ใครอยากเป็นเศรษฐี? ต้องรู้จักทริคปลดหนี้ และการออมเงินสู้วิกฤตโควิด
จะให้พูดถึงเรื่องค่าใช้จ่ายและเงินที่เหลืออยู่ คงจะพูดออกมาอย่างกระอักกระอ่วน เพราะตั้งแต่เจ้าโควิด-19 เข้ามาทำให้เกิดวิกฤตทางสุขภาพแล้ว ยังเข้ามาสร้างภาระหนี้สินที่เพิ่มขึ้นจากสภาพเศรษฐกิจที่ดิ่งหนักอีกด้วย ทำให้เราต้องเปลี่ยนตัวเอง เพื่อให้พร้อมรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ไม่อย่างนั้นอาจจะเกิดการก่อหนี้ที่โปะเท่าไหร่ก็โปะไม่หมดสักที
วันนี้ TrueID ได้หยิบยกเทคนิคดีๆจากคู่มือชีวิต วิถีใหม่ ของ สสส. ที่จะช่วยปรับเปลี่ยนวิธีการเก็บเงิน การปลดหนี้ เพื่อวางแผนการออมที่ดีรับวิกฤตในช่วงโควิด-19 ระบาดกัน
การรับมือกับภาวะเศรษฐกิจ
เมื่อเกิดความเปลี่ยนแปลงหรือวิกฤตที่กระทบต่อการดำเนินชีวิตและการทำงานอย่างกะทันหัน ทำให้หลายคนขาครายได้ ไม่มีเงินสำหรับใช้จ่ายในชีวิตประจำวันเหมือนเคย ดังนั้นหากใครที่เคยคิดว่าหารายได้แค่พอใช้และคิดว่าจะมีกินมีใช้อย่างนั้นตลอดไป ลองกลับมาทบทวนถึงความสำคัญของการวางแผนเรื่องการใช้เงินและการออมเงินอีกครั้ง เพื่อที่จะสามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าและรับมือกับภาวะฉุกเฉินได้อย่างไม่ประมาท
การวางแผนเรื่องการใช้เงินและการออม
1.ประเมินสถานการณ์ทางการเงินของตัวเอง
2.วางแผนออมเงิน
3.บริหารจัดการหนี้สิน
ประเมินสถานการณ์ทางการเงินของตัวเอง
เรื่องการเงินเป็นเรื่องใกล้ตัวมากกว่าที่คิด และการรู้สถานการณ์ทางการเงินของตัวเองจะทำให้สามารถมีรายรับ
1.ทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย เพื่อประเมินว่าแต่ละเดือนมีรายรับเท่าไร เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายหรือไม่
2.จัดหมวดหมู่ของค่าใช้จ่าย เพื่อแยกประเภทค่าใช้จ่ายจำเป็นกับค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือย
3.ทำรายการหนี้สินทั้งหมด เห็นว่ามีหนี้สินอะไรบ้าง รวมเป็นจำนวนเงินเท่าไร ต้องชำระเดือนละเท่าไร
4.ตรวจสอบเงินในบัญชีธนาคาร เพื่อสามารถวางแผนสำหรับใช้จ่ายชำระหนี้ และออมเงินในอนาคตได้
บริหารจัดการหนี้สิน
1.จัดประเภทของหนี้สินที่มีอยู่เช่น ค่าผ่อนบ้าน ค่าผ่อนรถ หนี้กู้ยืมเพื่อการศึกษา หนี้ลงทุน ทำธุรกิจ หนี้บัตรเครดิต หนี้นอกระบบฯลฯ
2.สำรวจอัตราดอกเบี้ย และยอดการชำระหนี้ขั้นต่ำของแต่ละก้อน
3.เรียงลำดับความสำคัญจากหนี้ที่มีดอกเบี้ยสูงที่สุด พยายามชำระหนี้ก้อนนั้นให้หมด เร็วกว่าหนี้ก้อนอื่นๆ
4.ชำระหนี้อย่างมีวินัย ไม่เพิ่มหนี้ก้อนใหม่
5.หากไม่สามารถชำระหนี้ตามกำหนดพร้อมกันได้ทุกยอด ลองหาทางเจรจาประนอมหนี้เพื่อจ่ายขั้นต่ำ
6.บอกสถานการณ์หนี้สินให้คนในครอบครัวรับทราบ เพื่อร่วมมือกันไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือยและไม่สร้างภาระหนี้เพิ่มขึ้น
หนี้บัตรเครดิต
บัตรเครดิต รูดสะดวก กู้สบาย ดอกเบี้ยสูง เดี๋ยวนี้บัตรเครดิตหรือบัตรกดเงินสดทำง่าย ใครๆ ก็มี หรืออาจจะมีหลายใบด้วยซ้ำ แต่ถ้าใช้ไม่ระวัง รูดเพลิน แล้วไม่จ่ายเต็มยอด อาจจะกลายเป็นหนี้ก้อนใหญ่ได้ การเลือกจ่ายยอดขั้นต่ำดอกเบี้ยจะสูงทบตันไปเรื่อยๆ รู้ตัวอีกพีอาจมีหนี้ บัตรเครดิตจำนวนมาก หากจ่ายไม่ไหวให้ปิดบัตรเครดิตที่มีทุกใบ เพื่อหยุดการเพิ่มหนี้ แล้วทยอยชำระจนครบ
จ่ายเต็ม ฉลาดใช้ ไม่เป็นหนี้
1.ใช้เพื่ออำนวยความสะดวกเมื่อไม่ได้พกเงินสด
2.ใช้เมื่อรู้ตัวว่าสามารถจ่ายยอดเต็มจำนวนได้
3.ผ่อนชำระสินค้าได้ แต่ควรเลือกที่ผ่อน 0% และจ่ายเต็มจำนวนทุกครั้ง
4.ระลึกไว้เสมอว่า บัตรเครดิตไม่ใช่แหล่งเงินกู้ เพราะอัตราดอกเบี้ยสูง
วางแผนออมเงิน
การออมเงินเป็นอีกหนึ่งเรื่องสำคัญมากๆในชีวิตวิถีใหม่ เพราะเมื่อมีความเปลี่ยนแปลงหรือเกิดวิกฤตขึ้นกะทันหัน อาจส่งผลกระทบด้านการงานและการเงิน เช่น มีการลดวันทำงาน หยุดงาน หรือเลิกจ้าง ทำให้รายได้ลดหรืออาจขาดรายได้ไปเลย ถ้าไม่มีเงินออมจะใช้ชีวิตลำบากมาก ดังนั้นจึงควรเห็นความสำคัญของการออมเงิน เพื่อพร้อมรับสถานการณ์ฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ
พอพูดถึงเงินออม หลายคนอาจท้อแท้ เพราะแค่หาเงินมาให้พอใช้ก็ยากแล้ว แต่ถ้ามีความตั้งใจจริง ไม่ว่าจะอายุเท่าไร มีเงินแค่ไหน ก็ไม่มีคำว่าสายเกินไปสำหรับการออมเงิน
ปรับพฤติกรรมให้มีเงินออม
1.ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้
2.ยับยั้งชั่งใจ ไม่จำเป็นอย่าถอน
3.แยกบัญชีเงินเก็บกับบัญชีใช้จ่ายออกจากกัน
เทคนิคการออมเงิน
เก็บก่อน ใช้ทีหลัง
เวลาได้เงินมาแล้ว หลายคนคิดว่าเอาเงินมาใช้จ่ายก่อน แล้วเหลือเท่าไรค่อยเก็บ แบบนี้
รายได้ - ค่าใช้จ่าย = เงินเก็บ
ถ้าทำได้ก็มีเงินออมเหมือนกัน แต่ส่วนใหญ่มักจะทำไม่ได้เพราะเวลามีเงินติดกระเป๋าก็อาจจะใช้ซื้อของที่อยากได้หรืออยากกินจนหมด ดังนั้นเมื่อมีรายได้ควรแบ่งมาออมไว้ก่อนแล้วที่เหลือค่อยนำมาเป็นค่าใช้จ่าย โดยประเมินค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในชีวิตประจำวันของตัวเองจากการทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย แล้วคำนวณว่าจะออมเงินได้เท่าไร พอมีรายได้เข้ามาแล้วหักเงินเก็บไว้ก่อนเลย
รายได้ - เงินเก็บ = ค่าใช้จ่าย
การทำแบบนี้เป็นการสร้างวินัยให้มีเงินเก็บเป็นประจำ อาจจะเริ่มจากค่อยๆ สะสมทีละน้อย แต่รับรองว่าถ้าทำได้เรื่อยๆ จะมีเงินออมแน่นอน
ช้อปเท่าไร เก็บเท่านั้น
เทคนิคนี้สำหรับคนที่ชอบใช้เงินตามใจ ไม่ว่าจะเป็นการกินมื้อใหญ่ราคาแพงหรือช้อปปิ้งซื้อของฟุ่มเฟือย แล้วควบคุมตัวเองไม่ค่อยอยู่ เพราะค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือยส่วนใหญ่จะเกิดจากการใช้เงินซื้อของไม่จำเป็น การช้อปเท่าไรเก็บเท่านั้น จะช่วยให้ระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น
วางแผนการออมเงินเพื่อความมั่นคง
เมื่อเริ่มเก็บออมเงินได้แล้วให้ลองวางแผนสำหรับการออมเงินเพื่อการใช้จ่ายอย่างมั่นคง เพราะวัตถุประสงค์ของการออมเงินมีหลายประเภท
ออมเงินระยะสั้น เป็นเงินที่สะสมไว้ใช้ในระยะเวลา 1-2 ปี
วัตถุประสงค์ สำหรับใช้จ่ายยามฉุกเฉิน ได้แก่ ค่ารักษาพยาบาล ใช้จ่ายสิ่งของจำเป็นกะทันหัน ใช้ในชีวิตประจำวันเมื่อขาดรายได้ เป็นต้น
ออมเงินระยะกลาง เป็นเงินที่สะสมไว้สำหรับระยะเวลา 2-10 ปี
วัตถุประสงค์ สำหรับสร้างความมั่นคง ได้แก่ ทุนการศึกษาสำหรับลูก ดาวน์บ้าน ดาวน์รถหรือการลงทุนเพื่อสร้างรายได้ เป็นตัน
ออมเงินระยะยาว เป็นเงินที่สะสมไว้ใช้ในระยะยาวเกิน 10 ปีขึ้นไป
วัตถุประสงค์ เพื่อใช้ในวัยเกษียณ หรือไม่สามารถทำงานได้แล้ว
ตัวช่วยเรื่องการออม
กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.)
กองทุนบำนาญสำหรับผู้ประกอบอาชีพอิสระ ที่ไม่อยู่ในระบบสวัสดิการบำเหน็จ-บำนาญของรัฐหรือนายจ้าง เป็นการออมเพื่อใช้จ่ายในวัยเกษียณ ซึ่งเมื่อแบ่งเงินส่วนหนึ่งมาออมกับ กอช. แล้ว จะได้รับเงินสมทบจากรัฐบาลสูงสุด 100% เมื่ออายุถึง 60 ปี จะได้รับเงินกลับคืนมาในรูปแบบเงินบำนาญ สำหรับใช้จ่ายยามเกษียณ
รายละเอียด
- มีอายุ 15-60 ปี
- ประกอบอาชีพอิสระหรือแรงงานนอกระบบ
- ยืดหยุ่น ไม่ต้องออมทุกเดือน มีน้อยออมน้อย มีมากออมมาก
- ออมสูงสุดปีละไม่เกิน 13,200 บาท
สนใจกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) หาข้อมูลเพิ่มเติมได้ทาง ww.nsf.or. th
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ Provident Fund
เป็นกองทุนที่นายจ้างและลูกจ้างสมัครใจร่วมกันจัดตั้งขึ้น เพื่อเป็นเงินสำรองสำหรับลูกจ้างยามเกษียณอายุ ออกจากงาน ทุพพลภาพ หรือเป็นหลักประกันให้ครอบครัวในกรณีลูกจ้างเสียชีวิต โดยแบ่งสะสมจากเงินเดือนของลูกจ้างเป็นประจำทุกเดือน
รายละเอียด
- แบ่งเก็บสะสมตั้งแต่ 2-15% ของเงินเดือน
- นายจ้างจะจ่ายเข้ากองทุนเป็นเงินสมทบในอัตราที่ไม่ต่ำกว่าเงินสะสมของลูกจ้าง
- ได้รับเงินก้อนเมื่อสิ้นสมาชิกภาพ ด้วยสาเหตุออกจากงาน, เกษียณอายุ,โอนย้ายกองทุน,เสียชีวิต
สามารถตรวจสอบข้อมูลกองทุนสำรองเลี้ยงชีพกับบริษัทที่ตนเองทำงานอยู่
ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.)
ทำหน้าที่ส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับบริการทางการเงิน ให้คำปรึกษาและรับเรื่องร้องเรียน เพื่อคุ้มครองให้ประชาชนได้รับความเป็นธรรมจากการใช้บริการทางการเงินจากสถาบันการเงินต่างๆ
- ให้ความรู้เรื่องการวางแผนทางการเงิน การออม การลงทุน
- ให้ข้อมูลเรื่องการบริหารหนี้สิน เปรียบเทียบสินเชื่อกู้ในกรณีต่างๆ แก้ปัญหาเรื่องหนี้สิน
- ปรึกษาเรื่องภัยทางการเงิน กลโกงหลอกโอนเงินทางโทรศัพท์หรือออนไลน์ การเงินนอกระบบ
สอบถามข้อมูลหรือต้องการความช่วยเหลือ สายด่วน โทร. 1213 หรือ www.1213.or.th/th/Pages/default.aspx
สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.)
ให้ข้อมูลด้านสิทธิผู้บริโภค ให้ข้อแนะนำและรับเรื่องร้องเรียน ในกรณีที่ผู้บริโภคไม่ได้รับความเป็นธรรมจากสินค้าและบริการต่างๆ รวมถึงการบริการทางการเงินด้วย
- โดนทวงหนี้แบบไม่เป็นธรรม
- โดนไฟแนนซ์ยึดรถยนต์ขายทอดตลาด
- การซื้อสินค้าเงินผ่อน
สอบถามข้อมูลหรือต้องการความช่วยเหลือ สายด่วน สคบ. โทร. 1166 หรือ wvw.ocpb.go.th
มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และชมรมหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล
คลินิกให้คำปรึกษาแบบตัวต่อตัวสำหรับผู้ประสบปัญหาหนี้บัตรเครดิต สามารถขอคำปรึกษาที่สำนักงานมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ซอยราชวิถี 7 วันทำการ จันทร์-ศุกร์ เวลา 09.00-18.00 น.
และสามารถขอคำปรึกษาได้ตลอดเวลาที่เว็บไชต์ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ในส่วนชมรมหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลที่ www.consumerthai.org หรือติดต่อสอบถามข้อมูลและจองคิวขอคำปรึกษาได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 0-2248-3734-37
ข้อมูลจาก คู่มือชีวิต วิถีใหม่ สสส