รีเซต

เปิดเส้นทาง "พายุหว่ามก๋อ" กระทบไทย 14-16 พ.ย.

เปิดเส้นทาง "พายุหว่ามก๋อ" กระทบไทย 14-16 พ.ย.
TNN ช่อง16
12 พฤศจิกายน 2563 ( 18:27 )
917

วันนี้ (12 พ.ย.63) กรมอุตุนิยมวิทยาไทย ออกประกาศเรื่อง พายุโซนร้อนรุนแรงหว่ามก๋อ พายุระดับ 4" ฉบับที่ 2 ระบุว่า พายุโซนร้อน “หว่ามก๋อ” บริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตก คาดว่าจะทวีกำลังแรงขึ้นและเคลื่อนเข้าใกล้ชายฝั่งประเทศเวียดนามประมาณวันที่ 15 พฤศจิกายนนี้ จึงขอให้ประชาชนติดตามอย่างใกล้ชิด 

สำนักพยากรณ์อากาศต่างประเทศ รายงานว่า  พายุ“หว่ามก๋อ” ตอนนี้กำลังเคลื่อนผ่านฟิลิปปินส์  มีกำลังแรงเป็นไต้ฝุ่น มีความเร็วลมถึง 140 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยเส้นทางได้ขยับขึ้นไปที่เวียดนามตอนกลาง มุ่งหน้าขึ้นไปทาง สปป.ลาว   ใกล้กับภาคอีสานตอนบน ไปจะกลายเป็นดีเปรสชั่นแต่หลังจากเคลื่อนใกล้เข้าฝั่งเวียดนามประมาณ 14 พ.ย. จะทำให้มีกลุ่มฝนเคลื่อนที่เข้าบริเวณอุบลราชธานี อำนาจเจริญ มุกดาหาร ในช่วงกลางคืนของ 14 พ.ย. ตามด้วยจังหวัดอื่นในอีสาน กลางตอนบน และภาคเหนือ ตามลำดับ จึงขอเตรียมตัวรับฝนตกลมแรง วันที่ 14-16 พ.ย.63

แต่หลังจากไต้ฝุ่นหว่ามก๋อผ่านพ้นไป หลังจากนั้นถึง 25 พ.ย. จะยังไม่มีพายุหมุนเขตร้อนลูกใหม่เกิดขึ้นในบริเวณนี้ทั้งนี้ พบว่า ปี 2563 ได้เกิดพายุหมุนเขตร้อน หรือโซนไต้ฝุ่น (ตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก ประจำปี 2563) ถึง 22 ลูก ได้แก่

1.หว่องฟ้ง ก่อตัว 12 พ.ค. 2.นูรี ก่อตัว 12 มิ.ย. 3.ซินลากู ก่อตัว 31 ก.ค. 4.ฮากูปิต ก่อตัว 31 ก.ค. 5. ชังมี ก่อตัว 8 ส.ค. 6.เมขลา ก่อตัว 9 ส.ค. 7.ฮีโกส ก่อตัว 18 ส.ค. 8.บาหวี่ ก่อตัว 26 ส.ค. 9.ไมสัก ก่อตัว 28 ส.ค. 10.ไห่เฉิน ก่อตัว 31 ส.ค.

11.โนอึล ก่อตัว 15 ก.ย. 12.ดอลฟิน ก่อตัว 20 ก.ย. 13.คูจิระ ก่อตัว ก.ย. 14.จันหอม ก่อตัว 4 ต.ค. 15.หลิ่นฟา ก่อตัว 8 ต.ค. 16.นังกา ก่อตัว 11 ต.ค. 17.โซเดล ก่อตัว 19 ต.ค. 18.โมลาเบ ก่อตัว 23 ต.ค. 19.โคนี ก่อตัว 27 ต.ค. 20.อัสนี ก่อตัว 29 ต.ค.

21.เอตาว ก่อตัว 7 พ.ย. และ 22.หว่ามก๋อ ก่อตัว 8 พ.ย.สำหรับปัจจัย ที่ทำให้เกิดพายุถี่ในฝั่งทวีปเอเชียตะวันออกและอาเซีย มาจากความแปรปรวนของกระแสลมและการไหลเวียนของกระแสน้ำที่ผันผวนที่เกิดจาก เอลนีโญ และลานีญาซึ่งส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกอย่างรุนแรง

โดยฝั่งตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก จะเจอกับปรากฎการณ์ “ลานินญา” ที่จะพัดพาผิวน้ำทะเลที่อุ่นจากตะวันออกไปสะสมอยู่ทางตะวันตกมากยิ่งขึ้น ทำให้อุณหภูมิผิวน้ำทะเลและระดับน้ำสูงกว่าทางตะวันออกอยู่แล้ว ยิ่งมีอุณหภูมิและระดับน้ำทะเลสูงขึ้นไปอีก

เกิดการก่อตัวของเมฆและฝน บริเวณด้านตะวันตกของแปซิฟิกเขตร้อน ส่งผลให้มีฝนตกหนักบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยบริเวณชายฝั่งออสเตรเลีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ จะมีฝนตกมากกว่าปกติ และจะทำให้ฤดูฝนในประเทศไทยยืดยาวออกไปอีก  

องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก หรือ WMO รายงานว่า ลานีญ่าที่แรงปานกลางถึงรุนแรงกำลังมาด้วยความน่าจะเป็น 90%นานถึงสิ้นปีและ 55% ที่จะนานไปถึงเม.ย.ปี64 คราวก่อนปรากฎการณ์นี้ ลากยาวตั้งแต่ ส.ค.53 จนสุดท้ายประเทศไทย เจอพายุนกเต็นจนเกิดน้ำท่วมใหญ่ปี54


เกาะติดข่าวที่นี่

website: www.TNNTHAILAND.com
facebook : TNNONLINE
facebook live : TNN Live
twitter : TNNONLINE
Line : @TNNONLINE
Youtube Official : TNNONLINE
Instagram : TNN_ONLINE
TIKTOK : @TNNONLINE

ข่าวที่เกี่ยวข้อง