รีเซต

ภาพดาวฤกษ์ที่ห่างไกลที่สุดในจักรวาล โดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์

ภาพดาวฤกษ์ที่ห่างไกลที่สุดในจักรวาล โดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์
TNN ช่อง16
14 สิงหาคม 2566 ( 15:27 )
147

9 สิงหาคม 2023 ที่ผ่านมา นาซา (NASA) ได้เผยภาพถ่ายดาวเอียเรนเดล (Earendel) โดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์ (James Webb Space Telescope) ซึ่งเป็นดาวฤกษ์ที่ห่างไกลที่สุดในจักรวาลเท่าที่นักดาราศาสตร์เคยตรวจพบ

ดวงตาของกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์ (James Webb Space Telescope) 

โดยทีมนักดาราศาสตร์ของนาซาใช้เครื่องมืออินฟราเรดระยะใกล้ (NIRcam) ของกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์ในการสังเกตดาวฤกษ์ดวงนี้ ซึ่งพวกเขาพบว่ามันร้อนกว่าดวงอาทิตย์ 2 เท่า และส่องสว่างมากกว่าประมาณล้านเท่า จัดอยู่ในดาวฤกษ์ประเภทบี (B) ในขณะที่ดวงอาทิตย์จัดอยู่ในดาวฤกษ์ประเภทจี (G)


ย้อนกลับไปในปี 2022 ดาวฤกษ์ดวงนี้ถูกค้นพบโดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล (Hubble Space Telescope) ซึ่งในตอนนั้นมันอยู่ห่างจากโลก 12,900 ล้านปีแสง แต่เป็นเพราะว่า จักรวาลมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปรากฏการณ์บิ๊กแบง (BigBang) ทำให้ปัจจุบัน ดาวฤกษ์ดวงนี้อยู่ห่างจากโลก 28,000 ล้านปีแสง


อย่างไรก็ตาม ดาวฤกษ์ดวงนี้อาจไม่ได้โคจรอยู่อย่างโดดเดี่ยว โดยนาซาได้พบสัญญาณของดาวฤกษ์อีกหนึ่งดวงที่คาดว่าพวกมันน่าจะโคจรคู่กันอยู่ ซึ่งมันน่าจะมีอุณหภูมิที่เย็นกว่าและแดงกว่า นอกจากนี้ ในภายถ่ายโดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์ยังพบกระจุกดาวที่อยู่ใกล้กับดาวฤกษ์เอียเรนเดลด้วย


การมองย้อนไปในอดีตของจักรวาล 

การมองเห็นวัตถุในอวกาศที่ไกลมากเท่าไหร่ ก็เหมือนกันการมองย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์ของจักรวาลที่ไกลเท่านั้น เช่น ดาวฤกษ์เอียเรนเดลที่อยู่ห่างจากโลก 12,900 ล้านปีแสง หมายความว่าแสงใช้เวลาเดินทางจากดาวฤกษ์ดวงนั้นมายังโลกเป็นเวลา 12,900 ล้านปี 


ดังนั้นดวงดาวที่เราเห็นอยู่ในปัจจุบัน อาจดับสูญไปแล้ว แต่แสงของมันเพิ่งจะเดินทางมาถึงเราเท่านั้นเอง ซึ่งจะช่วยอธิบายได้ว่า เมื่อ 12,900 ล้านปีก่อน ดาวฤกษ์ดวงนี้มีลักษณะเป็นอย่างไร และช่วยคาดการณ์ได้ด้วยว่าจักรวาลในช่วงเวลาเดียวกันมีลักษณะเป็นอย่างไร


ข้อมูลจาก space.com

ภาพจาก NASA

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง