รีเซต

นักวิจัยพัฒนากงล้อเคลื่อนที่ไปข้างหน้าได้ด้วยหลักการทางฟิสิกส์

นักวิจัยพัฒนากงล้อเคลื่อนที่ไปข้างหน้าได้ด้วยหลักการทางฟิสิกส์
TNN ช่อง16
22 มิถุนายน 2565 ( 15:04 )
79

ทีมนักวิจัยนานาชาติประดิษฐ์กงล้อที่สามารถเข็นตนเองขึ้นสู่ที่สูงได้ในพื้นลาด ด้วยการนำมอเตอร์ขนาดเล็ก 6 ตัว มาทำเป็นโมดูล 1 โมดูล ให้มีด้วยกันทั้งหมด 6 โมดูล โดยแต่ละโมดูลมีมอเตอร์เชื่อมต่อกันเป็นรูป 6 เหลี่ยมและนำแต่ละโมดูลมาเชื่อมต่อกันด้วยสายรัดยางและแขนพลาสติกให้มีลักษณะเป็นเหมือนกับกงล้อขนาดใหญ่ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 6 นิ้ว


มอเตอร์แต่ละตัวจะทำงานต่อกันเป็นจังหวะ ส่งแรงสั่นสะเทือนไปยังสายรัดยาง ทำให้เกิดการส่งตัวไปข้างหน้า ซึ่งเป็นการเลียนแบบความประพฤติในธรรมชาติของสัตว์หลายชนิด 


“ในสัตว์หลายชนิดต้องอาศัยองค์ประกอบหลาย ๆ ส่วนในการทำงานร่วมกัน” - นิค กราวิช (Nick Gravish) นักวิทยาการหุ่นยนต์จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย (University of California) ในซานดิเอโกกล่าว


แม้แต่มนุษย์เองก็ยังต้องอาศัยการทำงานของกล้ามเนื้อในอวัยวะหลายส่วนร่วมกัน เพื่อใช้ในการเคลื่อนไหว เช่น กล้ามเนื้อบริเวณต้นขา กล้ามเนื้อบริเวณน่อง กล้ามเนื้อบริเวณข้อเท้า กล้ามเนื้อบริเวณสะโพก และอื่น ๆ ส่วนเหตุผลที่เราต้องอาศัยกล้ามเนื้อในอวัยวะหลายส่วนก็เพื่อสร้างระบบที่สมดุลขึ้นมา


งานวิจัยชิ้นนี้ถูกพัฒนาโดยคอเรนติน คูเรส์ (Corentin Coulais) นักฟิสิกส์จากมหาวิทยาลัยอัมสเตอร์ดัม (University of Amsterdam) และวินเซนโซ วิเทลลิ (Vincenzo Vitelli) จากมหาวิทยาลัยชิคาโก (University of Chicago) ซึ่งมีจุดประสงค์ในการพัฒนาหุ่นยนต์ให้มีประสิทธิภายในการเคลื่อนที่คล้ายกับการเคลื่อนที่ในธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตหลายชนิด ที่สามารถรับมือและปรับตัวในการเคลื่อนที่ไปข้างหน้า แม้ต้องเผชิญกับองศาและพื้นผิวที่ต่างกันออกไป โดยอาศัยหลักการทางฟิสิกส์ หรือก็คือสร้างการเคลื่อนที่ไปข้างหน้าแบบเป็นระบบที่สมดุลขึ้นมานั่นเอง


เมื่อทำการทดสอบกงล้อดังกล่าว นักวิจัยพบว่าไม่ว่าแขนพลาสติกข้างใดจะถูกสะกิดในตอนแรกและในทิศทางใด ในที่สุดระบบก็แสดงการสั่นในสภาวะคงตัวแบบเดียวกัน


ข้อมูลจาก www.quantamagazine.org

ภาพจาก coulaislab.com


ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง