รีเซต

ส.ผู้เลี้ยงสุกรภาคใต้ ชี้ หมูแพงเหตุเกษตรกรรายย่อยเลิกเลี้ยง 60% ทำให้หมูเข้าตลาดลดลง

ส.ผู้เลี้ยงสุกรภาคใต้ ชี้ หมูแพงเหตุเกษตรกรรายย่อยเลิกเลี้ยง 60% ทำให้หมูเข้าตลาดลดลง
มติชน
11 มกราคม 2565 ( 17:04 )
56
ส.ผู้เลี้ยงสุกรภาคใต้ ชี้ หมูแพงเหตุเกษตรกรรายย่อยเลิกเลี้ยง 60% ทำให้หมูเข้าตลาดลดลง

ข่าววันนี้ 11 ม.ค. รายงานข่าวจากสมาคมผู้เลี้ยงสุกรภาคใต้ เปิดเผยว่า การที่สุกรปรับราคาสูงขึ้น มาจากปัจจัยหลักจากโรคระบาดเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ทำให้เกษตรกรรายย่อยเสียหาย จนบางคนเลิกเลี้ยงสุกรไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 แม่และลูกสุกรล้มหายตายจาก ทำลายวงจรการผลิตลดลงจากเกษตรกรรายย่อยหายไป ส่งผลให้จำนวนสุกรเข้าสู่ตลาดน้อยราคาจึงสูงขึ้น ต้องการให้เกษตรกรรายย่อยหันมาเลี้ยงสุกรต่อไป

 

รายงานว่าอย่างไรก็ตามเกษตรกรรายย่อยต้องการกลับเลี้ยงสุกรต่อไป แต่การแก้ปัญหาให้สุกรเข้าสู่ตลาดแบบเสถียร ต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 2ปีกลับมาฟื้นฟูใหม่ กว่าจะมีการผสมได้ลูกมาขุนต้องใช้เวลา 2-3 ปี มันจะกลับสู่วงจรปกติ

 

“แต่อย่างไรอย่านำสุกรจากต่างประเทศเข้ามา หากมีความจำเป็นต้องการนำเข้ามาต้องแจ้งให้สมาคมฯรับทราบว่าเข้ามาเท่าไหร่ ใช้ระยะเวลานานแค่ไหน คือสิ่งที่สำคัญที่สุดที่ให้เกษตกรและผู้บริโภคไม่เดือดร้อน ส่วนการแก้ปัญหาในระยะสั้น สมาคมฯภาคใต้และสมาคมเลี้ยงสุกรแห่งประเทศไทยมีการปรับเปลี่ยนด้วยการการส่งสุกรจากภาคใต้ไปภาคกลางจากบริษัทยักษ์ใหญ่จาก 7,500 ตัวต่อเดือนลง”

 

ต้องปรับระดับวัคซีนเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคระบาดซ้ำซ้อน จนทำให้สุกรเกิดความเสียหายอีก และรัฐบาลควรนำเงินเซอร์ซาบา เยียวยาช่วยเหลือเกษตรกรรายย่อยให้กลับในระบบต่อไป เนื่องจากมีเกษตรกรจำนวนมากต้องการกลับมา แต่บางรายขาดเงินลงทุนและบางรายยังหวาดกลัวกับโรคระบาดจะกลับมาอีกระลอก

 

นายอรุณ สังขพันธ์ เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรขนาดกลาง อ.สทิงพระ จ.สงขลากล่าวว่าเกษตรกรเลี้ยงสุกรรายย่อยและขนาดกลางใน อ.สทิงพระและใกล้เคียง ต่างประสบชะตากรรมเช่นเดียวกันคือการขาดทุนจนหมดเนื้อประดาตัว บางรายติดหนี้สถาบันการเงิน ติดค้าค่าอาหารและยา จะกลับมาเลี้ยงสุกรใหม่แต่ไม่มีเงินทุนมาใช้ซ่อมแซมโรงเรือนที่ชำรุด ซื้อลูกสุกร ซื้ออาหารและค่ายาแล้วและได้รับการรับรองจากภาครัฐ ไม่มีการระบาดของโรคด้วย

 

นายอรุณกล่าวว่าเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร รอเงินชดเชยจากรัฐบาลที่จะให้ร้อยละ 80 ของค่าเสียหาย เพื่อต้องการใช้เป็นเงินทุนในการเริ่มต้นอาชีพเลี้ยงสุกร ตนเชื่อว่าสามารถแก้ปัญหาราคาเนื้อสุกรแพงได้ แต่ต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 2 ปี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง