รีเซต

ไวรัสโรค SFTS กลับมาฟื้นคืนชีพ อันตราย 'เห็บ' กัดถึงตายได้

ไวรัสโรค SFTS กลับมาฟื้นคืนชีพ อันตราย 'เห็บ' กัดถึงตายได้
TNN ช่อง16
7 สิงหาคม 2563 ( 18:18 )
2.6K
ไวรัสโรค SFTS กลับมาฟื้นคืนชีพ อันตราย 'เห็บ' กัดถึงตายได้
วันนี้ (7ส.ค.63) ไวรัสโรค SFTS ไม่ใช่ไวรัสใหม่ อยู่ในตระกูล ไวรัสบันยา (bunyavirus)  มีเห็บเป็นพาหะ เมื่อเห็บกัดคนจะพาเชื้อเข้าสู่ร่างกาย และสามารถติดต่อจากคนสู่คนได้ ทางมูกทางเดินหายใจและบาดแผล รวมถึงทางเลือด พบครั้งแรกในมณฑลเหอหนาน ทางภาคกลางและมณฑลอันฮุย ทางตะวันออกในปี 2552 ยังไม่มีวัคซีนหรือตัวยารักษาอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น ผู้ติดเชื้อต้องเข้ารับการรักษาโดยเร็วที่สุด

เว็บไซต์ข่าวโกลบอลไทมส์  รายงานว่า มณฑลเจียงซูทางตะวันออกของจีนพบผู้ป่วย 37 ราย ถูกวินิจฉัยว่ามีภาวะโรคเกล็ดเลือดต่ำขั้นรุนแรง โดยผู้ป่วยโรคนี้เป็นเกษตรกรชื่อคุณหวัง วัย 65 ปี จากมณฑลเจียงซู ไปพบคุณหมอเนื่องจากมีอาการไข้สูงถึง 40 องศาเซลเซียส และไอไม่หยุด แพทย์วินิจฉัยว่ามีไวรัส SFTS หรือ กลุ่มอาการไข้สูง และเกล็ดเลือดต่ำ จึงต้องแอดมินที่โรงพยาบาลรักษาตัวนาน 1 เดือน 

ในปีนี้ ผู้ป่วยด้วยโรคนี้ในมณฑลเจียงซูถึง 37 คน นอกจากนี้ยังมีผู้ติดเชื้อต่างมณฑล อยู่ที่อานฮูย ทางตะวันออกถึง 23 คน ส่วนผู้เสียชีวิตมีแล้ว 7 คนแล้ว



ผู้เชี่ยวชาญเตือนอันตรายไวรัสชนิดนี้ที่ทำให้คนติดเชื้อเสี่ยงถึงแก่ชีวิต 

อาการแรกเริ่ม ได้แก่ อ่อนเพลียและไข้สูง ไม่อยากอาหารบางครั้ง บางรายมีผื่นแดง เกล็ดเลือดต่ำ และเม็ดเลือดขาวต่ำ ในกรณีไม่รุนแรง อาจหายได้เอง แต่ในกรณีรุนแรง อาจทำให้อวัยวะล้มเหลว อัตราการตายอยู่ระหว่าง 1-5%

เฉิง จือฟาง นักไวรัสวิทยาและผู้อำนวยการสำนักงานโรคติดเชื้อ โรงพยาบาลในสังกัดคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเจ้อเจียง กล่าวว่า ไวรัส SFTS แพร่จากคนสู่คนได้ผ่านเลือด มูกทางเดินหายใจและบาดแผล ยกกรณีผู้เสียชีวิตจากไวรัสเมื่อ 3 ปีก่อน ที่แพร่เชื้อต่ออีก 16 คนจากการสัมผัสแตะต้องศพ เพราะผู้ตายมีเลือดออกจากการติดเชื้อรุนแรง

การติดเชื้อไวรัสชนิดนี้จะเพิ่มอย่างมีนัยสำคัญในฤดูร้อน มีนาคมถึงพฤศจิกายน ซึ่งเป็นช่วงที่เห็บแพร่พันธุ์มากกว่าปกติ ดังนั้น จึงอาจเกิดการแพร่ระบาดแบบจำกัดได้   

ด้านคณะกรรมการสาธารณสุขเมืองบาวตู เขตมองโกเลียใน ประเทศจีน เปิดเผยว่า รัฐบาลท้องถิ่นสั่งให้ล็อกดาวน์หมู่บ้านซูจิ ซินคุน ในเมืองบาวตู เพื่อควบคุมการแพร่ระบาด หลังชาวบ้านเสียชีวิต รายที่2 จากภาวะระบบไหลเวียนเลือดล้มเหลว  สาเหตุเชื่อว่า อาจมาจากการ ถูกเห็บ-หมัด กัดหรือ จับต้องสัตว์ที่ติดเชื้อโรค ทำให้มีอาการปวดตามร่างกาย ต่อมน้ำเหลืองโต มีไข้และหนาวสั่น  ซึ่งคล้ายโรคกาฬโรคต่อมน้ำเหลือง หรือโรคไวรัส SFTS จากเห็บ
  
เจ้าหน้าที่สาธารณสุขท้องถิ่น แนะนำชาวบ้านให้ทำความสะอาดบ้านเรือนเพื่อกำจัดเชื้อโรคทุกวัน หลีกเลี่ยงการล่าสัตว์ป่าเพื่อเป็นอาหารและเลี่ยงจับสัตว์ป่า ระหว่างการเดินทางไปยังพื้นที่ต่างๆเพื่อความปลอดภัย จากผลการตรวจสอบบุคคลใกล้ชิดและชาวบ้านในพื้นที่เดียวกับผู้เสียชีวิต เจ้าหน้าที่สาธารณสุขท้องถิ่นระบุว่าชาวบ้านทุกคนปลอดภัย รวมทั้งผู้ใกล้ชิดรวม 35 คน แต่ทั้งหมดต้องกักตัวเองเพื่อเฝ้าระวัง 2 สัปดาห์เช่นเดียวกับการติดเชื้อโควิด-19

ทั้งนี้ เห็บ เป็นปรสิต ที่ใช้ปากกัดแล้วดูดเลือดสัตว์และมนุษย์เป็นอาหาร ซึ่งถูกพบมากกว่า 800 สายพันธุ์ทั่วโลก ซึ่งมีเห็บบางชนิดอาจเป็นพาหะแพร่กระจายเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัสที่อาจก่อให้เกิดโรคที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ได้ผ่านทางน้ำลาย แต่กรณีพบผู้ป่วยโรคจากเห็บในบ้านเรานั้นมีน้อยครั้งมาก 


เกาะติดข่าวที่นี่

website: www.TNNTHAILAND.com 
facebook : TNNONLINE
facebook live : TNN Live 
twitter : TNNONLINE 
Line : @TNNONLINE
Youtube Official : TNNONLINE 
Instagram : TNN_ONLINE 
TIKTOK : @TNNONLINE

ข่าวที่เกี่ยวข้อง