกัน ทว่าการประกอบกันของทั้งสองชิ้นส่วนนี้บ่งชี้ว่าหลุมทั้งสองถูกสร้างขึ้นในช่วงเวลาเดียวกันซากโบราณสถานซานซิงตุย ถูกค้นพบครั้งแรกในช่วงปลายทศวรรษ 1920 ครอบคลุมพื้นที่ 12 ตารางกิโลเมตรในเมืองกว่างฮั่น และได้รับการขนานนามว่าเป็นหนึ่งในการค้นพบทางโบราณคดีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกของศตวรรษที่ 20 โดยเชื่อกันว่าเป็นซากปรักหักพังของอาณาจักรสู่ (Shu Kingdom) ที่มีอายุย้อนหลังราว 4,500-3,000 ปีปัจจุบันมีการขุดพบเครื่องทองสัมฤทธิ์ หยก เครื่องทอง เครื่องปั้นดินเผา และงาช้างมากกว่า 50,000 รายการที่ซากโบราณสถานแห่งนี้