รีเซต

เกาหลีใต้ทดสอบจรวด KSLV-II Nuri ครั้งที่ 2 บรรทุกดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศได้สำเร็จ

เกาหลีใต้ทดสอบจรวด KSLV-II Nuri ครั้งที่ 2 บรรทุกดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศได้สำเร็จ
TNN ช่อง16
22 มิถุนายน 2565 ( 00:10 )
220
เกาหลีใต้ทดสอบจรวด KSLV-II Nuri ครั้งที่ 2 บรรทุกดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศได้สำเร็จ

ประเทศเกาหลีใต้ทดสอบจรวด KSLV-II Nuri เป็นครั้งที่ 2 ภายหลังการทดสอบครั้งแรกเมื่อ 8 เดือนก่อน ไม่ประสบความสำเร็จ จรวดรุ่นนี้ออกแบบโดยสถาบันวิจัยการบินและอวกาศของเกาหลี (KARI) สามารถขนส่งดาวเทียมน้ำหนัก 1.5 ตัน ขึ้นสู่อวกาศวงโคจรระดับต่ำ (LEO) ที่ระดับความสูงประมาณ 600-800 กิโลเมตร 


สำหรับในภารกิจการทดสอบครั้งนี้มีขึ้นบริเวณศูนย์อวกาศนาโร (Naro Space Center) เขตโกฮึง ตอนใต้ของประเทศเกาหลีใต้ ห่างจากกรุงโซลประมาณ 485 กิโลเมตร จรวด KSLV-II Nuri ขนส่งดาวเทียมต้นแบบ 1 ดวง น้ำหนัก 1.3 ตัน ดาวเทียมตรวจสอบประสิทธิภาพของจรวด 1 ดวง น้ำหนัก 180 กิโลกรัม และดาวเทียมขนาดเล็ก 4 ดวง ที่พัฒนาโดยมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัย KARI ขึ้นสู่อวกาศ 


สำหรับในภารกิจการทดสอบครั้งนี้มีขึ้นบริเวณศูนย์อวกาศนาโร (Naro Space Center) เขตโกฮึง ตอนใต้ของประเทศเกาหลีใต้ ห่างจากกรุงโซลประมาณ 485 กิโลเมตร จรวด KSLV-II Nuri ขนส่งดาวเทียมต้นแบบ 1 ดวง น้ำหนัก 1.3 ตัน ดาวเทียมตรวจสอบประสิทธิภาพของจรวด 1 ดวง น้ำหนัก 180 กิโลกรัม และดาวเทียมขนาดเล็ก 4 ดวง ที่พัฒนาโดยมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัย KARI ขึ้นสู่อวกาศ


เทคโนโลยีจรวด KSLV-II Nuri ถูกพัฒนาขึ้นโดยประเทศเกาหลีใต้ โดยความร่วมมือจากหน่วยงานของรัฐบาลสถาบันวิจัยการบินและอวกาศของเกาหลี (KARI) บริษัทเอกชน Korea Aerospace Industries (KAI) บริษัท Hanwha Aerospace และบริษัท Hyundai Heavy Industries จรวดรุ่นนี้แบ่งการทำงานออกเป็น 3 ขั้นตอน จรวดท่อนที่ 1 ใช้เครื่องยนต์จรวด KRE-075 จรวดท่อนที่ 2 ใช้เครื่องยนต์จรวด KRE-075 vacuum และจรวดท่อนที่ 3 ใช้เครื่องยนต์จรวด KRE-007 ใช้เชื้อเพลิงออกซิเจนเหลว (Liquid oxygen) และเชื้อเพลิงจรวด (Jet A)  


โครงการวิจัยพัฒนาจรวดของสถาบันวิจัยการบินและอวกาศของเกาหลี (KARI) มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศที่สามารถขนส่งดาวเทียมสื่อสารขึ้นสู่อวกาศ รองรับการวางโครงข่ายการสื่อสารความเร็วสูง 6G ของประเทศ รวมไปถึงภารกิจการขนส่งดาวเทียมรูปแบบอื่น ๆ  สถาบันวิจัยการบินและอวกาศของเกาหลี (KARI) มีแผนการทดสอบปล่อยจรวดขนส่งดาวเทียมรุ่นนี้อีกอย่างน้อย 4 ครั้งภายในปี 2027 


ที่มาของข้อมูล kari.re.kr/eng.do

ที่มาของรูปภาพ facebook.com/karipr  



ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง