รีเซต

โฆษกก้าวไกล ชี้ประชาชนอาจไม่ตายเพราะ 'โควิด' แต่ตายเพราะเศรษฐกิจ จวกรัฐล่าช้า เพิ่มเหลื่อมล้ำ

โฆษกก้าวไกล ชี้ประชาชนอาจไม่ตายเพราะ 'โควิด' แต่ตายเพราะเศรษฐกิจ จวกรัฐล่าช้า เพิ่มเหลื่อมล้ำ
มติชน
16 เมษายน 2563 ( 17:04 )
319
1

‘ณัฐชา’ โฆษกพรรคก้าวไกล ชี้ ประชาชนอาจจะไม่ตายจากโควิด แต่ตายจากความไม่ได้เรื่องของรัฐบาล

เมื่อวันที่ 16 เมษายน นายณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ โฆษกพรรคก้าวไกล กล่าวว่า จากการลงพื้นที่รับฟังความคิดเห็นของพี่น้องประชาชน ในสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ระบาด ทำให้เห็นสภาพความเป็นจริงว่าความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนรอไม่ได้ แม้รัฐบาลจะมีมาตราการต่างๆ ออกมาแต่มาตราการเหล่านั้น เหมือนตบหัวแล้วลูบหลัง อีกทั้งยังล่าช้าเปรียบเสมือนระเบิดเวลาผูกติดตัวพี่น้องประชาชน หลังจากการออกมาตรการพักชำระธนาคารต่างๆ ที่กว่าจะได้รับสิทธิการพักชำระหนี้ มีขั้นตอนที่ยุ่งยาก จนกินเวลาการชำระหนี้ไปอีก 1 เดือน

 

จนกระทั่งวันนี้ ไฟแนนซ์ต่างๆ ออกมาตรการเยียวยาด้วยการให้ชำระดอกเบี้ยก่อนล่วงหน้า 3 เดือน เพื่อหวังว่าจะได้ทุเลายอดหนี้รายเดือน แต่ไปเพิ่มยอดหนี้รวม ส่วนใครที่ค่าชำระค่างวดไปแล้ว ก่อนที่รัฐบาลจะมีมาตราการนี้ออกมา ก็หมดสิทธเข้ารับการเยียว ต้องให้สถานะหนี้เป็นปกติถึงจะมาเข้าโครงการพักหนี้ได้ ฟังแต่ละมาตราการแล้วเศร้าใจแทนประชาชน เมื่อพิจารณามาตรการ Non-Bank พักชำระประมาณ 3 เดือน

 

สำหรับลูกค้าที่ไม่มีค่างวดคงค้าง (เป็นลูกค้าปกติ) 1. หากมีค่างวดค้างและค่าปรับอยู่ จะต้องเคลียร์ค่าใช้จ่ายที่ค้างให้เป็นปกติก่อน 2. จะคิดดอกเบี้ยเพิ่ม จากยอดหนี้คงเหลือทั้งหมด แต่ละที่มีเรตการคิดคำนวณไม่เหมือนกัน เรียกว่า “ดอกเบี้ยระหว่างการพักชำระ” 3. ดอกเบี้ยพักชำระนี้ บางที่จะให้จ่ายก่อน แล้วถึงจะทำเรื่องพักชำระ หรือบางทีจะรวมยอดไว้ชำระทีหลังหรือตอนปิดบัญชีได้

 

นายณัฐชากล่าวอีกว่า มาตราการคืนเงินต่างๆ เช่น ค่าน้ำค่าไฟ ก็ไม่เท่าเทียม ค่าน้ำ การประปานครหลวงได้ การประปาส่วนภูมิภาคไม่ได้ ส่วนมาตราการคืนค่ามิเตอร์ไฟ ปัญหาที่พบคือ เจ้าของบ้านหลายหลังได้รับเงินคือหลายมิเตอร์ เพราะขายบ้านแต่ คนจนหาเช้ากินค่ำ ซื้อบ้านมือ 2 หรือเช่าบ้านอยู่ หมดสิทธิได้ จะไปหวังมาตราการ ฟรี 90 หน่วยแรกก็ยาก เพราะค่าไฟพุ่งสูงเนื่องจากประชาชนต้องอยู่ รัฐบาลให้อยู่บ้าน หยุดเชื่อ เพื่อชาติ แล้วรัฐบาลมีมาตราการลดภาระรายจ่าย สาธารณูปโภคเหล่านี้หรือไม่

 

ส่วนผู้คนที่เหลือที่ยังตกหล่นยังไม่ทราบชะตากรรมว่าจะมีมาตราใดมาดูแล ทั้งที่ในวันที่เขาทำงานได้เก็บภาษีเขาอย่างถ้วนหน้า เจ้าของกิจการขนาดเล็ก SME เกษตรกรรายย่อยๆ แรงงานในระบบ ผู้อยู่รอดด้วยเบี้ยขยันและเงินล่วงเวลา กำลังเฝ้ารอผู้นำในประเทศที่เขาเสียภาษี บริหารจัดการอย่างไรในสถานการณ์วิกฤตต่อชีวิตเช่นนี้ อย่าให้ประชาชนต้องตราหน้ารัฐบาลนี้ว่า สิ่งเดียวที่รัฐบาลทำได้อย่างเท่าเทียมคือความไม่เท่าเทียม จนถึงตอนนี้ไวรัสโควิด-19 เอาชีวิตคนไทยไปหลายชีวิต แต่หันกลับมามอง มาตราการต่างๆ ของรัฐบาลที่ สร้างความแตกแยก เพิ่มความเหลื่อมล้ำ เอาชีวิตคนไทยทางอ้อมไปแล้วกี่รายพวกเขาอาจไม่ตายด้วยโควิด แต่จะตายด้วยเศรษฐกิจแทน

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง