รีเซต

อัปเดท ยุบ สภา 20 มีนาคม 2566 หรือไม่? ลุ้น กกต.เคาะวันเลือกตั้ง 66

อัปเดท ยุบ สภา 20 มีนาคม 2566 หรือไม่? ลุ้น กกต.เคาะวันเลือกตั้ง 66
TrueID
20 มีนาคม 2566 ( 11:39 )
239
อัปเดท ยุบ สภา 20 มีนาคม 2566 หรือไม่? ลุ้น กกต.เคาะวันเลือกตั้ง 66

ข่าววันนี้ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2566 เมื่อไหร่? คงต้องจับตากระแสข่าว "ลุงตู่" พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จะประกาศ ยุบสภา 20 มีนาคม 2566 แล้วหาก ยุบสภา จะเกิดอะไรขึ้นกับเราบ้าง?

 

ยุบสภา 2566

 

สำหรับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2566 นั้น การเลือกตั้ง ส.ส. ตามรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 มาตรา 102 กำหนดให้มีการเลือกตั้งภายใน 45 วันนับแต่วันที่สภาผู้แทนราษฎรสิ้นอายุ แต่หากกรณีนายกรัฐมนตรี ประกาศ ยุบสภา นั้น ซึ่งต้องกำหนดเลือกตั้งภายใน 5 วันนับตั้งแต่วันที่มีพระราชกฤษฎีกายุบสภา

 

ทั้งนี้ หลายสำนักข่าวได้รายงานข่าวประเด็นร้อนกรณี ยุบสภา วันนี้ โดยได้มีการสัมภาษณ์ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ถึงกระแสข่าว ยุบสภา ในวันนี้ว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้มีการทูลเกล้าฯ พระราชกฤษฎีกายุบสภาแล้ว และคาดว่า จะประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาในวันนี้ ซึ่งจะมีผลเมื่อราชกิจจานุเบกษาลงในวันดังกล่าว

 

แต่เมื่อลงมาแล้วก็จะไม่ทราบวันเลือกตั้ง เพราะผู้กำหนดวันเลือกตั้ง 2566 คือ คณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต.

 

จากนั้น เมื่อถามว่า วันเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันที่ 7 หรือ 14 พฤษภาคม ตามที่คาดการณ์ใช่หรือไม่ นายวิษณุ ได้ตอบประเด็นวันเลือกตั้ง 66 ว่า ประมาณนั้น

 

ก็คอยซิจ๊ะ ประยุทธ์ตอบปม ยุบสภา วันนี้

ข้ามฝากมาที่ พล.อ.ประยุทธ์ ตอบสั้น ๆ กรณีนักข่าวทำเนียบรัฐบาลหลายสำนักข่าวได้สัมภาษณ์ถึง พระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) ยุบสภาจะประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันนี้ใช่หรือไม่

 

ยุบสภา 20 มีนาคม 2566 จะมีอะไรตามมาบ้าง?

หลังปมร้อน ยุบสภา 20 มีนาคม 2566 สะพัดออกมาให้กลายเป็นประเด็นที่สังคมจับตามอง สรุปยุบสภาวันนี้หรือไม่ จะมีอะไรตามมาหาก "ลุงตู่" ประกาศยุบสภาวันนี้ ซึ่งอดีต กกต. อย่าง นาย สมชัย ศรีสุทธิยากร ปัจจุบันนั่งเก้าอี้ ประธานยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนนโยบายพรรคเสรีรวมไทย ได้โพสต์หัวข้อ ยุบสภา 20 มี.ค.จะมีอะไรตามมาบ้าง? ด้วย 4 ข้อตามนี้

 

  1. การเลือกตั้ง จะเป็นวันที่ 14 พฤษภาคม 2566  หรือ 55 วันหลังวันยุบสภา  
  2. การรับสมัครเขตวันแรก น่าจะเริ่มในวันที่ 3 เมษายน และ สมัครบัญชีรายชื่อวันแรก น่าจะเป็นวันที่ 4 เมษายน 
  3. การคิดค่าใช้จ่ายในการหาเสียง เริ่มนับจากวันยุบสภา  ผู้สมัครเขตไม่เกิน 1.9 ล้านบาท  และพรรคการเมืองไม่เกิน 44 ล้านบาท
  4. คดีทุจริตเลือกตั้งที่เกิดขึ้นก่อนหน้า ยุบสภา หากผู้นั้นไม่เป็นผู้สมัคร  ถือว่าโยนทิ้งได้  แต่หากผู้นั้นเป็นผู้สมัคร แล้ว กกต. โยนคดีทิ้ง  กกต.จะไม่รอดเอง เพราะ มีมาตรา 132 ของ พ.ร.ป. ส.ส. ที่ล้วงกลับไปถึงช่วง 180 วันก่อนครบอายุสภา  และเนื่องจาก กกต.ไปออกระเบียบว่า ผู้ประสงค์จะสมัครให้ถือเป็นผู้สมัคร

 

ลุงคนไหนอ่านแล้วสะดุ้ง  ใจไม่ถึงก็อย่าลง ส.ส. บัญชีรายชื่อครับ

 

ทำความเข้าใจ เลือกตั้ง ส.ส. 2566

โดยแบ่งเป็น 2 กรณีใหญ่ ๆ ที่เป็นไปได้จะเกิดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2566 นั่นคือ

  1. กรณีอยู่ครบวาระ
  2. กรณียุบสภา

 

กรณีอยู่ครบวาระ

มีนาคม 2566

  • 23 มี.ค. อายุของสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง
  • 30 มี.ค. วันสุดท้ายที่คาดว่า พระราชกฤษฎีกาให้เลือกตั้ง ส.ส.มีผลบังคับใช้
  • 31 มี.ค. กกต.ประกาศกำหนดวันเลือกตั้งและประกาศกำหนดวันรับสมัคร

 

เมษายน 2566

  • 3-7 เม.ย. วันรับสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.
  • 11 เม.ย. วันสุดท้ายของการประกาศกำหนดหน่วยเลือกตั้ง สถานที่เลือกตั้ง และเป็นวันสุดท้ายในการประกาศบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
  • 14 เม.ย. ประกาศบัญชีรายชื่อผู้สมัคร ส.ส.
  • 16 เม.ย. วันสุดท้ายในการส่งหนังสือแจ้งเจ้าบ้าน และสรรหาแต่งตั้งคณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง
  • 26 เม.ย. วันสุดท้ายของการเปลี่ยนแปลงหน่วยเลือกตั้ง สถานที่เลือกตั้ง และวันสุดท้ายของการเพิ่มชื่อ-ถอนชื่อ
  • 30 เม.ย. วันลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้าในเขตเลือกตั้ง-นอกเขตเลือกตั้ง และแจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้ง

 

พฤษภาคม 2566

  • 1 พ.ค. วันสุดท้ายยื่นคำร้องเกี่ยวกับสิทธิในการสมัครรับเลือกตั้ง
  • 1-6 พ.ค. แจ้งเหตุไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
  • 3 พ.ค. วันสุดท้ายที่ศาลฏีกาพิจารณาสิทธิสมัคร กรณีผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งไม่รับสมัคร
  • 6 พ.ค. วันสุดท้ายที่ผู้อำนวยการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งยื่นคำร้องศาลฎีกา กรณีผู้สมัครขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้าม
  • 7 พ.ค. เลือกตั้ง สส ครั้งต่อไป หรือวันเลือกตั้ง ส.ส.เป็นการเลือกตั้งทั่วไป
  • 8-14 พ.ค. วันแจ้งเหตุไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้ง 2566

 

กรณียุบสภา

  • กำหนดวันเลือกตั้งภายใน 5 วันนับตั้งแต่วันที่มีพราะราชกฤษฎีกายุบสภา

 

ข้อมูล : มติชน, ไทยรัฐ, TNN Online, กรุงเทพธุรกิจ, FB สรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมกรข่าว 

ภาพ : FB Wassana Nanuam 

 

บทความเกี่ยวกับการ เลือกตั้ง 2566

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง