รีเซต

วัคซีนไฟเซอร์ 1.54 ล้านโดสถึงไทย ใครได้ฉีดบ้าง? เริ่มฉีดเมื่อไหร่?

วัคซีนไฟเซอร์ 1.54 ล้านโดสถึงไทย ใครได้ฉีดบ้าง? เริ่มฉีดเมื่อไหร่?
Ingonn
30 กรกฎาคม 2564 ( 15:38 )
226
วัคซีนไฟเซอร์ 1.54 ล้านโดสถึงไทย ใครได้ฉีดบ้าง? เริ่มฉีดเมื่อไหร่?

วัคซีนไฟเซอร์ ล็อตที่สหรัฐบริจาคจำนวน 1.54 ล้านโดส ถึงไทยแล้ววันนี้ (30 ก.ค.64) โดยจะนำไปเก็บที่คลังวัคซีนที่กำหนด เพราะการเก็บวัคซีนไฟเซอร์ต้องเก็บในอุณหภูมิติดลบ 70 องศาเซลเซียล และจะมีการสอนวิธีการผสมการฉีดวัคซีน เพราะวัคซีนไฟเซอร์จะไม่เหมือนวัคซีนที่เราใช้ ไม่ว่าจะแอสตร้าฯ หรือซิโนแวคที่ดูดจากขวดและเก็บรักษาที่ 2-8 องศาเซลเซียลก็สามารถนำมาฉีดประชาชนได้ แต่วัคซีนไฟเซอร์ตัวนี้ต้องเก็บที่อุณหภูมิติดลบ 70 องซาเซลเซียส

 

 


เนื่องจากวัคซีนไฟเซอร์ เป็นวัคซีนเข้มข้น จึงต้องผสมน้ำเกลือตามสัดส่วน โดย 1 ขวดจะฉีดได้ 6 คน และต้องเก็บที่อุณหภูมิติดลบ 70 องซาเซลเซียส ถ้าเก็บในอุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเซียลจะเก็บได้ประมาณ 4 สัปดาห์ ซึ่งแตกต่างจากวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า และวัคซีนซิโนแวค ที่สามารถดูดจากขวดได้โดยไม่ต้องผสมน้ำเกลือและเก็บรักษาที่ 2-8 องศาเซลเซียล

 

 

 

เริ่มฉีดเมื่อไหร่

 

นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค ระบุว่า ขณะนี้วัคซีนไฟเซอร์ทั้งหมดถูกส่งไปเก็บอยู่ในคลังเก็บวัคซีนของบริษัทซิลลิก ฟาร์มา ประเทศไทย จำกัด โดยระหว่างนี้จะส่งตัวอย่างไปตรวจสอบที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ คาดว่า จะได้รับผลตรวจสอบคุณภาพวันที่ 2 ส.ค. และในวันที่ 3-4 ส.ค. บริษัทจัดทำระบบตรวจสอบกลับ และแพ็กวัคซีนเพื่อจัดส่ง

 

 

ก่อนจัดส่งไปยังหน่วยฉีดวัคซีนในวันที่ 5-6 ส.ค. และในวันที่ 7-8 ส.ค. โรงพยาบาลเตรียมพร้อมฉีดวัคซีน และดีเดย์เริ่มฉีดวัคซีนวันแรก 9 ส.ค. ต่อมากลางเดือนส.ค. จึงจะจัดส่งวัคซีนเข็มที่ 2 สำหรับฉีดในช่วงปลายเดือน 

 

 

 

กลุ่มเป้าหมายในการจัดสรรวัคซีนวัคซีนไฟเซอร์ล็อตแรก 1.54 ล้านโดส 


1. บุคลากรทางการแพทย์ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับภารกิจดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ทั่วประเทศ (เข็ม 3 กระตุ้นภูมิคุ้มกัน) จำนวน 700,000 โดส

 


2. ผู้มีภาวะเสี่ยงสูงต่อการเสียชีวิตจากการติดเชื้อโควิด 19 ที่มีสัญชาติไทย จำนวน 645,000 โดส


   - ผู้สูงอายุ 


   - ผู้มีโรคเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค อายุ 12 ปีขึ้นไป


   - หญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์ตั้งแต่ 12 สัปดาห์ขึ้นไป 

 


3. ชาวต่างชาติที่อาศัยในประเทศไทย เน้นผู้สูงอายุ และโรคเรื้อรัง หญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์ตั้งแต่ 12 สัปดาห์ขึ้นไป และผู้เดินทางไป ตปท. ที่จำเป็นต้องรับวัคซีนไฟเซอร์ เช่น นักการทูต นักศึกษา จำนวน 150,000 โดส

 


4. ทำการศึกษาวิจัย (ได้รับการอนุมัติโดยคณะกรรมการวิจัยจริยธรรม) จำนวน 5,000 โดส

 


5. สำรองส่วนกลางสำหรับตอบโต้การระบาดของเชื้อกลายพันธุ์ จำนวน 40,000 โดส

 

 

 

 

กระแส #เก็บไฟเซอร์ไว้ให้ใคร


หมอไม่ทน, ภาคีบุคลากรสาธารณสุข, Nurses Connect, สมาพันธ์นิสิตนักศึกษาแพทย์นานาชาติแห่งประเทศไทย (IFMSA-Thailand), DNA บุคลากรทางการแพทย์และอาสาสมัคร, นิสิตนักศึกษาแพทย์เพื่อประชาธิปไตย และภาคีเทคนิคการแพทย์ เรียกร้องต่อกระทรวงสาธารณสุข มีความชัดเจนในแผนกระจายวัคซีนไฟเซอร์ ดำเนินงานด้วยความโปร่งใสและกระจายวัคซีนให้ถึงมือผู้ควรได้รับตามความเสี่ยงและความจำเป็น 

 


โดยนำวัคซีน mRNA มาเป็นวัคซีนหลักให้ประชาชนคนไทยทุกคน ชี้แจงและเปิดเผยข้อมูลว่ามีบุคลากรฯ ได้รับวัคซีน แอสตร้าเซนเนก้าเป็นบูสเตอร์โดสจำนวนเท่าใด และยังเหลือบุคลากรฯ ที่ยืนยันจะรับไฟเซอร์เป็นจำนวนเท่าใด รวมถึงแจ้งความคืบหน้าในการรับวัคซีน ให้มีความชัดเจนในการสื่อสารข้อมูลต่างๆ แก่ประชาชน ด้วยการรายงานความคืบหน้าในการจัดสรรวัคซีนพร้อมหลักฐานยืนยันอย่างสม่ำเสมอเพื่อไม่ให้เกิดความสับสนและความไม่มั่นใจ

 

 

ล่าสุดเครือข่ายบุคลากรทางการแพทย์ ขึ้นป้ายโฆษณา “จับตาไฟเซอร์” ทั่วกรุงเทพและได้ไปยื่นหนังสือแสดงข้อร้องเรียนต่อกระทรวงสาธารณสุข เวลา 11.00 น. ที่ผ่านมา

 

 

 

 

ย้ำ! การจัดสรรไฟเซอร์ถึงด่านหน้าแน่นอน


คณะทำงานด้านบริหารจัดการการให้บริการวัคซีนโควิด 19 กรณีวัคซีนไฟเซอร์ (Pfizer) ซึ่งมีผู้แทนและผู้ทรงคุณวุฒิจากทุกภาคส่วน ร่วมกันพิจารณาจัดสรร และกระจายวัคซีนไฟเซอร์ ให้กับกลุ่มเป้าหมายตามมติที่ประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด 19 (ศบค.) โดยวัคซีนไฟเซอร์ล็อตแรก จำนวน 1.54 ล้านโดสจะเริ่มฉีดต้นเดือนสิงหาคม 2564 ในกลุ่มบุคลากรการแพทย์และสาธารณสุข/บุคลากรด่านหน้า ไม่น้อยกว่า 5 แสนโดส ที่เหลือจัดสรรไปยังกลุ่มเสี่ยง พื้นที่เสี่ยงอื่น ๆ และเพื่อควบคุมการระบาดในพื้นที่

 

 

บุคลากรด่านหน้าทุกคนต้องได้รับวัคซีนเข็มที่ 3 เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ซึ่งขณะนี้บุคลากรบางส่วนที่ฉีดวัคซีนซิโนแวค 2 เข็ม และฉีดเข็ม 3 เป็นแอสตร้าเซนเนก้า ระยะห่าง 3-4 สัปดาห์ ผลการศึกษาพบว่ามีระดับภูมิคุ้มกันสูงมาก มากกว่าฉีดเข็ม 1 ซิโนแวค เข็ม 2 แอสตร้าเซนเนก้า, แอสตร้าเซนเนก้า 2 เข็ม, ไฟเซอร์ 2 เข็ม, ซิโนแวค 2 เข็ม และสูงกว่าภูมิคุ้มกันหลังการติดเชื้อ รวมทั้งไม่มีการบังคับให้ฉีดเข็มกระตุ้นเป็นแอสตร้าเซนเนก้า การฉีดเป็นไปตามความสมัครใจ

 

 

นอกจากนั้นยังไม่มีการบังคับให้หมอพยาบาลฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า ตามกระแสข่าวบังคับหมอพยาบาลให้ฉีควัคซีนแอสตร้าฯ ทั้งหมด หากไม่ยอมฉีด แล้วติดโควิด-19 จะไม่ได้รับเงิน โดยทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงพบว่าเป็นข่าวปลอม เป็นข้อมูลเท็จทั้งสิ้น

 

 

 


ข้อมูลจาก ศูนย์ปฏิบัติการนายกรัฐมนตรี - PMOC , ศูนย์ข้อมูล COVID-19 , Nurses Connect

 

 

 

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง