'ดาโอ' คาดเลือกตั้งสหรัฐ ส่งผลหุ้นไทย นิคมฯ-โรงไฟฟ้า-ชิ้นส่วนอิเล็กฯ เด่น

#ทันหุ้น - บล.ดาโอ มุมมองต่อ การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ พ.ศ.2567 เป็นการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งที่ 60 ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งจัดขึ้นในวันอังคารที่ 5 พฤศจิกายน 2567 ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ อาจส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ, ค่าเงินดอลลาร์, เงินเฟ้อ (Inflation), นโยบายการเงินของธนาคารกลาง (เฟด), อัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Fed fund rate), อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (Bond Yield) รวมทั้งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก และสินทรัพย์เสี่ยงอื่นๆ โดยเฉพาะตลาดหุ้นทั่วโลก
โดยผลการสำรวจล่าสุดจากหลายสำนักต่างบ่งชี้คะแนนนิยมที่ใกล้เคียงกันมาก ดังนั้นรายงานฉบับนี้จึงไม่ได้ต้องการที่จะชี้ว่าพรรคไหนจะได้รับชัยชนะ แต่จะมุ่งเน้นไปที่ผลกระทบต่อตลาดหุ้นไทยเป็นหลัก โดยวิเคราะห์จากนโยบายหลักของทั้งสองพรรค คือ พรรครีพับลิกัน (โดนัลด์ ทรัมป์ ) และ พรรคเดโมแครต (กมลาแฮร์ริส) ซึ่งมีความแตกต่างกันค่อนข้างชัดเจน
*นโยบายพรรครีพับลิกัน (โดนัลด์ ทรัมป์ ) เน้น 1) “American First” มาตรการจูงใจทางภาษีเพื่อดึงการลงทุนกลับสู่สหรัฐฯ โดยการลดภาษีเงินได้นิติบุคคลจาก 21% เหลือ 20% และ 15% บริษัทที่ผลิตสินค้าในสหรัฐฯ, 2) ลดการช่วยเหลือชาติพันธมิตรลง โดยเฉพาะยูเครน ไม่สนับสนุนให้มีสงคราม, 3) เพิ่มภาษีสินค้านำเข้าโดยเฉพาะจากจีน และ 4) สนับสนุนการใช้พลังงานดั้งเดิม (Oil & Gas) เพื่อความมั่นคงทางพลังงานของสหรัฐฯ < ผลกระทบหากทรัมป์ ชนะ จะเป็นบวกต่อเศรษฐกิจและตลาดหุ้นสหรัฐฯในระยะสั้น จากกำไรบริษัทใน SP500 ที่ดีขึ้น แต่มีความเสี่ยงที่เงินเฟ้อจะเร่งตัวขึ้น จากราคาสินค้าที่แพงขึ้น (เก็บภาษีนำเข้า), ค่าแรงที่สูงขึ้น (ผลักดันผู้อพยพออกจากสหรัฐฯ) และขาดดุลงบประมาณมากขึ้น (เก็บภาษีนิติบุคคลลดลง แม้จะเก็บภาษีนำเข้าจากสินค้าจีนมาชดเชย) ส่งผลกระทบต่อโอกาสที่ธนาคารกลาง (เฟด) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยได้น้อยกว่าที่ตลาดคาดเดิม ซึ่งจะส่งผลลบต่อตลาดหุ้นทั่วโลก โดยเฉพาะเอเชีย จากนโยบายกีดกันการค้าจีน ในขณะที่ราคาพลังงาน มีความเสี่ยงที่จะลดลง หากสหรัฐฯสามารถผลิตน้ำมันและก๊าซธรรมชาติได้มากขึ้น
(+) เป็นบวกต่อ 1) กลุ่มธนาคาร (อัตราดอกเบี้ยสหรัฐจะลดลงช้าเดิม), 2) นิคมอุตสาหกรรม (จีนย้ายฐานการผลิตมาไทยมากขึ้น จากนโยบายกีดกันการค้า),3) ชิน้ ส่วนอิเลคโทรนิค (มีคำสั่งซื้อสินค้าจากไทยมากขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงจากการพึ่งพาจีน และภาษีทำให้สินค้าจีนสูงขึ้น) และ 4) กลุ่มโรงไฟฟ้า (ราคา LNG มีโอกาสลด ช่วยลดต้นทุนการผลิต )
(-) เป็นลบต่อ 1) กลุ่มที่พึ่งพาจีนเช่น ท่องเที่ยว, ปิ โตรเคมี, บรรจุภัณฑ์, ยางพารา, อาหารและเครื่องดื่ม (เศรษฐกิจจีนชะลอ), 2) กลุ่มพลังงาน (ราคาน้ำมันและก๊าซ มีความเสี่ยงที่จะลดลง หากสหรัฐฯ สามารถผลิตได้มากขึ้น แต่มีปัจจัยอื่นที่ต้องพิจารณาประกอบเช่น สงคราม), 3) กลุ่มการเงิน (Non-Bank) (เฟดลดดอกเบี้ยน้อยกว่าคาด) และ 4) กลุ่มส่งออกสินค้าไปสหรัฐฯ (ภาษีนำเข้าเพิ่มขึ้น) เช่น อาหารสัตว์เลี้ยง, อาหารและเครื่องดื่ม (แต่อาจได้รับชดเชยจากค่าเงินบาทอ่อน)
*นโยบายของพรรคเดโมแครต (กมลา แฮร์ริส) เน้น 1) ขึ้นภาษีผู้มีรายได้สูงและนิติบุคคลบริษัทขนาดใหญ่และลดภาษี้ชนชั้นกลาง, 2) สนับสนุนยูเครนและนาโตต่อ, 3) เปิดโอกาสการเจรจาการค้าเสรีมากขึ้นแต่ยังคงกีดกันการค้ากับจีน และ 4) สนับสนุนพลังงานหมุนเวียน (Renewable) เพื่อลดปัญหาโลกร้อน
(+) เป็นบวกต่อ 1) กลุ่มการเงิน (Non-Bank) (เฟดลดดอกเบี้ย ตามคาด), 2) นิคมอุตสาหกรรม (จีนย้ายฐานการผลิตมาไทยมากขึ้น), 3) ชิน้ ส่วนอิเลคโทรนิค (มีคำสั่งซื้อสินค้าจากไทยมากขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงจากการ
พึ่งพาจีน และภาษีทำให้สินค้าจีนสูงขึ้น) และ 4) กลุ่มโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน (โอกาสลงทุนในสหรัฐฯเพิ่ม)
(-) เป็นลบต่อกลุ่มธนาคาร (เฟดลดดอกเบี้ยตามคาด), 2) กลุ่มที่พึ่งพาจีนเช่น ท่องเที่ยว, ปิ โตรเคมี, บรรจุภัณฑ์, ยางพารา, อาหารและเครื่องดื่ม (เศรษฐกิจจีนชะลอ) แต่ผลกระทบจะน้อยกว่านโยบายทรัมป์