โบรกชี้จุดเสี่ยงTHCOM เลื่อนประมูลดาวเทียม
ทันหุ้น-จับตาการประชุมคณะกรรมการกสทช.วันนี้(7กรกฎาคม2564) จะมีการพิจารณาเดินหน้าประมูลใช้สิทธิ์วงโคจรดาวเทียมหรือไม่ หลังจากที่กระทรวงดีอีเอส ได้ส่งหนังสือถึงกสทช.ให้เลื่อนการประมูลออกไปก่อน ทางด้านโบรกมองหากเลื่อนเป็นการสร้างSentiment ลบ ต่อTHCOM
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าวันนี้(7กรกฎาคม2564)จะมีการประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.)โดยมีวาระที่คาดว่าจะมีการพิจารณาประเด็นที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมหรือดีอีเอส ส่งหนังสือถึงกสทช.ชุดรักษาการเพื่อขอให้ชะลอเปิดประมูลสิทธิ์วงโควรดาวเทียมในประเทศ ซึ่งกำหนดไว้วันที่ 24 กรกฎาคม2564 และให้รอกสทช.ชุดใหม่ที่อยู่ในกระบวนการสรรหาเข้ามาดำเนินการ
นักวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์หยวนต้า(ประเทศไทย)จำกัด กล่าวว่าหากคณะกรรมการกสทช.พิจารณาเลื่อนการประมูลใช้สิทธิ์วงโควรดาวเทียมออกไป ถือว่าเป็นSentiment ลบต่อบริษัทไทยคอม จำกัด(มหาชน)หรือ THCOMเนื่องตลาดไม่ชอบความไม่แน่นอนและความไม่ชัดเจน แม้ว่าTHCOM จะมีการวางแผนสำรองไว้ล่วงหน้าแล้วก็ตาม เช่นอาจจะเช่าวงโคจรดาวเทียมต่างประเทศแทน ทั้งนี้แต่เชื่อว่าภาครัฐน่าจะมีทางออก ซึ่งถือว่าเป็นความมั่นคง และรอการเปิดประมูลใหม่ ซึ่งท้ายที่สุดในอนาคตTHCOM ก็จะกลับมาฟื้นตัวได้บนสมมติฐานการเปิดประมูล ประเมินราคาพื้นฐานที่ 13.80บาท
กดดันTHCOM
บริษัทหลักทรัพย์ เอเซียพลัส จำกัด(มหาชน) ระบุว่าหลังที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิตอล ส่งหนังสือถึงกสทช.ชุดรักษาการเพื่อขอให้ชะลอเปิดประมูลสิทธิ์วงโควรดาวเทียมในประเทศ ซึ่งกำหนดไว้วันที่ 24 กรกฎาคม2564 และให้รอกสทช.ชุดใหม่ที่อยู่ในกระบวนการสรรหาเข้ามาดำเนินการ
ทั้งนี้กรณีที่สัมปทานTHCOMผู้ให้บริการปัจจุบันจะสิ้นสุดลงในวันที่10 กันยายน2564 ทางกระทรวงชี้แจงกสทช.ว่าปัจจุบันกระทรวงอยู่ระหว่างพิจารณามอบหมายให้บริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด(มหาชน)หรือ NT เป็นผู้บริหารจัดการทรัพย์สินดาวเทียมสัมปทาน
กรณีดังกล่าวนั้นมองเป็นการสร้าง Sentiment ลบต่อTHCOM เนื่องจากสร้างความเสี่ยงเลื่อนประมูล ซึ่งทำให้ความไม่ชัดเจนบริการดาวเทียมTHCOMระยะยาวจากการเปลี่ยนผ่านระบบสัมปทานสู่ใบอนุญาต อย่างไรก็ตามระยะสั้นเชื่อว่าTHCOMยังมีทางออกจากการขอเจรจาเป็นผู้บริหารจัดการดาวเทียมสัมปทานiPSTARและไทยคม6ที่ใกล้หมดอายุสัมปทานกับNT ที่ได้รับสิทธิ์ ซึ่งจะช่วยให้THCOM ยังใช้งานดาวเทียมต่อได้อีกระยะจนกว่าอายุให้บริการiPSTARและไทยคม6จะสิ้นสุด
เตรียมแผนสำรอง
จากนั้นที่ขึ้นกับการประมูลสิทธิ์วงโควรTHCOM ยังมีทางเลือกจากการศึกษาใช้สิทธิ์วงโควรดาวเทียมต่างประเทศแล้วระยะยหนึ่ง ซึ่งหากราบรื่นจะคาดหวังประเด็นบวกในเรื่องโครงสร้างดำเนินงานหลังสัมปทานสิ้นสุดมีโอกาสที่จะภาระต้นทุนลดลงจากยุคสัมปทานที่มีต้นทุนสูง
โดยTHCOMจะหยุดรับรู้ค่าตัดจำหน่ายดาวเทียมสัมปทาน2 ดวงราวปีละ800 ล้านบาท400-500 และส่วนแบ่งรายได้22.5%ของรายได้(ปีละ400-500ล้านบาท)และไปรับรู้ต้นทุนใหม่แทน ซึ่งประกอบด้วยค่าเช่าใช้ดาวเทียมสัมปทานกับNT,ต้นทุนค่าประมูลสิทธิ์วงโคจรใหม่ แต่ปัจจุบันโครงสร้างต้นทุนใหม่ยังต้องติดตาม ซึ่งประโยชน์ที่ได้ อาจจะลดลงหากTHCOMต้องใช้วงโควรต่างประเทศ โดยภายใต้ข้อจำกัดวงโควรที่แตกต่างจากเดิม มีโอกาสบริษัทอาจจะต้องมีภาระต้นทุนดำเนินการที่สูงขึ้น
ภายใต้ความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้น เทียบกับราคาหุ้นTHCOM นับจาก1 พฤศจิกายน 2563 ที่เริ่มมีกระแสข่าวประมูลที่ปรับตัวขึ้นมาถึง121% เชื่อว่ารวมความคาดหวังเชิงบวกไปมากแล้ว จึงยังให้คำแนะนำSwitch ไปADVANC ที่เริ่มเห็นฟื้นต้วและคาดหวังUpsideที่จะเข้ามาจากนี้สูงกว่า
ยืนหนึ่งรายเดียว
อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้มีบริษัทที่สนใจคือ บริษัท มิว สเปซ แอนด์ แอดวานซ์ เทคโนโลยี จำกัด และ บริษัท ทีซี สเปซ คอนเน็ค จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) หรือTHCOM และท้ายที่สุดเหลือเพียงบริษัท ทีซี สเปซ คอนเน็ค จำกัด รายเดียวเท่านั้นที่ยื่นความจำนงเข้าประมูล เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2564 ที่ผ่านมา
สำหรับชุดข่ายงานดาวเทียมทั้ง 4 ชุด ที่จะนำมาประมูลในครั้งนี้ ได้แก่ ชุดที่ 1 ประกอบด้วย วงโคจร 50.5E (ข่ายงาน C1, N1 และ P1R) และ วงโคจร 51E (ข่ายงาน 51) ราคาขั้นต่ำ 676.914 ล้านบาท ชุดที่ 2 ประกอบด้วย วงโคจร 78.5E (ข่ายงาน A2B และ 78.5E) ราคาขั้นต่ำ 366.488 ล้านบาท
ชุดที่ 3 ประกอบด้วย วงโคจร 119.5E (ข่ายงาน IP1, P3 และ 119.5E) และ วงโคจร 120E (ข่ายงาน 120E) ราคาขั้นต่ำ 392.950 ล้านบาท และชุดที่ 4 ประกอบด้วย วงโคจร 126E (ข่ายงาน 126E) และ วงโคจร 142E (ข่ายงาน G3K และ N5) ราคาขั้นต่ำ 364.687 ล้านบาท