รีเซต

'ไบเดน' ชมวุฒิสภาฯ ลงมติผ่านร่างกฎหมาย 'ต่อต้านความเกลียดชังต่อคนเอเชีย'

'ไบเดน' ชมวุฒิสภาฯ ลงมติผ่านร่างกฎหมาย 'ต่อต้านความเกลียดชังต่อคนเอเชีย'
TNN World
26 เมษายน 2564 ( 12:59 )
108
'ไบเดน' ชมวุฒิสภาฯ ลงมติผ่านร่างกฎหมาย 'ต่อต้านความเกลียดชังต่อคนเอเชีย'

 

 
ข่าววันนี้ ร่างกฎหมายฉบับนี้ที่ผ่านสภาสูงด้วยคะเเนนโหวต 94 ต่อ 1 โดยมีเพียง วุฒิสมาชิก จอช ฮอว์ลีย์ สังกัดพรรครีพับลิกันจากรัฐมิสซูรี รายเดียวที่ลงคะแนนไม่เห็นด้วย ขณะที่ วุฒิสมาชิก 2 รายจากพรรคเดโมแครตและ 3 รายจากพรรครีพับลิกันไม่ออกเสียง
 
 
 
 
 
 
กฎหมายฉบับนี้ให้อำนาจแก่กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ ในการเร่งกระบวนการตรวจสอบและทบทวนคดีอาชญากรรมที่เกิดจากความเกลียดชังและสืบเนื่องมาจากการระบาดของโควิด-19 ทั้งยังจะให้การสนับสนุนหน่วยงานรักษากฎหมายระดับท้องถิ่นในการดำเนินการใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงอันเกิดจากความเกลียดชังผู้มีเชื้อสายเอเชียด้วย
 
 
ร่างกฎหมายดังกล่าว มีชื่อเต็มว่า Jabara-Heyer NO HATE Act ซึ่งเป็นการรวมชื่อของเหยื่ออาชญากรรมอันเกิดจากความเกลียดชังที่เป็นข่าวใหญ่ในสหรัฐฯ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งก็คือ คาลิด จาบารา (Khalid Jabara) และ เฮทเธอร์ เฮเยอร์ (Heather Heyer)
 
 
ไบเดน กล่าวในแถลงการณ์ที่ออกมาในวันศุกร์ว่า “กฎหมายสำคัญฉบับนี้ จะทำให้ประเทศของเราก้าวไปข้างหน้าอีกหนึ่งก้าว เพื่อให้ได้มาซึ่งความยุติธรรมและความเท่าเทียมกันสำหรับชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชีย ชาวพื้นเมืองฮาวาย และชุมชุมในหมู่เกาะแปซิฟิก” พร้อมยกย่องกลุ่มสมาชิกรัฐสภาผู้มีเชื้อสายเอเชียและชุมชนในหมู่เกาะแปซิฟิก ที่ผลักดันร่างกฎหมายนี้ออกมาสำเร็จ
ขั้นตอนจากนี้ไปคือ การส่งร่างกฎหมายนี้ไปยังสภาผู้แทนราษฎร ที่คาดกันว่าน่าจะมีมติผ่านออกมาเช่นกัน และไบเดน คาดว่าจะได้ลงนามรับรองเพื่อใช้งานได้ในไม่ช้านี้
 
 
ทั้งนี้ ร่างกฎหมายใหม่นี้ได้รับการผลักดันออกมา หลังเกิดเหตุอาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับความเกลียดชังและการเหยียดเชื้อชาติต่อชาวเอเชียในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นอย่างมาก โดนส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากสิ่งที่นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิ์กล่าวว่า เป็นการจับแพะและการกล่าวหาชาวเอเชียว่าเป็นผู้เผยแพร่ไวรัสโควิด-19 โดยไม่มีหลักฐานสนับสนุน
 
 
จากข้อมูลของศูนย์ศึกษาเกี่ยวกับความเกลียดชังและแนวคิดสุดโต่ง (Center for the Study of Hate and Extremism) ของมหาวิทยาลัยแห่งแคลิฟอร์เนีย ชี้ว่า อัตราการเกิดอาชญากรรมดังกล่าวเพิ่มขึ้นถึง 150% ในพื้นที่เมืองใหญ่ของสหรัฐฯ เมื่อปีที่แล้ว
 
 
ขณะที่กลุ่มนักเคลื่อนไหว Stop AAPI Hate ที่ติดตามประเด็นนี้ตลอดช่วงเกิดวิกฤตโควิด-19 กล่าวว่า ทางกลุ่มได้รับคำร้องเรียนเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่แสดงให้เห็นถึงความเกลียดชังชาวเอเชียถึงกว่า 3,800 ครั้ง
 
 
ภาพ : Reuters
 
 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

 

 
 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง