สรุป "หมอปลอมพิมรี่พาย" เคสตัวอย่างที่ควรรู้ พร้อมวิธีเช็ก "หมอจริง" หรือ "หมอปลอม" จากแพทยสภา
เป็นกระแสทุกครั้งที่ขยับตัวกับ "พิมรี่พาย" น.ส.พิมรดาภรณ์ เบญจวัฒนะพัชร์ ที่ล่าสุดมีประเด็น "หมอปลอมพิมรี่พาย" ขึ้นมา หลังจากที่ พิมรี่พาย รับหมอปลอมเข้ามาทำงานในคลินิกศัลยกรรมที่ชื่อว่า "Est Cute clinic" สาขาห้วยขวาง จนทำให้พิมรี่พายไปแจ้งความว่ามีบุคคลแอบอ้างเป็นหมอมาสมัครงานทีคลินิก พร้อมประกาศค่ารางวัลนำจับ 1 แสนบาท และเร่งเยียวยาลูกค้าทุกคน รวมถึงได้ขอโทษ "หมอหยก" ที่ถูกอ้างชื่ออีกด้วยและพักอยู่ต่างประเทศ ซึ่งหมอหยก หรือหมอปิยนุช หมอตัวจริง ต้องการให้พิมรี่พายรับผิดชอบ การนำเอกสารส่วนตัวของเธอมาเปิดเผยในไลฟ์สด จนทำให้ถูกรบกวนถึงบ้านอีกด้วย
นอกจากนี้ยังมีมีราคาฉีดฟิลเลอร์ ฉีดโบท็อก หรือเสริมความส่วนอื่นๆ ที่มีราคาถูกกว่าท้องตลาด แต่ทางบริษัท กัลเตอร์มา (ประเทศไทย) จำกัด ผู้จำหน่าย นำเข้าผลิตภัณฑ์สารเติมเต็มที่มีชื่อทางการค้าว่า "Restyane" แต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทยได้ออกแถลงการณ์แล้วว่า "บริษัทได้ดำเนินการตรวจสอบฐานข้อมูลเกี่ยวกับการสั่งซื้อ ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวแล้ว และขอยืนยันว่าคลินิกชื่อว่า "อิสติวท์คลินิก สาขาห้วยขวาง" นั้น ไม่ได้สั่งซื้อผลิตภัณฑ์ตั้งกล่าวผ่านทางบริษัท กัลเดอร์มา (ประเทศไทย) จำกัด แต่อย่างใด”
เจ้าหน้าที่กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) ลงพื้นที่ตรวจสอบและได้สั่งปิดอิสคิวท์คลินิกเวชกรรม สาขาห้วยขวาง เป็นเวลา 30 วัน ส่วนของเจ้าของสถานพยาบาลก็จะมีโทษตามกฎหมายสถานพยาบาลต่อไป โดยล่าสุดหมอปลอมพิมรี่พาย ที่เคยแอบอ้างถูกจับได้แล้ว ซึ่งเคยเป็นอดีตเซลล์มาก่อน ทำให้คลินิกได้รับความเสียหาย ซึ่งทางอิสคิวท์ก็ได้ส่งขัอมูลให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเรียบร้อยแล้ว
จากข่าว "หมอปลอมพิมรี่พาย" ทำให้หลายคนอาจกังวลว่า แล้วแพทย์ที่เราใช้บริการอยู่ตามคลินิกเป็น "หมอจริง" หรือ "หมอปลอม" หรือใครที่ต้องการตรวจสอบสามารถทำได้เองง่ายๆ ผ่านเว็บไซต์ ซึ่งวันนี้ TrueID นำมาฝากให้แล้ว
ช่องทางตรวจสอบรายชื่อแพทย์
ประชาชนสามารถเข้ามาตรวจสอบแพทย์จริงหรือไม่ผ่านเว็บไซต์ https://checkmd.tmc.or.th/ โดยวิธีการนี้จะทำให้เราทราบว่าเป็นแพทย์จริงหรือไม่ รวมทั้งตรวจสอบได้ว้าแพทย์จริงหรือไม่ รวมทั้งตรวจสอบได้ว่า แพทย์ท่านนั้นมีความเชี่ยวชาญในสาขาใด ที่แพทยสภารับรองด้วยจริงหรือไม่
หมอปลอม หรือแพทย์ปลอม มีความผิดตามกฎหมายอย่างไร
การทำเอกสารปลอมเป็นแพทย์ ถือเป็นการปลอมแปลงเอกสาร และการแอบอ้างเป็นแพทย์มีความผิดตามมาตราในพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม 2525 ระบุว่าคนที่ปลอมเป็นแพทย์และมีการรักษา ผิดในมาตรา 26 ถ้าไปใช้คำว่านายแพทย์หรือแพทย์หญิงจะผิดตามมาตรา 27 ถ้าใช้ทั้งนายแพทย์และแพทย์หญิง รวมทั้งมีการรักษาร่วมด้วยจะผิดทั้ง 2 มาตรา ซึ่งเป็นความผิดอาญา โดยที่ผู้เสียหายสามารถแจ้งความดำเนินคดี และเมื่อพนักงานสอบสวนตั้งข้อกล่าวหา เพื่อดำเนินคดีสามารถให้แพทยสภาเป็นพยานได้
หมอจบใหม่ เรียนจบ 6 ปี มีชื่อในฐานข้อมูลของแพทยสภาหรือไม่
หลังจากที่หมอเรียนจบ 6 ปีจากคณะแพทย์แล้ว ร่วมกับการสอบของศูนย์ประเมินและรับรองความรู้ความสามารถในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม (ศรว.) รายชื่อจะนำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการแพทยสภา เมื่ออนุมัติแล้ว รายชื่อจะเข้าสู่ระบบ
ข้อมูลจาก แพทยสภา
--------------------
เกาะติดสถานการณ์โควิด-19 ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก
ทุกประเด็นร้อนข่าวสาร สาระ ทันเหตุการณ์ พูดคุยกันได้ 24 ชม.
คลิกเลย >>> TrueID Community <<<