รีเซต

'อุปกรณ์ใหม่' ช่วย 'ภารกิจนอกยาน' ของนักบินอวกาศจีน ง่าย-ปลอดภัย-สว่างไสวกว่าเดิม

'อุปกรณ์ใหม่' ช่วย 'ภารกิจนอกยาน' ของนักบินอวกาศจีน ง่าย-ปลอดภัย-สว่างไสวกว่าเดิม
Xinhua
5 กันยายน 2565 ( 18:43 )
49

ปักกิ่ง, 5 ก.ย. (ซินหัว) -- เมื่อประตูเล็กที่เชื่อมห้องปรับแรงดันอากาศของโมดูลห้องปฏิบัติการเวิ่นเทียนเปิดออก เฉินตงและหลิวหยาง ทีมนักบินอวกาศจีนประจำภารกิจเสินโจว-14 (Shenzhou-14) ได้โผล่ศรีษะสู่ห้วงอวกาศกว้างใหญ่ในชุดสีขาว ขณะสารพัดอุปกรณ์เริ่มปฏิบัติงานรองรับการทำกิจกรรมนอกยานอวกาศ (EVA) ของทั้งสอง

 

เฉินและหลิวเปิดฉากภารกิจนอกยานอวกาศเมื่อวันพฤหัสบดี (1 ก.ย.) และทำงานทั้งหมดเสร็จสิ้นตอน 00.33 น. ของวันศุกร์ (2 ก.ย.) ตามเวลาปักกิ่ง ด้วยระยะเวลารวมประมาณ 6 ชั่วโมง ซึ่งนับเป็นการทำกิจกรรมนอกสถานีอวกาศจีนครั้งที่ห้า และครั้งแรกสำหรับโมดูลเวิ่นเทียนที่เพิ่งถูกส่งสู่อวกาศ โดยทั้งสองได้ปฏิบัติงานต่างๆ ซึ่งรวมถึงการติดตั้งชุดปั๊มส่วนต่อขยาย การยกกล้องพาโนรามา การตรวจสอบความสามารถขนย้ายอย่างอิสระ และการกลับเข้ายานอวกาศหากเกิดเหตุฉุกเฉิน ด้วยความช่วยเหลือจากไช่ซวี่เจ๋อ นักบินอวกาศในโมดูลฯ"ประตูสู่อวกาศ" ที่สะดวกสบายกว่าเดิมองค์การอวกาศที่มีมนุษย์ควบคุมแห่งประเทศจีน (CMSA) ระบุว่าทีมนักบินอวกาศรุ่นก่อนหน้านี้ใช้ประตูเล็กของโมดูลหลักเทียนเหอ ที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.85 เมตร ทว่านักบินภารกิจเสินโจว-14 ใช้ประตูเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 เมตรของโมดูลเวิ่นเทียน จึงทำให้ลูกเรือที่สวมชุดอวกาศอวบอ้วนลอดผ่านทางออกง่ายกว่าเดิมรูปภาพและวิดีโอที่องค์การฯ เผยแพร่ในเวลาต่อมาเผยฉากขณะที่เฉินและหลิวเปิดประตูเล็กของโมดูลเวิ่นเทียน และใช้แขนกลเคลื่อนย้ายอุปกรณ์โดยมีทิวทัศน์ "โลก" อยู่เบื้องหลัง"เชือกช่วยชีวิต" ยืดยาวขึ้นหนึ่งในอุปกรณ์สุดสำคัญที่ช่วยป้องกันนักบินอวกาศลอยหายไปในอวกาศคือเชือกนิรภัย ซึ่งเป็นสายเชือกธรรมดาทั่วไปที่เชื่อมชุดอวกาศกับยานอวกาศ โดยเมื่อครั้งไจ๋จื้อกัง นักบินอวกาศจากภารกิจเสินโจว-7 (Shenzhou-7) ทำกิจกรรมนอกยานอวกาศครั้งแรกของจีน ในปี 2008 เชือกนิรภัยที่ยึดโยงตัวเขาไว้มีความยาวเพียง 1 เมตรเท่านั้นอย่างไรก็ดี ปัจจุบันคณะนักวิทยาศาสตร์จีนได้พัฒนาเชือกลวดเหล็กยืดหดได้ ความยาวกว่า 10 เมตร สำหรับทำกิจกรรมนอกยานบนสถานีอวกาศจีน ซึ่งช่วยรับรองการเชื่อมต่อปลอดภัยระหว่างลูกเรือและยานอวกาศ ทั้งทนทานต่อรังสี อนุภาค และความแตกต่างของอุณหภูมิเกือบ 200 องศาเซลเซียสในอวกาศระบบอันชาญฉลาดไฟสองดวงนอกโมดูลห้องปฏิบัติการเวิ่นเทียน ทำให้นักบินภารกิจเสินโจว-14 ทำกิจกรรมนอกยานอวกาศในสภาพแวดล้อมที่สว่างไสวกว่าภารกิจครั้งก่อนๆ และนอกจากช่วยนำทางกลางความมืดมิดของจักรวาลแล้ว ระบบแสงเวิ่นเทียนยังมีการจ่ายแสงภายในที่พอเหมาะกับตัวนักบินอวกาศด้วยนักบินอวกาศจะเจอดวงอาทิตย์ขึ้นและตกราว 14 ครั้งต่อวันในวงโคจร ซึ่งอาจทำให้นาฬิกาชีวภาพของพวกเขาเปลี่ยนแปลง นำไปสู่การนอนหลับผิดปกติ อาการเหนื่อยล้า และประสิทธิภาพการทำงานที่ลดลง ทว่าระบบไฟนี้ทำให้นักบินสามารถควบคุมไฟภายในผ่านแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือ จึงสามารถสลับแสงไฟระหว่างโหมดนอนหลับ ทำงาน ออกกำลังกาย และอื่นๆ ช่วยอำนวยความสะดวกตลอดการเดินทางนาน 6 เดือนในอวกาศทั้งนี้ จีนส่งยานอวกาศเสินโจว-14 ขึ้นสู่อวกาศเมื่อวันที่ 5 มิ.ย. และขณะนี้เหล่าลูกเรือได้ดำเนินหลายภารกิจลุล่วงแล้ว อาทิ การจัดเตรียมสินค้า การทดสอบอุปกรณ์ และการทดลองทางวิทยาศาสตร์บนสถานีอวกาศจีนที่กำลังก่อสร้าง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง