รีเซต

เปิดประวัติ "เมืองโบราณศรีเทพ" มรดกโลกใหม่ ลำดับที่ 4 ของไทย

เปิดประวัติ "เมืองโบราณศรีเทพ" มรดกโลกใหม่ ลำดับที่ 4 ของไทย
TNN ช่อง16
19 กันยายน 2566 ( 16:17 )
193
เปิดประวัติ "เมืองโบราณศรีเทพ" มรดกโลกใหม่ ลำดับที่ 4 ของไทย

ยูเนสโก้ ประกาศ เมืองโบราณศรีเทพ หรือ อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมแห่งใหม่


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ของไทยที่กำลังเป็นกระแสกล่าวถึงมากที่สุดช่วงเวลานี้ ต้องยกให้ “เมืองโบราณศรีเทพ” เพชรบูรณ์ เมืองโบราณศรีเทพ  มรดกโลกแห่งใหม่” ของไทย ก่อนหน้านี้ ในปี พ.ศ. 2562 ประเทศไทยเสนอ “อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ” หรือ เมืองโบราณศรีเทพ เข้าสู่บัญชีรายชื่อเบื้องต้นมรดกโลก (Tentative List) ต่อองค์การยูเนสโก เพื่อพิจารณาขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก ซึ่งเมืองโบราณศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ กำลังจะได้รับการพิจารณาในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 45 ระหว่างวันที่ 10 - 25 ก.ย.นี้ ณ กรุงริยาด ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย    


ล่าสุด องค์การยูเนสโกประกาศให้ ‘เมืองโบราณศรีเทพ’ หรือ 'อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ' จ.เพชรบูรณ์ เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมแห่งใหม่ ลำดับที่ 4 ของไทย






ประวัติ เมืองโบราณศรีเทพ


เมืองโบราณศรีเทพมีอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 8-18 เป็นเมืองที่มีความสำคัญมากแห่งหนึ่งในสมัยทวารวดี มีการติดต่อรับคติความเชื่อทางศาสนาหลายศาสนาและนิกาย ทั้งพุทธศาสนาแบบเถรวาทและมหายาน รวมไปถึงศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ในเสาวระนิกาย (นับถือพระสุริยะ) ไวษณพนิกาย (นับถือพระวิษณุ) และไศวนิกาย (นับถือพระศิวะ) มีการติดต่อสัมพันธ์กับวัฒนธรรมใกล้เคียงตั้งแต่วัฒนธรรมอินเดีย ขอม และทวารวดีจากแหล่งอื่น ๆ โดยยังหลงเหลือหลักฐานทางโบราณคดีและงานศิลปกรรม สามารถแสดงความเป็นศูนย์กลางของอารยธรรมและการค้า แสดงให้เห็นถึงการอยู่ร่วมกันของชุมชนที่ต่างศาสนาในระยะเวลาเดียวกัน


บริเวณเมืองฯ พบหลักฐานการพัฒนาการอย่างต่อเนื่องใน 3 สมัย ได้แก่ ชุมชนยุคก่อนประวัติศาสตร์  สมัยทวารวดี และสมัยวัฒนธรรมขอมแผ่ขยายเข้ามามีอิทธิพลในตอนปลาย ก่อนจะหมดความสำคัญกลายเป็นเมืองร้าง


ชุมชนยุคก่อนประวัติศาสตร์บริเวณศรีเทพเป็นชุมชนเกษตรกรรม ประกอบด้วยหมู่บ้านเล็กๆ หลายแห่ง แต่ละหมู่บ้านมีผู้นำ ผู้คนรู้จักการใช้ชีวิตและจัดการตนเองให้อยู่ร่วมกับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติเป็นอย่างดี มีการเพาะปลูกข้าวและเลี้ยงสัตว์ ตลอดจนการล่าสัตว์และรวบรวมทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ นอกจากนี้ยังมีการทอผ้า การทำเครื่องปั้นดินเผา และการถลุงโลหะในชุมชนด้วย ผู้คนอาจเชื่อเรื่องชีวิตหลังความตายหรือโลกหน้าในขณะที่พวกเขาฝังศพผู้ตายด้วยสิ่งของที่ฝังศพหลากหลายชนิด การหาอายุของเรดิโอคาร์บอน AMS ของตัวอย่างฟันจากแหล่งขุดค้นดังกล่าวให้ผล 1,730 ± 30 ปีที่แล้ว



นอกจากวัฒนธรรมอินเดีย ขอมและทวารวดีแล้ว ยังปรากฏร่องรอยการเดินทางมาของชาวจีน โดยพบจารึกบนพระพิมพ์เป็นอักษรจีนมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 13-14 สลักชื่อภิกษุ "เหวินเซียง" อันแสดงถึงความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมกับจีนและความสำคัญของเมืองโบราณศรีเทพในยุคสมัยดังกล่าว ที่ทำให้คนจากต่างถิ่นต้องมาเยือน




ภาพ ผู้สื่อข่าว TNN 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง