ไม่ใช่แค่คน สัตว์เลี้ยงก็ซึม น้องๆ ก็มีอากาศเศร้าหลังหยุดยาว Post Holiday Blue ได้

การได้พักผ่อนในวันหยุด นอนพักอิ่มๆ หรือไปเที่ยวฉ่ำในช่วงวันหยุด ทำให้หลายๆ คนเหมือนได้ชาร์ตพลังอีกครั้ง แต่พอต้องกลับมาทำงาน เรียน หรือกลับสู่ชีวิตประจำเหมือนเดิม อาจทำให้เกิดความเหนื่อยล้า เครียด หรือที่เรียกว่าอาการ Post Holiday Blue ได้
แต่อาการนี้ ไม่ได้เกิดขึ้นกับแค่มนุษย์เท่านั้น แต่สัตว์เลี้ยงก็สามารถเป็นได้เช่นกัน เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหันในสภาพแวดล้อม ที่สามารถรบกวนจังหวะชีวภาพของน้องๆ ได้ ก็ส่งผลต่อสุขภาพกายและใจของสัตว์เลี้ยงด้วย
สัตว์เลี้ยงจะเกิดอาการ Post Holiday Blue จากอะไรได้บ้าง ?
วันหยุดยาว พฤติกรรมของผู้คน สิ่งแวดล้อม และเจ้าของสัตว์ที่เปลี่ยนไป อาจทำให้ชีวิตประจำวันของสัตว์เลี้ยงเปลี่ยนไปด้วย เช่น การที่เจ้าของไปท่องเที่ยว และฝากสัตว์เลี้ยงไว้กับผู้ดูแลหน้าใหม่ หรือฝากไว้ในสถานที่แห่งใหม่ การพบปะผู้คน ญาติมิตรมากมายในช่วงวันหยุด ที่พวกมันไม่คุ้นหน้า การเดินทางพาไปท่องเที่ยวด้วย ที่อาจต้องนั่งในรถยาวๆ หรือเสียงรบกวนจากนอกบ้าน ที่ดังตลอดเวลาในช่วงเทศกาลก็เป็นปัจจัยได้เช่นกัน
กรณีเดินทางนานๆ
สำหรับกรณีที่สัตว์เลี้ยงต้องเดินทางนานๆ สัตว์แพทย์ชี้ว่า สัตว์เลี้ยงอาจมีอาการเมา น้องหมาอาจน้ำลายไหล หอบ อาเจียน ในขณะที่แมวอาจกระสับกระส่าย น้ำลายไหล หรือแสดงอาการเฉื่อยชา ซึ่งอาจเกิดจากการเคลื่อนที่ของยานพาหนะ การสั่นสะเทือน หรือกลิ่นภายในรถ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแมวอาจเกิดอาการเมาเนื่องจากกลัวการเดินทาง
แพทย์ชี้ว่าควรแวะจุดพักรถเพื่อให้น้ำ และหยุดบ่อยๆ ให้สัตว์เลี้ยง หรืออาจหลีกเลี่ยงการให้อาหารสัตว์ก่อนเดินทาง 3 ชั่วโมง และควรพิจารณาให้ยาที่สัตวแพทย์สั่ง รักษาอาการเมารถด้วย
การต้อนรับแขกหน้าไม่คุ้น
เพราะช่วงสงกรานต์เป็นวันรวมญาติ รวมเพื่อน สัตว์เลี้ยงบางตัวอาจเครียดเมื่อมีแขกที่ไม่คุ้นเคยเข้ามาในพื้นที่ของมัน ซึ่งอาจนำไปสู่การอาเจียนหรือท้องเสีย ซึ่งต้องได้รับการดูแลจากสัตวแพทย์ หรือแม้กระทั่งน้องๆ ที่เฟรนลี่ หากเล่นกับแขกมากไป ก็อาจจะเหนื่อยล้าได้
สัตว์แพทย์แนะนำว่า ในกรณีนี้ การจัดเตรียมพื้นที่เงียบสงบ เช่น ห้องแยกหรือพื้นที่ที่มีรั้วกั้น ทั้งสุนัขมีแนวโน้มจะปรับตัวได้ดีกว่าแมว เพราะแมวมีแนวโน้มที่จะเครียดจากสิ่งเร้ามากกว่า ดังนั้น จึงจำเป็นต้องควบคุมความถี่ของสิ่งเร้าภายนอก และจัดเตรียมสถานที่ปลอดภัยที่แมวชอบซ่อนเพื่อเพิ่มความรู้สึกปลอดภัย ในขณะเดียวกัน เจ้าของก็จำเป็นต้องอยู่เป็นเพื่อนและเล่นกับแมวบ่อยๆ เพื่อเพิ่มความสามารถในการปรับตัวของแมวด้วย
ทาสไม่อยู่ หายหน้าหายตาไปเที่ยวนานๆ
ต้องอยู่ห่างไกลเจ้าของหลายๆ วัน ช่วงแรก สุนัขอาจไม่คุ้น เห่าและหงุดหงิด อารมณ์เสียหรือซึมเศร้าวิธีแก้คือ ต้องพาสุนัขเดินเล่นให้นานขึ้น กอดน้องๆ ให้มากขึ้น ปล่อยให้มันรู้สึกถึงความรักที่คุณมี ไปถึง หาของเล่นและเสื้อผ้าของคุณทิ้งไว้ให้มัน เพื่อปล่อยมันรู้สึกถึงตัวตนเจ้าของไว้
ขณะที่แมวนั้น อาจทำตัวแปลกหน้ากับเจ้าของ ร้องเหมียวบ่อยขึ้น ซ่อนตัวอยู่ตัวเดียวมากขึ้น ความอยากอาหารลดลง เลียขนมากเกินไป และใช้เวลาในการดูแลตัวเองมากขึ้น ดังนั้นผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า ให้เพิ่มกิจกรรมในชีวิตประจำวันของแมวเพื่อเสริมสร้างความเครียด เช่น วางโครงปีนป่ายไว้ในตำแหน่งที่แมวชอบ อย่างริมหน้าต่าง ซึ่งเป็นจุดที่แมวอยากรู้อยากเห็นเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมภายนอก เป็นต้น
ปาร์ค จองยุน สัตวแพทย์จากโรงพยาบาลสัตว์โอลีฟ ในเกาหลีใต้ชี้ว่า “สัตว์เลี้ยงหลายตัวไปคลินิกหลังวันหยุดยาว เนื่องจากความเครียดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม หรือการกินอาหารวันหยุด การเตรียมตัวสำหรับการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จึงมีความสำคัญ เนื่องจากสัตว์เลี้ยงอาจประสบกับอาการซึมเศร้าหลังวันหยุดได้เช่นกัน”